ปัจจุบันทั้งเทคโนโลยี และเทคโนโลยีดิจิทัลมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ส่งผลกระทบส� ำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และรูปแบบ การด� ำเนินธุรกิจ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นทั้งโอกาส และความท้าทาย ต่อการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อาทิ การเติบโตแบบก้าวกระโดดของเครื่องจักร อัตโนมัติ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และเทคโนโลยี หุ่นยนต์ ซึ่งจะสามารถยกระดับประสิทธิภาพในการด� ำเนินธุรกิจของบริษัทฯ แต่ในขณะเดียวกันก็น� ำมาซึ่งความท้าทายทั้งในบริบทของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล รวมทั้งการเสริมสร้างความสามารถของบุคลากรให้สอดรับ กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีใหม่ นอกจากนี้ การน� ำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งมีความสามารถในการเข้าถึง เรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว อาจน� ำมา ซึ่งความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและจริยธรรม เช่น ผลกระทบต่อการจ้างงาน ผู้รับผิด ชอบต่อความผิดพลาด เป็นต้น • จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่พัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และอาจท� ำให้สภาพแวดล้อมในการด� ำเนินธุรกิจ เปลี่ยนแปลงไป หากบริษัทฯ ปรับตัวล่าช้าทั้งในบริบทของการเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน พนักงาน และองค์ความรู้ อาจส่งผลท� ำให้บริษัทฯ สูญเสียโอกาส และความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว • ความก้าวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลที่เร่งตัวขึ้นอาจส่งผลให้บริษัทฯ ต้องมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ในการปรับเปลี่ยนวิธีการท� ำงานหรือรูปแบบการท� ำธุรกิจ รวมถึงต้องเตรียมความพร้อมด้านทักษะใหม่ๆ ของพนักงานเพื่อรองรับ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง • ปรับการลงทุนด้วยรูปแบบ Corporate Venture Capital (CVC) มาเป็นกลไกส� ำคัญในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การเติบโต ของบริษัทฯ โดยได้ มีการแสวงหาโอกาสการลงทุน ในเทคโนโลยีดิจิทัลหรือนวัตกรรมใหม่ • ยกระดับการด� ำเนินงานด้านนวัตกรรม รวมถึงการน� ำ เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับปรุง โรงงาน โดยพัฒนากระบวนการผลิตให้เป็นแบบ Smart Plant • มีหน่วยงานเพื่อดูแลด้านการปฏิรูปธุรกิจสู่ความเป็นเลิศ รองรับการปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้บริษัทฯ สามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน ในอนาคต โดยมุ่งเน้นการด� ำเนินงานใน 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านธุรกิจ – ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่ม ขีดความสามารถในการแข่ งขัน และตอบสนอง ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งประเมิน ผลกระทบ และก� ำหนดมาตรการรองรับส� ำหรับ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ ปัจจัยความเสี่ยง จากการเปลี่ยนแปลง ที่รวดเร็ว และการใช้ เทคโนโลยีขั้นสูง มาตรการรองรับปัจจัยเสี่ยง ผลกระทบต่อธุรกิจ ข้อมูลเพิ่มเติม ISR 2564 หน้า 141-145, 206-210, 244-245 One Report 2564 หน้า 87 ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (2) ด้านเทคโนโลยี – พัฒนาสถาปัตยกรรมฐานข้อมูล (IT/ Data Architecture) และเพิ่มประสิทธิภาพการ บริหารจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ (3) ด้ านบุคลากร – เสริมสร้ างความรู้ ความเข้ าใจ ของบุคลากรให้สอดรับต่อความก้าวหน้าของเทคโนโลยี รวมถึงการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล • ก� ำหนดแผนการด� ำเนินงานด้าน Digital Transformation ที่ชัดเจน แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ (1) Digitization มุ่งเน้นการน� ำเทคโนโลยีมาปรับปรุง ประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิตของกระบวนการท� ำงาน (2) Digital Transformation of Function (DTF) มุ่งเน้น การปรับเปลี่ยนกระบวนการ และวิธีท� ำงานด้วยเทคโนโลยี และการใช้การวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Analytics) (3) Digital Transformation of Business (DTB) ซึ่งจะ สามารถสร้างโอกาสในการท� ำธุรกิจใหม่ หรือเปลี่ยนแปลง รูปแบบของธุรกิจเดิม 91 INTEGRATED SUSTAINABILITY REPORT 2021 รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำ �ปี 2564 FINANCIAL HIGHLIGHTS OUR STRATEGY IN ACTION ABOUT THIS REPORT APPENDIX OUR BUSINESS
RkJQdWJsaXNoZXIy ODg4NTI=