25 December 2018

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และจีซี นำ 30 เชฟชุมชนจากทั่วประเทศ โชว์เมนูอาหารถิ่น “โครงการเชฟชุมชนเพื่อท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน” แก่นายกรัฐมนตรี พร้อมชวนนักท่องเที่ยวสัมผัสอาหารถิ่นรสเด็ดต้อนรับปีใหม่ 2562 ณ ร้านเชฟชุมชนทั่วประเทศ

Share:

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำผู้บริหารหน่วยงานร่วมดำเนินงานโครงการฯ ประกอบด้วย นายทวีศักดิ์ วาณิชย์เจริญ รองปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เชฟชุมพล แจ้งไพร มิชลินสตาร์เชฟอาหารไทย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) นางวราวรรณ ทิพพาวนิช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานกิจการองค์กร GC และ นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ รักษาการผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พร้อมด้วยเชฟชุมชน จำนวน 30 ชุมชนจากทั่วประเทศไทย นำเสนอผลงานเมนูเด็ดท้องถิ่น ที่ได้รับการยกระดับมาตรฐาน พร้อมนำเสนอแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ได้ส่งเสริมให้เชฟชุมชนมีความตระหนักต่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า จากโครงการเชฟชุมชนเพื่อท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน เพื่อส่งเสริมนโยบายการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) และการท่องเที่ยว เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Tourism) นอกจากนี้ยังได้เชิญ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ร่วมปรุงเมนูอาหารถิ่นกับตัวแทนเชฟชุมชน และเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เดินทางไปสัมผัสรสชาติอาหารถิ่นอันมีเอกลักษณ์เฉพาะ และสัมผัสวิถีชีวิตชุมชน ณ ร้านอาหารเชฟชุมชนทั่วประเทศไทยที่เข้าร่วมโครงการฯ ด้วย

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ร่วมตอกย้ำนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร จัดทำโครงการ “เชฟชุมชนเพื่อท่องเที่ยวไทย อย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ที่มุ่งส่งเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอาหารให้กับประเทศไทย ยกระดับมาตรฐานอาหารไทยของชุมชน พร้อมสร้างเครือข่ายด้านการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างเป็นรูปธรรม และกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน โดยมีองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ร่วมเป็น ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำระบบการพัฒนาชุมชนอย่างใกล้ชิด

โครงการเชฟชุมชนเพื่อท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน เป็นการต่อยอดและนำโมเดลการพัฒนามาจากโครงการเชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง ซึ่ง GC ได้ริเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 และประสบความสำเร็จในการพัฒนาความสามารถให้กับเชฟชุมชนในจังหวัดระยอง มีการกระจายรายได้ และเกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารแห่งใหม่ของชุมชน นอกจากนี้ ยังได้ต่อยอดความยั่งยืนร่วมกับสถาบันการศึกษา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องให้กับชุมชนด้วย ในปี 2561 นี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจึงเกิดแนวคิดในการขยายผลการพัฒนาเชฟชุมชน และร้านอาหารเชฟชุมชนในทุกภาคทั่วประเทศไทย ตั้งแต่เชียงแสนไปจนถึงเบตง ซึ่งนอกจากชุมชนเหล่านี้จะได้องค์ความรู้ในการประกอบอาหารไทยและธุรกิจร้านอาหารในชุมชนแล้ว ยังได้เครือข่ายชุมชนจากทุกภาคทั่วประเทศไทยเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และสร้างการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวในชุมชนระหว่างกัน

นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กล่าวว่า “การสร้างร้านอาหารเชฟชุมชน เป็นเสมือนการสร้างอุปทานให้กับธุรกิจท่องเที่ยวในเรื่องการท่องเที่ยว เชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หรือการท่องเที่ยวสีเขียว (Green Tourism) เพราะในปัจจุบันความต้องการของนักท่องเที่ยวมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ทั้งนี้ การอยู่บนรากฐานของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยร้านอาหารเชฟชุมชนจะต้องมุ่งเน้นอัตลักษณ์และคุณภาพ ของอาหาร รวมถึงความสุขที่ทั้งนักท่องเที่ยวและคนในชุมชนจะได้รับได้สองฝ่าย มีการสืบทอดสูตรเมนู อาหารถิ่นไปยังลูกหลานคนรุ่นหลัง เพื่อรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นอันมีคุณค่า และสืบทอดต่อไปรุ่นต่อรุ่น ทั้งนี้ คาดหวังให้ร้านอาหารเชฟชุมชนพัฒนาไปข้างหน้าด้วยกัน มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างชุมชน แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และวัตถุดิบท้องถิ่นระหว่างชุมชน ซึ่งจะทำให้ชุมชนเติบโตไปด้วยกันอย่างมีความสุขและยั่งยืน”

