07 October 2022

จัดหาอย่างไร ให้ธุรกิจยั่งยืน? เข้าใจต้นทางการผลิต ที่ตอบโจทย์ ESG

Share:

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยความท้าทาย ธุรกิจจะยั่งยืนไม่ได้ หากขาดการจัดหาวัตถุดิบ สินค้า บริการ และกระบวนการผลิตที่ดี ดังนั้น การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน หรือ Sustainable Procurement ตามหลัก ESG ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (Governance & Economic) จึงมีบทบาทสำคัญ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานในการจัดหา ผลิต และส่งมอบสินค้าและบริการ สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้า คู่ค้า นักลงทุน รวมถึงบุคคลากรที่เกี่ยวข้องในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ช่วยลดความเสี่ยงการหยุดชะงักในกระบวนการผลิต และเพิ่มความมั่นใจว่าองค์กร จะอยู่ได้ในอนาคต (Future-Proof)1 นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างความยืนหยุ่นในการบริหาร Supply Chain ช่วยบริหารจัดการคู่ค้าด้วยความยั่งยืน (Sustainable Supplier Management)2 โดยจะเห็นได้จากองค์กรที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อห่วงโซ่อุปทาน (Responsible Supply Chain) จะมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 5-20% ช่วยลดต้นทุนลง 5-15% เพิ่มมูลค่าแบรนด์ได้ 10-25% และลดความเสี่ยงกรณีคู่ค้าไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงอีกด้วย³

ESG และการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement)

ESG ย่อมาจาก Environment (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม) และ Governance (ธรรมาภิบาล) ( Governance ในบริบทบางองค์กร อาจรวมถึง Economic ) เป็นหลักการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่มุ่งสร้างสมดุลทั้งธุรกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ให้โลกใบนี้ ในระยะยาว ซึ่ง ESG กำลังได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก ธุรกิจวันนี้ จึงนำหลัก ESG มาใช้ในกระบวนการต่างๆ รวมถึงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่ต้องมีความยั่งยืน4 เพราะถือเป็นกระบวนการต้นทางที่สำคัญต่อการผลิต โดยการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนตามหลัก ESG มีรายละเอียดที่น่าสนใจดังนี้

E (Environment): Green Procurement การจัดซื้อจัดจ้างเพื่อสิ่งแวดล้อม
เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ส่งเสริมเครือข่ายคู่ค้าสีเขียวตลอด Supply Chain

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Procurement) คือ กระบวนการจัดหาที่ลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่แค่การใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก เท่านั้น แต่ยังต้องสนับสนุนคู่ค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย ดังที่ GC สนับสนุนการสร้างเครือข่ายสีเขียวระหว่างบริษัทฯและคู่ค้า ด้วยการแลกเปลี่ยนความรู้และพัฒนาศักยภาพคู่ค้าทั้งในเชิงพาณิชย์ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี อาทิ การจัดอบรมคู่ค้าในโครงการ GC Management System (GCMS) และการจัดประชุมคู่ค้าประจำปี เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยเราสนับสนุนให้คู่ค้า ขอรับฉลากสิ่งแวดล้อมหรือมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยในการพิจารณาซื้อจ้าง อีกทั้งส่งเสริมให้คู่ค้า จัดทำรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สืบค้นง่ายขึ้น พร้อมทั้งวางแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร่วมกับคู่ค้า เช่น เป็นต้น นอกจากนี้ ในปี 2564 เราได้พัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม เพื่อกำหนดคุณสมบัติของสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยพบว่า ร้อยละ 37 ของยอดจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม⁶

จากการดำเนินงานด้าน Green Procurement ทำให้เราได้รับการรับรองตามมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) จากกระทรวงอุตสาหกรรม ในระดับ 5 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 (ตั้งแต่ปี 2558) โดยระดับ 5 ถือเป็นระดับสูงสุดที่เรียกว่า Green Network (เครือข่ายสีเขียว)5 ซึ่งจะมอบให้องค์กรที่ขยายขอบเขตการเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว จากภายในสู่ภายนอกองค์กรตลอด Supply Chain พร้อมสนับสนุนให้คู่ค้าและพันธมิตรเป็นอุตสาหกรรมสีเขียวได้ด้วย

S (Social) : Labor Practices & Human Rights
เน้นแนวปฏิบัติด้านแรงงาน และสิทธิมนุษยชน เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของเพื่อนร่วมงาน

เมื่อกล่าวถึงกระบวนการผลิตที่ดีนั้น บุคคลากรผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในองค์กรของเรา คู่ค้า ชุมชน ตลอดจนทั้ง Supply Chain ล้วนเป็นเพื่อนร่วมงานทั้งสิ้น ซึ่งเพื่อนร่วมงานเหล่านี้ จำเป็นต้องทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาวะที่ดี เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่ถูกใช้แรงงานโดยไม่ถูกต้องตามกฏหมาย ซึ่งการดำเนินงานที่ว่านี้ ต้องมีกระบวนการประเมิน และมีแนวทางลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และความปลอดภัย ดังเช่นที่ GC มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่ครอบคลุมทุกกิจกรรมของบริษัทฯตลอด Supply Chain 100 % และมีแนวทางควบคุมความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ เรายังมีมาตรฐานการบรรเทาผลกระทบจากประเด็นเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน เช่น จัดทำคู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อลดการเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้า พร้อมทั้งสื่อสารให้คู่ค้าที่สำคัญและเกี่ยวข้องทุกราย รับทราบและปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ เพื่อไม่ให้มีการจ้างแรงงานผิดกฏหมาย โดยในปี 2564 ไม่พบเคสเคส/ร้องเรียน การละเมิดสิทธิแรงงาน หรือ สิทธิมนุษยชน และอัตราความถี่ของการบาดเจ็บจากการทำงานที่รุนแรงถึงขั้นต้องหยุดงานมีแนวโน้มลดลง7

