31 May 2023

การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน เพื่ออนาคตโลก อนาคตเรา

Share:

วิกฤตการณ์โลกร้อนจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Emission) ส่งผลให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวนจากรายงานของ Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ในปี 2023 พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนปฏิวัติอุตสาหกรรม (ปี ค.ศ. 1850 - 1900) โดย United Nation (UN) พบว่าประมาณ 74% ของภัยธรรมชาติเกี่ยวกับน้ำท่วม และฝนแล้ง ที่เกิดขึ้นในช่วง 20 ปีที่ผ่านมานั้นส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 3 พันล้านคนทั่วโลก 166,000 ล้านคนสูญเสียจากภัยแล้ง และน้ำท่วม โดยใช้เงิน 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ใช้ไปกับการแก้ไข และป้องกัน

ส่วนสถานการณ์โลกร้อนในประเทศไทยจากข้อมูล Climate Change Knowledge Portal โดย World Bank พบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 1-1.4 องศาเซลเซียส โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่เปราะบางต่อ Climate Chage เป็นอันดับที่ 9 ของโลก ส่งผลให้สภาวะอากาศแปรปรวน ฝนตกหนักจนเกิดอุทกภัย และปัญหาภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงยาวนานกว่าปกติ ซึ่งล้วนเป็นประเภทภัยพิบัติที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจโดยรวม 3 ล้านคนได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม 50% ของพื้นที่เกษตรจะไม่สามารถเพาะปลูกได้ภายในปี 2100 และงบประมาณในการเยียวยาผู้ประสบภัย การรับมือ การออกแบบโครงสร้างพื้นฐาน เมื่อเทียบกับ GDP แล้วส่งผลกระทบสูงถึง 1.23% GDP โดยเฉพาะ ภัยภิบัติประเภทน้ำท่วมและน้ำแล้ง

ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยรับมือกับปัญหาภัยแล้ง เพื่อบรรเทาและจัดการทรัพยากรน้ำที่มีอย่างจำกัด ให้สามารถใช้อุปโภคบริโภคอย่างพอเพียงและมีประสิทธิภาพ

GC กับการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

GC มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Goals : SDGs) ด้วยการประเมินความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ และกิจกรรมขององค์กรให้เข้ากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะกิจกรรมที่อาจมีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) จึงมีการวัดผลตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการ ประกอบด้วยการกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing) การลงทุนในพลังงานสะอาด และการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการตลอดห่วงโซ่อุปทานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายที่ 13 ของ SDGs รวมถึงการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการใช้น้ำผ่านโครงการด้านการจัดการน้ำอย่างเข้มข้น การบูรณาการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำตามเป้าหมายที่ 6 ของ SDGs เพื่อจัดการน้ำอย่างมีความรับผิดชอบ และชุมชนได้มีน้ำสะอาดไว้ใช้บริโภค ผ่านการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืน

กลยุทธ์การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน

บริษัทฯ มุ่งเน้นการบริหารจัดการและรับมือกับวิกฤตอย่างยั่งยืนทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (One Water Strategy) มุ่งเน้นให้มีการกำกับดูแลกิจการ (Governance) ผ่านคณะทำงาน Water Management Taskforce และ Supply Chain Management Taskforce เพื่อให้มีการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน (Water Stewardship) และการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ำ (Resilience) บริษัทฯ จึงได้ทำการประเมินการใช้น้ำตลอดวัฏจักรชีวิต (Water Footprint) ตามมาตรฐาน ISO 14046 ส่งผลให้ได้รับการรับรองฉลากวอร์เตอร์ฟุตพริ้นท์ (Water Footprint : WF) จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผ่านโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ และหมุนเวียนการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในกระบวนการผลิตตามหลัก 5Rs ได้แก่

Reduce : บริษัทฯ ได้ปรับปรุงระบบการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดการใช้น้ำ เช่น โครงการโดยการปรับปรุงเทคโนโลยีเพื่อลดการใช้น้ำในถังทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidation Reactor) ซึ่งพบว่าสามารถลดปริมาณการใช้น้ำและสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตได้ รวมทั้งลดปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในและคุณภาพน้ำทิ้งดีขึ้น

Reuse : เลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและปรับกระบวนการผลิตเพิ่มการนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ซ้ำ เช่น High Efficiency Cooling System, เพิ่มรอบหมนุเวียนน้ำในระบบหล่อเย็น เป็นต้น

Recycle : โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย (Wastewater Reverse Osmosis : WWRO) สามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 3.47 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี จากความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก

Refuse : เลือกใช้สารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ รวมทั้งทบทวนและปรับปรุงสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อลดปริมาณสารเคมีที่ใช้และลดประมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้น เช่น การวางแผนในการล้างอุปกรณ์ช่วงหยุดซ่อมบำรุง ส่งผลให้ลดประมาณน้ำเสียปนเปื้อนที่ส่งกำจัดภายนอกและน้ำเสียที่เกิดขึ้นส่งบำบัดโดยระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานได้ตามมาตรฐานกำหนด