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “GC ได้ให้การสนับสนุน โดยการนำนวัตกรรมด้านบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ในโครงการ ส่งเสริมด้านการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ และต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้กับชุมชน โดยได้จัดทำบรรจุภัณฑ์แบบใช้ซ้ำได้ ลิมิเต็ด อิดิชั่น ในคอลเลคชั่น Rethink #คิดก่อนเท ให้กับเชฟชุมชน เพื่อบรรจุอาหารสำหรับจำหน่ายให้กับลูกค้าที่นำกลับบ้าน ซึ่งเป็นโปรโมชั่นพิเศษช่วงเปิดร้าน โดยบรรจุภัณฑ์ดังกล่าวสามารถใช้ซ้ำได้อย่างปลอดภัย สามารถนำเข้าเตาไมโครเวฟโดยเปิดฝาอุ่นได้ถึง 120 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังส่งเสริมการใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ BioPBS™ ซึ่งเหมาะกับการจัดกิจกรรมพิเศษ สามารถทิ้งไปพร้อมๆ กับขยะอินทรีย์หรือเศษอาหาร โดยสามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมภายใน 180 วัน พร้อมกันนี้ยังได้สร้างจิตสำนึกการรักษาสิ่งแวดล้อม และการใช้ชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น โดยการจัดทำชั้นวางจำหน่ายสินค้าของฝากให้กับชุมชน ซึ่งผลิตจากกล่องนมรีไซเคิล และจัดทำชุดแต่งกายเชฟชุมชนที่ผลิตจากเส้นใย ขวดพลาสติก (PET) รีไซเคิล รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ถูกวิธี การคัดแยกและทิ้งขยะอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการตอกย้ำและปลูกจิตสำนึกให้เชฟชุมชนมีแนวคิดการใช้ทรัพยากร อย่างคุ้มค่าที่สุด”

สำหรับเชฟชุมชนที่เข้าร่วมโครงการนั้น ได้รับการคัดเลือกจากชุมชนที่ได้รับการพัฒนาจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) โดยมีเซเลบริตี้เชฟและจิตอาสาชื่อดัง ลงพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างชุมชน และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ร่วมกัน พร้อมพัฒนาเมนูเด็ดของท้องถิ่นที่รังสรรค์โดยเชฟชุมชน ให้มีมาตรฐานทั้งในด้านรสชาติ ภาพลักษณ์ คุณภาพ และความสะอาด ตลอดจนจัดฝึกอบรมและปฏิบัติการพัฒนาเมนูอาหารถิ่นและเมนูอาหารไทยสำหรับนักท่องเที่ยว (Amazing Thai Taste) นำโดยเชฟชุมพล แจ้งไพร มิชลินสตาร์เชฟอาหารไทย เชฟเดวิด ทอมป์สัน มิชลินสตาร์เชฟอาหารไทยคนแรกของโลก มาดามนูรอ โซ๊ะมณี สเต็ปเป้ เชฟหญิงไทยผู้สร้างร้านอาหารไทย บลู เอเลฟเฟ่นท์ อาจารย์วันดี ณ สงขลา อาจารย์แม่แห่งวงการอาหารไทย เชฟนิก วิพิทธิจักษ์ พิทยานนท์ นักออกแบบอาหารโด่งดังระดับโลก เชฟแอนดี้ ยังเอกสกุล มิชลินสตาร์เชฟอาหารไทย เป็นต้น

ทั้งนี้ 30 เชฟชุมชนดังกล่าว ได้จัดตั้งร้านอาหารเชฟชุมชนและร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ที่คงเอกลักษณ์และวิถีชุมชน ซึ่งตั้งอยู่ทั้งในเมืองหลักและเมืองรองทั่วประเทศไทย อันจะก่อให้เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชน และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยพร้อมให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวภายในต้นปี 2562 พร้อมกันทั่วประเทศ

