Feature Stories
Scroll Down
07 May 2020
DOs & DON'Ts When Talking about COVID-19
Share:
วิธีการสื่อสารเกี่ยวกับ COVID-19 มีความสําคัญมากในการสนับสนุนให้ประชาชนปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมเพื่อช่วยต่อสู้กับ โรคและหลีกเลี่ยงการทําให้ความหวาดกลัวและการตีตราทางสังคมแพร่กระจายมากขึ้น เราจําเป็นต้องสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้อต่อการพูดถึงโรคและผลกระทบรวมทั้งการแก้ปัญหาอย่างเปิดเผย ตรงไปตรงมา และมีประสิทธิผล โดยใช้วิธีการสื่อสารง่ายๆ ด้วยการเลือกใช้คำ เมื่อพูดถึง COVID-19 ดังนี้
DO | DON'T | |
---|---|---|
เรียกว่าไวรัสโคโรน่า (COVID-19) | ไม่ควรพูดชื่อสถานที่หรือเชื้อชาติประกอบ เช่น ไวรัสจีน ไวรัสอู่ฮั่น | |
ใช้คำว่า "ผู้ติดเชื้อ COVID-19" "คนที่ได้รับการรักษา COVID-19" "ผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อ COVID-19" | ไม่ใช้คำว่า "ผู้ป่วย COVID-19" "เหยื่อ COVID-19" | |
ใช้คำว่า "คนที่อาจติดเชื้อ COVID-19" "คนที่สันนิษฐานว่าติดเชื้อ COVID-19" | ไม่ใช้คำว่า "ผู้ต้องสงสัยติดเชื้อ COVID-19" "ผู้ป่วยต้องสงสัย" | |
ใช้คำว่า "ได้รับเชื้อ" หรือ "ติดเชื้อ" COVID-19 | ไม่ใช้คำว่า คนที่ "แพร่เชื้อ" "ทำให้คนอื่นติดเชื้อ" "แพร่เชื้อไวรัส" | |
เมื่อพูดถึงความเสี่ยงจาก COVID-19 ควรยึดหลักตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และคำแนะนำการดูแลสุขภาพล่าสุดที่ประกาศอย่างเป็นทางการ | กระจายข่าวลือที่ไม่ได้รับการยืนยัน หรือ ภาษาที่ใช้คำน่ากลัวเกินจริง เช่น "หายนะของโลก" | |
พูดถึงแง่ดีเกี่ยวกับประสิทธิผลของมาตรการป้องกันและรักษาโรค เน้นพูดถึงการป้องกันดูแลตนเอง | ไม่ควรเน้นพูดถึงแต่เรื่องไม่ดี สร้างคำพูดน่าหวาดกลัว |
ที่มา: WHO, Unicef, IFCR. (2020). การตีตราทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19,
สืบค้นจาก https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/covid19-stigma-guide-th-final.pdf
Feature Stories
Feature Stories
21 October 2024
Biodiversity and Business Sustainability บทบาทของภาคธุรกิจกับความหลากหลายทางชีวภาพ
Read MoreFeature Stories
17 June 2020
“New Design of Bioplastic Straw” เติมเต็มประสบการณ์ดื่มด้วยหลอดรักษ์โลก ในโครงการ Upcycling Upstyling
Read MoreFeature Stories
08 June 2020