G (Governance & Economic ) : Business Ethics, Anti-Corruption & Efficiency
รักษาจรรยาบรรณธุรกิจ ต่อต้านการทุจริต และเพิ่มประสิทธิภาพ เพื่ออนาคตที่ดีกว่า

องค์ประกอบสุดท้ายที่ขาดไม่ได้สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืน คือ ต้องมีความโปร่งใส ตามจรรยาบรรณธุรกิจ ต่อต้านการทุจริตคปรัปชั่น เพื่อให้กระบวนการผลิต และกระบวนการทำงาน มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต ดังเช่นที่ คู่ค้ารายใหม่ของ GC ทั้ง 100 % รับทราบ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณ ในการจัดหาสินค้า วัตถุดิบ และการบริการ อีกทั้งเรายังส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ ผ่านกิจกรรม Corporate Governance Development เป็นต้น นอกจากนี้ เรายังได้ทำการประเมินด้าน ESG กับกลุ่มคู่ค้าที่สำคัญ (1st Tier Critical Supplier) ซึ่งเป็นคู่ค้าที่ GC มีปริมาณธุรกรรมมูลค่าสูง (High Spending) ทั้งสิ้น 91 ราย ด้าน ESG โดยพบว่าไม่มีการดำเนินงานที่ละเมิดด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณทางธุรกิจ อีกทั้งไม่ละเมิดต่อสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนด้วย9

สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง เรานำเทคโนโลยีดิจิทัลอย่าง Robotic Process Automation หรือ RPA มาใช้ในการจัดหาสินค้าบางกลุ่ม และปรับปรุงประสิทธิภาพให้ครอบคลุมการทำงานหลายกลุ่มสินค้า ซึ่ง RPA นอกจากจะช่วยเพิ่มความรวดเร็ว และแม่นยำในกระบวนการจัดหาวัตถุดิบแล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนวัตถุดิบด้วย 10

จากการนำหลัก ESG มาใช้เป็นแนวทางจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement) ผลที่ได้นั้นนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงทางธุรกิจในกระบวนการจัดหา ซึ่งเป็นต้นทางสำคัญของกระบวนการผลิตแล้ว ยังช่วยดึงดูดและรักษาความสัมพันธ์กับคู่ค้าที่ดี ซึ่งใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และมีธรรมาภิบาล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและการทำงาน ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่ตรงความต้องการ อีกทั้งยังดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย ด้านบุคคลากรในองค์กร ตลอดทั้ง Supply Chain ได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม ภายใต้สภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัย ดีต่อคุณภาพชีวิต เป็นธุรกิจโปร่งใส ที่นักลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความเชื่อมั่นว่า มีประโยชน์ต่อโลกใบนี้ได้อย่างยั่งยืน

#GCร่วมส่งต่อโลกที่ยั่งยืน
#GCยิ่งใกล้คุณยิ่งต้องดี
#GCChemistryforBetterLiving

แหล่งอ้างอิง

1 แหล่งอ้างอิง: SET จัดทำและเผยแพร่คู่มือจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า (SET’s Supplier Code of Conduct) ให้คู่ค้าของตลาดหลักทรัพย์ฯ รับทราบตั้งแต่ปี 2558 https://bit.ly/3RdCBIY

2 แหล่งอ้างอิง: การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (Sustainable Procurement) คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ? (2565). เว็บไซต์ https://supplychainguru.co.th/articles/sustainability/what-is-sustainable-procurement-and-its-importance/

3 แหล่งอ้างอิง: งานวิจัย Beyond Supply Chains - Empowering Responsible Value Chains โดย World Economic Forum (ปี 2015)

4 แหล่งอ้างอิง: Sustainable Procurement – การจัดซื้อจัดจ้างที่ยั่งยืน. (2565). เว็บไซต์ https://www.sdgmove.com/2021/07/29/sdg-vocab-40-sustainable-procurement/

5 แหล่งอ้างอิง: เกณฑ์กำหนดอุตสาหกรรมสีเขียว กระทรวงอุตสาหกรรม. (2565). เว็บไซต์ https://greenindustry.diw.go.th/webgi/green-industry-condition/

6 แหล่งอ้างอิง: การจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

7 แหล่งอ้างอิง: การประเมินความเสี่ยงและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

8 แหล่งอ้างอิง: การตรวจประเมินคู่ค้าด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

9 แหล่งอ้างอิง: การบริหารจัดการคู่ค้าอย่างยั่งยืน. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

10 แหล่งอ้างอิง: ความท้าทายและการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง. รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ ประจำปี 2564 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน). (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/storage/document/integrated-sustainability-reports/2021/pttgc-isr2021.pdf

Feature Stories

Feature Stories
04 July 2022
A Sustainable Future through Innovation
Read More
Feature Stories
15 August 2020
Ecotopia joins together with GC Circular Living Shop to support sustainable plastics under the Circular Economy concept [Thaipublica]
Read More
Feature Stories
24 July 2019
Do you care about the bear?
Read More