รายชื่อเชฟชุมชน จำนวน 30 ชุมชนจากทั่วประเทศ
ที่เข้าร่วมโครงการเชฟชุมชนเพื่อท่องเที่ยวไทยอย่างยั่งยืน

ภาคตะวันออก

  1. ชื่อชุมชน บ้านตะเคียนเตี้ย จังหวัดชลบุรี
    เมนูอาหารถิ่น แกงไก่กะลา
    ติดต่อ คุณวันดี ​ประกอบธรรม โทรศัพท์ 098-412-1712
  2. ชื่อชุมชน ไร่หลักทอง จังหวัดชลบุรี
    เมนูอาหารถิ่น ปลาส้มทอด
    ติดต่อ คุณสุกลภัทร ใจจรูญ โทรศัพท์ 085-393-8755
  3. ชื่อชุมชน บ้านทะเลน้อย จังหวัดระยอง
    เมนูอาหารถิ่น แกงส้มผักกระชับ
    ติดต่อ คุณสารภี ถวิล โทรศัพท์ 085-433-4651
  4. ชื่อชุมชน เทคนิคระยอง จังหวัดระยอง
    เมนูอาหารถิ่น แกงหมูระยอง
    ติดต่อ คุณมานิดา หยาดทอง โทรศัพท์ 061-837-9991
  5. ชื่อชุมชน เขาบายศรี จังหวัดจันทบุรี
    เมนูอาหารถิ่น ข้าวระกำขยำปู
    ติดต่อ คุณนงลักษณ์ มณีรัตน์ โทรศัพท์ 061-837-9991

ภาคกลาง

  1. ชื่อชุมชน บ้านดงเย็น จังหวัดสุพรรณบุรี
    เมนูอาหารถิ่น แกงไก่อารมณ์ดี
    ติดต่อ คุณแวว สว่างแจ้ง โทรศัพท์ 083-308-8144
  2. ชื่อชุมชน ศรีประจัน จังหวัดสุพรรณบุรี
    เมนูอาหารถิ่น แกงบวน
    ติดต่อ คุณแววดาว มุขด้วง โทรศัพท์ 086-395-4199
  3. ชื่อชุมชน ไทยพวนบางน้ำเชี่ยว จังหวัดสิงห์บุรี
    เมนูอาหารถิ่น หลนปลาร้าไทยพวน
    ติดต่อ คุณสาธุพร สุคันธวิภัติ โทรศัพท์ 099-063-1546
  4. ชื่อชุมชน ถ้ำรงค์ จังหวัดเพชรบุรี
    เมนูอาหารถิ่น แกงหัวโหนด
    ติดต่อ คุณชัชชัย นาคสุข โทรศัพท์ 099-246-9099
    ติดต่อ คุณดรุณี แก้วคต โทรศัพท์ 086-117-7464
  5. ชื่อชุมชน อ่าวน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    เมนูอาหารถิ่น ซี่โครงหมูอบสัปปะรด
    ติดต่อ คุณปรีดา พิมพ์สุวรรณ โทรศัพท์ 094-098-7636

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. ชื่อชุมชน บ้านบุไทร จังหวัดนครราชสีมา
    เมนูอาหารถิ่น แหนมเห็ดนางฟ้า
    ติดต่อ คุณวิไลลักษณ์ บุญไต่ตาม โทรศัพท์ 086-880-4419
  2. ชื่อชุมชน บ้านปราสาท จังหวัดนครราชสีมา
    เมนูอาหารถิ่น ผัดหมี่โคราช
    ติดต่อ คุณกฤษณา เสงี่ยมกลาง โทรศัพท์ 087-245-9800
  3. ชื่อชุมชน ไทญ้อบ้านโพน จังหวัดนครพนม
    เมนูอาหารถิ่น อั่วปลาดุก
    ติดต่อ คุณสุภวิทย์ พรรณวงศ์ โทรศัพท์ 064-145-5298
  4. ชื่อชุมชน บ้านโคกเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
    เมนูอาหารถิ่น กุ้งจ่อมทรงเครื่อง
    ติดต่อ คุณส้มเกลี้ยง สืบวัน โทรศัพท์ 091-829-5163
  5. ชื่อชุมชน บ้านเดื่อ จังหวัดหนองคาย
    เมนูอาหารถิ่น ปลาจุ่มหม้อไฟ
    ติดต่อ คุณปัทมนันท์ จันทำมา โทรศัพท์ 064-152-5882
  6. ชื่อชุมชน เขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
    เมนูอาหารถิ่น แกงอ่อมอีสาน
    ติดต่อ คุณนุศรี วิชัยศร โทรศัพท์ 081-718 6904

