Feature Stories
Four New Normal Trends… Changes in Post COVID-19 Era
ใครจะคิดว่า.. อยู่มาวันหนึ่งโลกของเราจะพบเจอกับโรคระบาดที่คร่าชีวิตผู้คนมากมาย รวมถึงเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการการใช้ชีวิตของผู้คน จนเริ่มมองภาพไม่ออกว่าโลกหลัง COVID-19 จะเป็นอย่างไร.. ทำให้ตอนนี้นักธุรกิจ ผู้บริหาร และนักลงทุนของบริษัทใหญ่ ๆ ทั่วโลก เริ่มมีการคาดการณ์สถานการณ์โลกหลังผ่านพ้นวิกฤต COVID-19 เพื่อปรับเปลี่ยนและวางแผนให้ธุรกิจสามารถกลับเข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว โดยเฉพาะพฤติกรรมของคนที่จะต้องเปลี่ยนไป ซึ่งบางอย่างกลายเป็น New Normal หรือความปกติใหม่ที่เราต้องเจอ
1.Work From Home เป็นเรื่องปกติ
มีการคาดการณ์ว่าหลายๆ บริษัทจะเริ่มให้อิสระในการทำงานกับพนักงานมากขึ้น โดยพนักงานอาจไม่จำเป็นต้องเดินทางเข้ามาที่ออฟฟิศทำให้บริษัทเอง ข้อดีคือ บริษัทสามารถลดพื้นที่และค่าใช้จ่ายในการเช่าสำนักงานได้ด้วย นอกจากนี้ เทรนด์การออกแบบสำนักงานแบบเปิดโล่ง (Open Plan Office) ที่ไม่มีพาร์ทิชั่นกั้นระหว่างโต๊ะทำงาน ซึ่งเคยได้รับความนิยมในออฟฟิศยุคใหม่ ก็อาจลดลง และอาจมีการปรับเปลี่ยนเป็นพื้นที่แบบปิดมากขึ้น เพราะการมีพาร์ทิชันกั้นระหว่างโต๊ะทำงาน จะช่วยลดโอกาสการสัมผัสเชื้อ COVID-19 ได้มากขึ้น
2.ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อทำงานและใช้ชีวิตมากขึ้น
ด้วยการเว้นระยะห่างทางสังคม (Physical Distancing) ทำให้เราไม่สามารถคุยกับเพื่อน หรือคนรู้จักได้เหมือนเดิม การใช้งาน VDO Conference จะกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นสำหรับการใช้งานทั่วไป นอกจากนี้สังคมของเราจะก้าวสู่การเป็น Cashless Society อย่างแท้จริง เนื่องจากผู้บริโภคอาจเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการชำระเงิน โดยลดการใช้เงินสด และหันมาชำระผ่านโมบายล์หรือระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เพื่อลดการสัมผัสเชื้อที่อาจติดมากับธนบัตรหรือเหรียญ
3.เรียนออนไลน์ กันมากขึ้น
ในช่วงวิกฤติ COVID-19 สถานการศึกษาหลายแห่ง ยังมีการเรียนการสอน แต่เปลี่ยนรูปแบบมาเรียนผ่านระบบออนไลน์กันมากขึ้น โดยใช้แอปพลิเคชันต่างๆ เช่น Microsoft Teams, Zoom หรือ Slack อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์กลับสู่ภาวะปกติ มีการคาดการณ์ว่าการเรียนออนไลน์อาจลดลงบ้าง แต่ก็อาจมีบางสถานศึกษา ที่ทั้งผู้เรียน และผู้สอนยังคงต้องการเรียนออนไลน์อยู่ ดังนั้น สถานศึกษาต่างๆ อาจพัฒนาหลักสูตร และรูปแบบให้สามารถเรียนผ่านระบบออนไลน์ เพื่อสนองความต้องการของผู้เรียนและผู้สอนอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน
4.เพิ่มความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ
จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ธุรกิจจำเป็นต้องวางแผนปรับตัวทั้งในระยะสั้น และระยะยาว โดยเฉพาะด้านการบริหารความเสี่ยงที่อาจกระทบกับการดำเนินธุรกิจ นอกจากนี้ ธุรกิจยังต้องเรียนรู้ที่จะรู้จักปรับตัวให้พร้อมรับกับสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินธุรกิจ เช่น
- สร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความคล่องตัว เพิ่มจำนวนผู้จัดหาวัตถุดิบเพื่อกระจายความเสี่ยง
- ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล และระบบอัตโนมัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
- ปรับเปลี่ยนโมเดลธุรกิจและการให้บริการ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ๆ เช่น ธุรกิจร้านค้า และร้านอาหาร จากเดิมเคยให้บริการลูกค้าที่หน้าร้านเพียงอย่างเดียว อาจต้องปรับตัวหาลูกค้าจากช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น บริการส่งอาหาร Delivery เป็นต้น
Source: BrandInside และ ฐานเศรษฐกิจ
เรียบเรียงโดย ทีม Digital Transformation (dEX), GC
Feature Stories