21 October 2024

Biodiversity and Business Sustainability บทบาทของภาคธุรกิจกับความหลากหลายทางชีวภาพ

Share:

ธรรมชาติจัดสรรจนเกิดเป็น ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ ได้อย่างไร?

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คือ คำจำกัดความของการมี สิ่งมีชีวิตนานาชนิดบนโลกไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมนุษย์ ต่างล้วนดำเนินชีวิตอยู่ในระบบนิเวศที่มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems) ระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystems) หรือระบบนิเวศเมือง (Urban Ecosystems) ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าวเกิดขึ้นจากการสะสม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเกิดการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเพื่อความอยู่รอดตลอดระยะเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญทางธรรมชาติ เกิดเป็นระบบนิเวศของโลก แต่ในปัจจุบันกำลังถูกทำลายลง

รู้หรือไม่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นความเสี่ยงระดับโลก?

กิจกรรมของมนุษย์ให้เกิดภาวะโลกร้อนจนเข้าสู่ยุคโลกเดือดในปัจจุบัน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยมลพิษการล่าสัตว์ การทำประมงเกินขนาด ล้วนกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดสูญพันธุ์ไป ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศเสื่อมโทรมลง ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสัดส่วน GDP โลก ประชากร เกิดเป็นความเสี่ยงระดับโลก

ซึ่งจากผลสำรวจ Global Risks Report 2024 โดย World Economic Forum พบว่าประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับ สภาพอากาศรุนแรงแบบสุดขั้ว (Extreme weather) เป็นหนึ่งในการคาดการณ์ความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดของโลกใน 5 อันดับแรก ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 2 ปีนี้ และหนึ่งในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดของโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า คือการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศล่มสลาย (Biodiversity loss and ecosystem collapse) การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resource shortages) จากการคาดการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงระดับโลกที่อาจเกิดขึ้นส่วนใหญ่นั้นเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม

ทำไมภาคธุรกิจต้องใส่ใจธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ

ปัจจุบัน ภาคธุรกิจทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีผลกระทบอย่างรุนแรง การใส่ใจธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จากข้อมูลสัดส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดย BCG ระบุว่า อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ส่งผลกระทบมากที่สุดถึง 50% รวมถึงการประกาศของเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อกลางปี 2023 ว่ายุคโลกร้อน (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังเข้าสู่ยุคโลกเดือด (Global Boiling) ซึ่งสาเหตุเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ล้วนส่งผลให้ผู้ประกอบการทั่วโลกต่างหันมาดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น

ภาคธุรกิจจึงต้องหันมาเข้าใจ และใส่ใจ การดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความยั่งยืนสู่ธุรกิจในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น

  1. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

    การลงทุนในโมเดลธุรกิจใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (Reducing) การซ่อมแซม (Repairing) การผลิตซ้ำ (Remanufacturing) และการแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติ (Sharing)

  2. การควบคุมมลพิษ (Pollution Control)

    การลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้เข้ามาช่วยลดมลพิษจากพลาสติก น้ำ และอากาศ

  3. การอนุรักษ์มหาสมุทร และสัตว์ทะเล (Conversation of ocean and marine life)

    การลงทุนที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 14 ด้านทรัพยากรทางทะเล (SDG14) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

  4. ความยั่งยืนทางอาหาร และการดูแลป่าไม้ (Conversation of food and forestry)

    การลงทุนด้านการทำไม้และการทำเกษตรอย่างยั่งยืน รวมถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีการผลิตอาหารด้วยโปรตีนทางเลือก (Plant based) ที่ช่วยตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น

GC กับการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

GC ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้ดำเนินการควบคุมและพัฒนามาตรการต่างๆ ผ่านการประเมินความเสี่ยงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ปฏิบัติงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้สามารถระบุระดับความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ นำไปสู่การบริหารจัดการการดำเนินธุรกิจอย่างเหมาะสม รวมทั้งประยุกต์ใช้หลักการบรรเทาผลกระทบตามลำดับขั้น ในการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา ฟื้นฟู และชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนั้น ยังดำเนินความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เช่น ชุมชน หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชน อาทิ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชมรมคนรักษ์ป่าชากลูกหญ้า-ห้วยมะหาด ฯลฯ ในการอนุรักษ์และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพผ่าน โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด

ปลูกต้นไม้: ฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เนื้อที่ 552 ไร่ (จากเป้าหมายจำนวน 693 ไร่) ส่วนที่เหลือพื้นที่ 141 ไร่ จะเป็นการฟื้นฟูตามธรรมชาติ

ทำฝาย: สร้างฝายชะลอน้ำด้วยกระสอบพลาสติกแบบมีปีกแบบชั่วคราวจำนวน 430 ฝาย ครอบคลุมพื้นที่ร่องน้ำของ เขาห้วยมะหาดทั้งหมด

ป้องกันไฟป่า: จัดทำแนวกันไฟ และจัดตั้งชุดลาดตระเวน-ดับไฟป่า

สร้างอาชีพให้ชุมชน:

1. เกิดอาชีพกลุ่มงานบริการ เพื่อรองรับการทำกิจกรรมบนเขาห้วยมะหาด เช่น งานบริการด้านยานพาหนะ งานบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม

2. จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์หอมมะหาด โดยนำพืชสมุนไพรบนเขาห้วยมะหาด ได้แก่ เร่วหอม และว่านสาวหลง มาเพาะปลูกขยายพันธ์ในพื้นที่เกษตรกรในรูปแบบออแกนิค เพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ความหลากหลายทางชีวภาพ พืช สัตว์

  • ชนิดพันธุ์พืช พบ 169 ชนิด
  • ชนิดพันธุ์สัตว์ พบ 326 ชนิด

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://sustainability.pttgcgroup.com/th/environment/biodiversity

Feature Stories

Feature Stories
14 December 2020
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน ตระหนักรู้สู่การปฏิบัติจริงกับ GC Circular Living Symposium 2020 ปีที่ 2
Read More
Feature Stories
17 January 2019
The ‘Khao Huay Mahad’ forest project offers inspiration on the occasion of National Forest Conservation Day
Read More
Feature Stories
08 August 2018
ความหมายของ Circular Economy
Read More