02 July 2019

ไฮไลท์มุมมองจากผู้นำความคิดและนวัตกรด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน จากงาน “Circular Living Symposium 2019”

Share:

แม้งาน “Circular Living Symposium 2019: Upcycling Our Planet” ที่จัดขึ้นโดย บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ร่วมกับ National Geographic จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่มุมมมองความรู้และประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่วิทยากรชั้นนำได้มาร่วมถ่ายทอดนั้น ยังคงสร้างแรงกระเพื่อมทางความคิดให้ผู้ฟังในงานอย่างเราไม่รู้จบ เกิดความคิดตระหนัก ต่อยอด ลงมือปฏิบัติ และปฏิวัติตัวเอง ที่จะนำไปสู่การ ‘ปฏิวัติการใช้ทรัพยากร’ ที่มีอยู่อย่างจำกัด และแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมบนโลกเพียงใบเดียวที่เราอยู่ร่วมกัน EVERYTHING จึงสรุปประเด็นสำคัญจากผู้นำความคิด และนักนวัตกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนชั้นนำจากทั้งในไทยและต่างประเทศที่มาร่วมงาน ให้ผู้อ่านได้แนวทางและแนวคิดสำคัญ ที่สามารถนำวิถี Circular Living ไปปรับใช้ในไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน

1. คุณสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC

ในฐานะผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ที่อยู่อุตสาหกรรมต้นทาง GC มุ่งมั่นที่จะยกเลิกการผลิตเม็ดพลาสติกชนิดที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง อย่างเช่น พวกถุงหูหิ้ว ปีละ 1.5 แสนตัน ภายใน 5 ปี (ปี 2562-2566) เพื่อช่วยลดปริมาณขยะพลาสติก โดยพร้อมจะหันไปเพิ่มการผลิตพลาสติกวิศวกรรม เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตในอนาคต เช่น ชิ้นส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ท่อ สายไฟเคเบิ้ล เป็นต้น พร้อมสร้างการตระหนักถึงการคืนกลับขยะอย่างไรให้กลับมาสร้างมูลค่าในทุกครั้งที่ใช้ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนและใช้อย่างเต็มคุณค่า โดย GC ได้นำนวัตกรรม Upcycling เข้าไปแก้ปัญหาขยะพลาสติก ด้วยการแปรรูปและใส่ไอเดีย สร้างสรรค์และดีไซน์ให้กลับมาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า ตั้งแต่สินค้าแฟชั่น ไลฟ์สไตล์ จนไปถึงสถาปัตยกรรม

นอกจากนี้ทางฝั่งพลาสติกที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอยู่ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ ภาชนะ ถุง และหลอด เป็นต้น หากเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกเหล่านั้นได้ทั้งหมด แล้วเราจะทำอย่างไร? ทาง GC จึงได้พัฒนา Bioplastic หรือพลาสติกที่ผลิตมาจากพืชและสามารถย่อยสลายได้ โดยเป้าหมายของ GC คือการพัฒนาประสิทธิภาพของ Bioplastic และขับเคลื่อนความต้องการในตลาดเพิ่มขึ้น

2. คุณหญิงทองทิพ รัตนะรัต
กรรมการมูลนิธิเพื่อสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
และกรรมการอำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

“เราต้องปฏิรูปการใช้ทรัพยากร เพื่อเพิ่มความสามารถในการสร้างความเจริญรุ่งเรือง โดยใช้ต้นทุนน้อยลง” บนเวที Symposium คุณหญิงทองทิพ ชี้ว่า “เศรษฐกิจหมุนเวียน เป็นอาวุธสำคัญที่เราจะใช้ในการปฏิวัติทรัพยากรครั้งนี้”

แนวทางเริ่มต้นตั้งแต่การปรับเปลี่ยนทัศนคติ และใช้แนวคิดเชิงนวัตกรรมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดจากสิ่งที่มีอยู่ โดยวิธีการหมุนเวียนนำกลับมาใช้ได้ใหม่นั้นจะยิ่งสร้างคุณค่าให้กับสิ่งนั้น

โดยกรอบความคิดที่ธุรกิจจะต้องคำนึงถึงเพื่อนำไปสู่การปฏิวัติทรัพยากรนั้น คุณหญิงทองทิพนำเสนอตั้งแต่การมี Building Block และระบบขั้นตอนการปฏิบัติที่เป็นมาตรฐาน ตั้งแต่แหล่งที่มาของผลิตภัณฑ์ การลดการสร้างของเสียและขยะ การทดแทนทรัพยากรธรรมชาติ (ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ใช้ปริมาณทรัพยากรน้อยลง) การใช้ประโยชน์สูงสุด (Obtimization) และการนำกลับมาใช้ใหม่โดยใช้การออกแบบ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่เป็นวงจร (หมุนเวียน)

โดยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เราได้นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น มากถึง 5 หมื่นล้านตันต่อปี มากเกินกว่าที่โลกจะรองรับได้ถึงกว่า 400 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นโลกจึงถึงจุดที่พลิกฟื้นไม่ได้อีกต่อไปแล้ว ทำให้เราจึงต้องปรับการใช้ทรัพยากรใหม่ให้ดีขึ้นกว่าเดิม

“หยุดการใช้ทรัพยากรที่มากเกินไป (Over-consumption) และลดสิ่งที่ก่อให้เกิดการผลิตขยะและของเสีย ซึ่งต้องเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการออกแบบ” เดิมทีเราอาจรู้จักแต่รีไซเคิล แต่ปัจจุบันต้องเริ่มต้นตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ กระบวนการผลิต ไปจนถึงในขั้นตอนการใช้ โดยใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้ามาเป็นคำตอบ

“ถ้าเราเริ่มในวันนี้ เราจะสามารถสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับคนของเรา โดยมีต้นทุนต่ำกว่า ใช้ทรัพยากรน้อยกว่า และมีส่วนทำให้โลกของเราน่าอยู่และยั่งยืนขึ้น”

3. Stuart Hawkins
Coca-Cola, Thailand

Coca-Cola เริ่มลงมือปฏิบัติตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน ที่ตั้งแต่ต้นปี 2018 ที่ผ่านมา โดยได้เปิดตัวโครงการ “World Without Wasted” หรือโลกที่ไม่มีขยะ โดยให้ขยะนำกลับมาเพิ่มคุณค่าได้ ซึ่งเป้าหมายใหญ่ของ Coca - Cola ในปี 2030 คือต้องการเก็บ และรีไซเคิล บรรจุภัณฑ์กระป๋องหรือขวด Coca-Cola ที่ขายไปให้ได้ทั้งหมด นอกจากนี้ยังมุ่งมั่นออกแบบให้บรรจุภัณฑ์ของสินค้า Coca - Cola สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ทั้งหมดภายในปี 2025 โดยได้เริ่มต้นแล้วในบางประเทศ อย่าง ยุโรป ละตินอเมริกา และเอเชีย เช่น ในประเทศออสเตรเลีย ขวดน้ำดื่ม Viva และขวดน้ำอัดลม Coca-cola นั้นทำจากพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ 100% โดยยุทธศาสตร์สำคัญของ Coca-cola ในทศวรรษข้างหน้าในเรื่อง Circular Economy ได้แก่ เรื่องของการออกแบบให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ เรื่องของการจัดเก็บขยะที่ใช้แล้วกลับมาทั้งหมด รวมถึงการสร้างร่วมมือให้เกิดขึ้นในทุกระดับ

4. Arthur Huang
Founder & Chief Executive Officer, Miniwiz, Taiwan

เจ้าของวลี “Trash is Sexy” กล่าวถึงเรื่องการแปรรูปขยะด้วยนวัตกรรม ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ จนถึงงานสถาปัตยกรรม หนึ่งในนวัตกรรมจาก Miniwiz คือ Trashpesso เครื่องอัดและบดขยะพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นชิ้นกลายเป็นแผ่น ผ่านกระบวนการลดขนาด ทำให้สะอาด และสร้างรูปทรงใหม่ให้กับวัสดุรีไซเคิล โดยเครื่องนี้ใช้พลังงานจากโซลาร์เซล ใช้พลังงานต่ำ และใช้น้ำน้อย สามารถพกพาเดินทางไปได้ทุกที่ เครื่องนี้ยังติดตั้ง Air Filter และ Water Filter ไว้ เพื่อไม่ให้ปล่อยสารพิษสู่น้ำและอากาศระหว่างกระบวนการขึ้นรูป นอกจากนี้ยังได้ร่วมทำงานกับองค์กรต่างๆ และเป็นส่วนหนึ่งของผู้นำขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนไปทั่วโลก