ภาคเหนือ

  1. ชื่อชุมชน ในเวียง จังหวัดน่าน
    เมนูอาหารถิ่น หมูสามชั้นผัดถั่วเน่า
    ติดต่อ คุณชุติมา ณ น่าน โทรศัพท์ 084-046-6516
  2. ชื่อชุมชน บ่อสวก จังหวัดน่าน
    เมนูอาหารถิ่น ไก่ทอดมะแขว่น
    ติดต่อ คุณกฤติญาณี ปัญญา โทรศัพท์ 093-250-1651
  3. ชื่อชุมชน บ้านแพะหนองห้า จังหวัดลำพูน
    เมนูอาหารถิ่น แกงฮังเลลำไยชมพู
    ติดต่อ คุณสุมินตรา มลกันทาสวัสดิ์ โทรศัพท์ 085-146-2123
  4. ชื่อชุมชน พระบาทห้วยต้ม จังหวัดลำพูน
    เมนูอาหารถิ่น น้ำพริกดำ
    ติดต่อ คุณอัปสรสวรรค์ เขียวขจีไพร โทรศัพท์ 064-469-6002
  5. ชื่อชุมชน บ้านท่าขันทอง จังหวัดเชียงราย
    เมนูอาหารถิ่น แจ่วหลิม
    ติดต่อ คุณปกรณ์ ศรีลารักษ์ โทรศัพท์ 093-636-5681
  6. ชื่อชุมชน ไทลื้อ จังหวัดพะเยา
    เมนูอาหารถิ่น แอ่งแถะ
    ติดต่อ คุณดรุณี สมฤทธิ์ โทรศัพท์ 088-267-5101
  7. ชื่อชุมชน บ้านคุกพัฒนา จังหวัดสุโขทัย
    เมนูอาหารถิ่น ต้มส้มกะทิปลาเกลือ
    ติดต่อ คุณทรรศวรรณ ลิสวน โทรศัพท์ 089-562-6230
  8. ชื่อชุมชน บ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย
    เมนูอาหารถิ่น ข้าวเปิ๊ป

ภาคใต้

  1. ชื่อชุมชน ย่านเมืองเก่าภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
    เมนูอาหารถิ่น ผัดหมี่ฮกเกี้ยน
    ติดต่อ คุณวิภา ลิ่มทองนพคุณ โทรศัพท์ 081-893-5343
  2. ชื่อชุมชน บ้านแขนน จังหวัดภูเก็ต
    เมนูอาหารถิ่น แกงสมพรหม
    ติดต่อ คุณธัญลักษณ์ จริยะเลอพงษ์ โทรศัพท์ 081–895-6864
  3. ชื่อชุมชน หนองเล จังหวัดกระบี่
    เมนูอาหารถิ่น น้ำชุบคลีเซ๊ะ
    ติดต่อ คุณประไพ มุขศรีประเสริฐ โทรศัพท์ 080-879-3752
  4. ชื่อชุมชน แหลมสัก จังหวัดกระบี่
    เมนูอาหารถิ่น ข้าวคลุกกะปิอันดามัน
    ติดต่อ คุณนิตยา อุ่นเมตตาจิต โทรศัพท์ 081-693-3387
  5. ชื่อชุมชน บ้านท่าข้ามควาย จังหวัดสตูล
    เมนูอาหารถิ่น เคยฉลู
    ติดต่อ คุณธิดารัตน์ ประกอบ โทรศัพท์ 087-293-0093
  6. ชื่อชุมชน หมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 10 จังหวัดยะลา
    เมนูอาหารถิ่น ไก่เบตง
    ติดต่อ คุณสาริน แสงเกียรติวงศ์ โทรศัพท์ 084-718-5392

Feature Stories

Feature Stories
07 June 2023
Bio Food Serviceware ความสะดวกสบายที่มาพร้อมกับโลกที่ดีขึ้น
Read More
Feature Stories
23 April 2020
Helping Save the World during the COVID-19 Crisis
Read More
Feature Stories
26 January 2020
The ThinkCycle Bank promotes the ‘Circular Use to Change the World’ concept
Read More