02 April 2025

เมื่อเราเกำลังเผชิญกับภาวะโลกเดือด อากาศแปรปรวน ใครคือผู้ที่จะเข้ามามีบทบาทในการช่วยกู้วิกฤต

Share:

หลังจากเผชิญ ภาวะโลกร้อน (Global Warming) มานานเกือบ 30 ปี องค์การสหประชาชาติ (UN) ประกาศว่าโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุค "โลกเดือด" (Global Boiling) ซึ่งก่อให้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติถี่ขึ้นและรุนแรงกว่าเดิม และเพื่อรับมือกับวิกฤตนี้ จึงเกิด อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change; UNFCCC) ขึ้นในปี 2535 และนำไปสู่การประชุม COP (Conference of the Parties) ครั้งแรกในปี 2538 ปัจจุบันมีประเทศเข้าร่วมเกือบ 200 ประเทศ รวมถึงไทย

COP เป็นเวทีสำคัญในการกำหนดแนวทางรับมือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ทั้งในระดับโลก ประเทศ และองค์กร พร้อมกระตุ้นการดำเนินงานเชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นตลอดการประชุมที่ผ่านมา

เหตุการณ์สำคัญจาก COP21 สู่ COP29

COP21 ปี 2558 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

  • จัดทำความตกลงปารีส (Paris Agreement) กำหนดเป้าหมายจำกัดอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 - 2°C จากยุคก่อนปฎิวัติอุตสาหกรรม
  • ประเทศสมาชิกต้องส่งแผนลดก๊าซเรือนกระจก (Nationally Determined Contributions หรือ NDCs) และรายงานความคืบหน้าทุก 5 ปี
  • ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ปี 2563 โดยประเทศไทยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20-25% ภายในปี 2573

COP26 ปี 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์

  • ครบรอบ 5 ปีแรกของการรายงาน NDC กระตุ้นให้ประเทศสมาชิกปรับเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับเป้าหมายจำกัดอุณหภูมิไม่เกิน 1.5°C
  • ประเทศไทยเร่งเป้าหมาย Carbon Neutrality เป็นภายในปี 2593 (เร็วขึ้น 15 ปี) และ Net Zero ภายในปี 2608 (เร็วขึ้น 35 ปี) ) พร้อมปรับยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ (Long-term low greenhouse gas emission development strategies: LT-LEDS) และเพิ่มเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกเป็น 30-40% ภายในปี 2573
  • สถาบันการเงิน 450 แห่ง สนับสนุน เทคโนโลยีสะอาด เช่น พลังงานหมุนเวียน และยุติการสนับสนุนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล

COP27 ปี 2565 ณ เมืองชาร์มเอลชีค ประเทศอียิปต์

  • ยืนยันเป้าหมายจำกัดอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5°C พร้อมส่งเสริม Energy Transition โดยมุ่งเน้นการลงทุนใน พลังงานไฮโดรเจน
  • พัฒนากลไก Compliance Offset Market (Article 6) เพื่อกำหนดมาตรฐานคาร์บอนเครดิตและป้องกันประเด็นการนับซ้ำ (Double-counting Avoidance)
  • จัดตั้งกองทุน “ความสูญเสียและเสียหาย” (Loss and Damage Fund) ช่วยเหลือประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและภัยพิบัติทางธรรมชาติ

COP28 ปี 2566 ณ นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

  • ไม่มีข้อสรุปเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Article 6 โดยมติให้นำประเด็นไปหารือต่อใน COP29 ขณะเดียวกันมีความพยายามยกระดับมาตรฐานคาร์บอนเครดิตให้โปร่งใสและตรวจสอบได้ เพื่อป้องกัน Green Washing
  • เพิ่มการระดมทุนและหารือเป้าหมาย Climate Finance หรือ New Collective Quantified Goal on Climate Finance (NCQG)โดยจะสรุปตัวเลขใหม่ใน COP29
  • ประเทศไทยอาจถูกกดดันให้เร่งเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศขึ้น 15-20 ปี เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นใน COP26 โดยภาครัฐฯ เตรียมใช้พระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Act) และกลไกราคาคาร์บอน (Carbon Tax/ETS) เป็นเครื่องมือสำคัญในการผลักดันมาตรการลดก๊าซเรือนกระจก
  • และใน COP28 นี้ GC ได้ร่วมตอกย้ำเจตนารมย์ เป้าหมายและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ด้าน Climate Actions รวมทั้งนำเสนอ Sustainable Product Solutions ของ GC ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ (1) CO2-based Solutions (2) Bio-based Solutions และ (3) Circularity Solution ใน Thailand Pavilion และร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองด้าน Climate Actions ต่างๆ เพื่อย้ำบทบาท ความมุ่งมั่น และผลการดำเนินงานต่างๆ ของ GC
    • Navigating Business Sustainably Amidst Global Warming Challenges and Venturing into New Growth Opportunities: ในงาน Thailand’s Business Leaders to Share Vision and Experiences on Net-Zero Transformation ที่ Thailand Pavilion ร่วมกับบริษัทชั้นนำ เช่น PTTEP และ HSBC โดยนำเสนอ กลยุทธ์ เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero รวมถึงผลสำเร็จที่ผ่านมาของ GC
    • Bio-Circular-Green Economy: A Road Towards Net Zero: นำเสนอแนวทางการดำเนินงานและโครงการต่างๆ ของ GC ที่สนับสนุน BCG Model ของประเทศไทย พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ CU, Brandi and Companies และ Indorama Ventures
    • Transition to Low Carbon Business: ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจาก Boston Consulting Group (BCG) เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง แนวคิด และการดำเนินงานในการสร้างโอกาสและการเติบโตใหม่ๆ ของอุตสาหกรรมเคมีควบคู่กับการลดการปล่อย GHG ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญของอุตสาหกรรมในอนาคต

COP29 ปี 2567 ณ กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน

  • กำหนดเป้าหมายทางการเงินใหม่ (NCQG) เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี โดยประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องจัดสรรเงินช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็น 300,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี ภายในปี 2578 ซึ่งเพิ่มจากเป้าหมายเดิมที่ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ผลักดันกองทุนความสูญเสียและความเสียหาย (Loss and Damage Fund) เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยกำหนดให้มีการแต่งตั้งผู้บริหารคนแรกของกองทุนนี้ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปี 2568 และคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินประมาณ 730 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • กำหนดให้ทุกประเทศต้องส่ง Nationally Determined Contributions (NDCs) ฉบับใหม่ในปี 2568 โดยประเทศไทยต้องพิจารณาและกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกใหม่ (NDC 3.0) ที่สอดคล้องกับเป้าหมายของโลก
  • สนับสนุนการซื้อขายคาร์บอนเครดิตตาม Article 6 ในความตกลงปารีส เพื่อช่วยประเทศต่างๆ ในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ

ในฐานะองค์กรเอกชนชั้นนำของไทยและเป็นพลเมืองของโลก GC มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงดุลยภาพของสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ (ESG) พร้อมตั้งเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593 ผ่านการกำหนดกลยุทธ์และแผนงานที่ชัดเจน รวมถึงการสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามความตกลงปารีส ในการประชุม COP29 นี้ GC ได้แสดงเจตนารมย์และความมุ่งมั่นในการมุ่งสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ ด้วยการเข้าร่วมในกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ณ Thailand Pavilion

  • แสดงวิสัยทัศน์และนำเสนอเป้าหมายการดำเนินงานและตัวอย่างความสำเร็จในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ภายในปี 2593
  • ร่วมเสวนาหัวข้อ "Sustainable Growth: Key to Thailand's Net Zero Success" ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงจากกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
  • แบ่งปันมุมมองและปัจจัยแห่งความสำเร็จในการร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงิน เพื่อการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคาร์บอนต่ำของประเทศไทย

ผลกระทบจากภาวะโลกเดือด (Global Boiling) ไม่ได้จำกัดเพียงแค่ด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจและสังคมทุกภาคส่วน รวมถึงการพัฒนาประเทศ ซึ่งนำมาสู่การขับเคลื่อนในเวทีระดับโลกและระดับประเทศเพื่อรักษาอุณหภูมิของโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากยุคก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม ผ่านการผลักดันนโยบายและปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้อง แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงเราทุกคนในฐานะประชากรโลก มาร่วมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อโลกที่ยั่งยืน

ค้นหาไอเดียการใช้ชีวิตในแบบ GEN S... Generation Sustainability คนเจนใหม่หัวใจยั่งยืน ได้ที่ https://gcgens.com/lifestyle-gen-s/

#COP28 #COP29#GC

#ChemistryforBetterLiving

Feature Stories

Feature Stories
05 August 2021
Better with Bio Cup
Read More
Feature Stories
12 May 2020
GC uses plastic innovations to produce protective suits supporting doctors and nurses from COVID-19 infection [Marketeer Online]
Read More
Feature Stories
17 May 2019
GC Supports Innovation for "Recyled Monks' Robes"
Read More