05 July 2021

‘ท็อป-นุ่น’ ตอกย้ำโมเดลธุรกิจเพื่อสังคม ‘เราฝันให้ใกล้ แล้วไปให้ถึงก่อน’ สร้างความยั่งยืนสิ่งแวดล้อม

Share:

ได้ชื่อว่าเป็นคู่รักนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ที่เดินหน้าทำธุรกิจเพื่อสังคม social enterprise (SE) ภายใต้ชื่อ “KIDKID” (คิดคิด)มานับ 10 ปี หรือตั้งแต่ปี 2552 สำหรับ ท็อป-พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร และ นุ่น-ศิรพันธ์ วัฒนจินดา และวันนี้ทั้งสองก็ยังคงเดินหน้าทำสิ่งที่รักต่อไป กับธุรกิจล่าสุด คือ แอปพลิเคชัน “ECOLIFE”ที่มีแนวคิดง่าย เล่นสนุก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการปรับพฤติกรรมการรักษโลกช่วยกันลดขยะพลาสดิกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง

 20210812-1.jpg

ล่าสุด ท็อป-นุ่น ได้เข้าร่วมงาน Circular Living Symposium 2019 : Upcycling Our Planet ที่จัดโดย บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ จีซี ที่มุ่งตอกย้ำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนปกป้องโลก และชูแนวคิด GC Circular Living การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การนำพลาสติกที่ใช้แล้วกลับเข้ามาในระบบอีกครั้งเพื่อแปรรูปเป็นวัตถุดิบและต่อยอดสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่หรือการ Upycle เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากร พร้อมทั้งเปิดใจถึงธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการร่วมงานกับจีซี เพื่อเดินหน้ากระตุ้นสร้างการมีส่วนร่วมรักษ์สิ่งแวดล้อมในกลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่

ท็อป-นุ่น เล่าว่า การร่วมงานกับจีซีครั้งนี้ ได้รับโจทย์ให้คิดโครงการที่จะไปจัดกิจกรรมร่วมกับมหาวิทยาลัย โดยมีเป้าหมายเพื่อให้น้องๆ นักศึกษาเข้าใจถึงเรื่องของ Circular Living หรือเศรษฐกิจหมุนเวียน เบื้องต้นจะเริ่มกับมหาวิทยาลัยประมาณ 10 แห่งในกรุงเทพ

ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เริ่มต้นจาก ท็อป-พิพัฒน์ ที่เป็นนักออกแบบและมีความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม จึงเปิดธุรกิจร้านเล็กๆรูปแบบ อีโคช้อป และได้รับการตอบรับจากกลุ่มคนที่รักสิ่งแวดล้อมเหมือนกัน จึงนำมาสู่การเปิดบริษัท คิดคิด จำกัด ขึ้น เพื่อทำธุรกิจด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้ โมเดลธุรกิจที่ทั้งคู่วางไว้คือ การทำธุรกิจที่มีรายได้และกำไร ซึ่งเป็นพื้นฐานของธุรกิจทั่วไป แต่สิ่งที่แตกต่างจากธุรกิจทั่วไปคือต้องเป็นโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

 20210812-2.jpg

"ตัวอย่างโครงการที่ทำร่วมกับบริษัท แซมไซไนท์ (ประเทศไทย) นำกระเป๋าเดินทางเก่ามาสร้างสรรค์เป็น ลิ้นชักวางของ ชั้นวางหนังสือ ในโครงการ "ศูนย์การเรียนรู้เคลื่อนที่จากกระเป๋ารีไซเคิลแห่งแรกของประเทศไทย" ในโครงการ "Samsonite Trade-in" เพื่อมอบให้แก่ชุมชนขาดแคลนทั่วประเทศ โดยมีคุณท็อปเป็นคนออกแบบ ที่คำนึงถึงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก และการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขของชุมชน"

จนถึงปัจจุบัน คิดคิด ทำโครงการด้านสิ่งแวดล้อมให้กับบริษัทต่างๆ ที่มีแนวคิดเดียวกันมาแล้วกว่า 20 บริษัท ไม่รวมองค์กรการกุศลหรือหน่วยงานภาครัฐอีกมากมาย ซึ่งถึงวันนี้ ทั้งคู่ยังคงยึดมั่นในโมเดลธุรกิจเดิมที่ตั้งใจไว้แต่แรก โดยจะเริ่มจากจุดเล็กๆ แล้วค่อยๆ ขยายผลไปให้ใหญ่ขึ้น

จนถึงโครงการล่าสุด กับ แอปพลิเคชั่น "ECOLIFE" ที่พัฒนาในรูปแบบเกมการสะสมพื้นที่และตัวการดูน เมื่อนักศึกษาใช้บริการดามร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ร้านสะดวกซื้อภายในมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ และปฏิเสธไม่รับถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง นักศึกษาจะได้สิทธ์ในการสแกนคิวอาร์โค้ด ที่ติดอยู่ตามร้านต่างๆ เพื่อรับรางวัลป็นตัวการ์ดูนและพื้นที่ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการได้สะสมคะแนนเพื่อรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากผู้สนับสนุนที่ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย

 20210812-3.jpg

ในขณะเดียวกัน แอปก็จะบันทึกข้อมูลได้ว่า ขณะนี้มีการลดการใช้พลาสติกไปแล้วเท่าไร และมีประเภทใดบ้าง จึงสามารถวัดผลได้เป็นรูปธรรม ทำให้ได้ทั้งประโยชน์ในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลาสติก และปลูกฝังความรู้ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วย ซึ่งจากจุดเริ่มต้นในมหาวิทยาลัย จาก 10 แห่ง จะขยายเป็น 30 แห่งปีนี้

"เราฝันให้ใกล้ แล้วไปให้ถึงก่อน" ท็อป-นุ่น กล่าวปิดท้าย

ที่มา: www.thebangkokinsight.com

Feature Stories

Feature Stories
03 April 2020
Addressing the COVID-19 Crisis and Helping Save the Planet with Bioplastics
Read More
Feature Stories
05 September 2019
Why should we pay to recycling plastic ?
Read More
Feature Stories
21 July 2017
PTTGC, in collaboration with TAT, Rayong Provincial Authority, and Chef Chumpol, present “10 delicious menus you can’t miss on your journey by Chef Chumpol” for Rayong province
Read More