Renewable : โครงการเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (Sea Water Reverse Osmosis : SWRO) สามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 2.76 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี

เพราะน้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต และมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญของการดำรงชีวิต และการประกอบอาชีพของเกษตรกร ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ จึงต้องมีการบูรณาการจัดการน้ำร่วมกันเพื่อให้การใช้น้ำเกิดประโยชน์สูงสุด

GC บูรณาการจัดการน้ำกับหน่วยงานภายนอก

นอกจากมุ่งลดการใช้ทรัพยากรน้ำและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำในกระบวนการผลิตของ GC แล้ว GC ยังมุ่งสร้างความยั่งยืนให้แหล่งทรัพยากรน้ำเพื่อเป็นแหล่งต้นน้ำชุมชน ผ่านการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน อาทิ

1. ฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด จังหวัดระยอง

จากผืนป่าเสื่อมโทรมแห้งแล้งในอดีต วันนี้เขาห้วยมะหาดกลายเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญ ที่ช่วยสร้างงาน และกระตุ้นรายได้ให้แก่ชุมชน โดยมีจากแผนการดำเนินโครงการเป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2556-2566 มีเป้าหมายหลักในการฟื้นฟูระบบนิเวศของผืนป่าบนเขาห้วยมะหาดขนาด 2,500 ไร่ งานฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเขาห้วยมะหาด ได้ดำเนินกิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม ได้แก่ งานปลูกฟื้นฟู งานพัฒนาสายน้ำ และงานป้องกันไฟป่า ซึ่งได้รับการรับรองจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เป็นโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme : LESS) ภาคเอกชน ประเภทป่าไม้และพื้นที่สีเขียวจากการประเมินผลการดำเนินโครงการในปี 2556-2561 พบว่าโครงการฯ สามารถดูดซับก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 32,807.199 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

2. ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด

เป็นความร่วมมือระหว่าง GC เทศบาลเมืองมาบตาพุด และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 20 แห่ง ในจังหวัดระยอง เพื่อเก็บน้ำใต้ดินในสวนผลไม้ของเกษตรกรไว้ใช้ในหน้าแล้งและลดผลกระทบจากน้ำท่วม ภายใต้แนวคิดการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างชุมชน และโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลให้ GC ได้รับรางวัล Communitas Awards 2022 จากสหรัฐอเมริกา ในหมวดองค์กรที่เป็นเลิศในด้านความรับผิดชอบต่อสังคมสาขาจริยธรรมและความรับผิดชอบ ด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

รางวัลการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในระดับสากล

การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืนอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ GC ได้เข้าร่วมการประเมิน Carbon Disclosure Project (Water Security) เป็นดัชนีด้านความยั่งยืนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ภายใต้กรอบการประเมินของสถาบันประเมินความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือระดับโลก Carbon Disclosure Project (CDP) ประจำปี 2563 โดยมีตัวชี้วัดในการประเมินที่ครอบคลุมทั้ง 11 ประเด็น ได้แก่ 1) Business Impact 2) Business Strategy 3) Governance 4) Integrated Approaches 5) Targets and Goals 6) Value Chain Engagement 7) Water Accounting 8) Water Policies 9) Water Risk Assessment 10) Water-related Opportunities และ 11) Water-related Risk Exposure ซึ่งได้รับผลการประเมินในระดับ A List (Leadership Level) ซึ่งเป็นระดับสูงสุดด้านการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และการบริหารจัดการน้ำ (Water Security) เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน

GC ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตที่ดีของผู้คนในสังคม

“น้ำ” ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อทุกชีวิต นอกจากการใช้อย่างรู้ค่าแล้ว การช่วยกันปลูกป่าสร้างแหล่งน้ำตามธรรมชาติก็เป็นกลไกสำคัญที่ทุกคนจะช่วยกันได้อนุรักษ์น้ำอย่างยั่งยืนได้ มาร่วมกันดูแลโลกของเราวันนี้ เพื่อส่งต่อโลกที่งดงามให้กับลูกหลานของเราต่อไป GC Chemistry for Better Living

#การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน
#ดีขึ้นเพื่อคุณดีขึ้นเพื่อโลก
#GCBetterForYouBetterForOurWorld
#GCChemistryForBetterLiving

Feature Stories

Feature Stories
28 October 2022
เปลี่ยนพลาสติกใช้แล้ว เป็นบ้านหลังใหม่จากวัสดุรีไซเคิลที่ยั่งยืนและเท่าเทียม
Read More
Feature Stories
08 August 2019
จีวร Upcycling จากขยะพลาสติก วิธีลดขยะพลาสติกฉบับพระสงฆ์ที่ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนด้วยการแปรรูป ‘พลาสติก’ ให้เป็น ‘จีวร’
Read More
Feature Stories
14 July 2019
สร้างมูลค่าใหม่ให้ขยะพลาสติก กับ ‘Upcycling the Oceans, Thailand’ โครงการต้นแบบของ GC
Read More