5. Lukas Hoex
Strategic Growth Manager, DSM Niaga, Netherlands

มันสมองของ DSM Niaga องค์กรชีววิทยาศาสตร์และวัสดุศาสตร์ระดับโลก ที่มุ่งขับเคลื่อน Circular Economy พร้อมทั้งรับหน้าที่ดูแลการตลาดให้กับ Niaga ธุรกิจใหม่มาแรงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศที่การรีไซเคิลเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงค์ชีวิต และประชากรของที่นี่ถูกปลูกฝังให้รู้จักการรีไซเคิลตั้งแต่เล็ก

ซึ่ง Niaga คือบริษัทที่รีดีไซน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มาจากการขยะหรือเศษวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพรม กระเบื้อง ฟูกที่นอน โดยใช้เทคโนโลยีที่ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องทำให้การรีไซเคิลไม่ได้เป็นแค่ กระบวนการหนึ่งในการผลิตแต่มันคืออุตสาหกรรมและส่งผลต่อการใช้ชีวิตของชาวเนเธอร์แลนด์มาก คอนเซปท์ “No End” เป็นการยืนยันได้ว่าแต่ละผลิตภัณฑ์จะสามารถนำกลับมาใช้และแปรรูปเกิดเป็นสิ่งใหม่ได้แบบไม่รู้จบ

ผลิตภัณฑ์จาก Niaga ตอบโจทย์ในด้านไลฟ์สไตล์และดีไซน์ รวมทั้งความยืดหยุ่นในการใช้งาน ถึงแม้ว่าวัสดุที่ใช้ในการทำหรือสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากมาจากขยะ แต่ก็มีความทนทาน แข็งแรง และเหมาะกับสภาพอากาศ ด้วยระบบการจัดการที่ดีตั้งแต่ต้นทางผนวกกับเทคโนโลยีที่พร้อมด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลและความร่วมมือของนักวิจัย และที่สำคัญที่สุดก็คือประชากรในประเทศ

6. คุณชเล วุทธานันท์
กรรมการผู้จัดการและผู้อำนวยการด้านการออกแบบ
แบรนด์ PASAYA บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด

ในขณะที่บริษัทสิ่งทอในประเทศไทยอย่าง PASAYA คุณชเล วุทธานันท์ ได้กล่าวถึงธุรกิจของ PASAYA ใน 10 ปีที่ผ่านมา พร้อมทั้งจุดประสงค์ขององค์กรที่เข้าไปสนับสนุนมูลนิธิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมที่เขามองว่าการทำธุรกิจ คืองานหนึ่งที่ทำให้ธุรกิจคงอยู่ แต่เราจะคืนให้สังคมอย่างไร การคืนให้แก่สังคมเป็นหน้าที่ของเจ้าของธุรกิจนั้นๆ

สิ่งที่ต้องยอมรับคือ การทำธุรกิจสิ่งทอในปลายทางแล้ว ก็ส่งผลกระทบบางอย่างต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เพราะปริมาณเส้นใยสังเคราะห์หรือไฟเบอร์ที่ต้องใช้ในการทำผ้าม่านหรือพรมแต่ละชิ้นแต่ละผืน นับว่ามีจำนวนมหาศาล ดังนั้นเขาจึงเล็งเห็นการ Re-Material ซึ่งสอดคล้องกับไอเดียของ Hoex และทำอย่างไรในผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีอายุการใช้งานนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมทั้งไม่ลืมที่จะหาเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับใช้เพื่อความปลอดภัยด้านสุขภาพของคนใช้ เป็นเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์นวัตกรรมการดีไซน์ในยุคนี้ได้ เรียกได้ว่าทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ PASAYA ปฏิบัติเป็นนโนบายขององค์กรมาโดยตลอด

7. คุณทวี อนันตรัตน์
กรรมการผู้จัดการ บริษัท เบสท์ โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

นำเสนอการนำวัตถุเหลือใช้ที่ได้จากธรรมชาติหรือการเกษตรมาทำเป็นไม้พลาสติกสังเคราะห์และนำไปทำเป็นโครงสร้างและสถาปัตยกรรมที่ดูสวยงาม เราแทบจะแยกไม่ออกเลยว่านี่คือแผ่นไม้ที่ผลิตมาจากเศษวัสดุเหลือใช้ ขณะเดียวกันในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์พลาสติก แน่นอนว่าพลาสติกยังเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตและเศรษฐกิจในมุมของมหาภาค "พลาสติกไม่ใช้ผู้ร้าย" หากเราเข้าใจและช่วยกันนำกลับเอามาใช้ใหม่อย่างเป็นรูปธรรม โดยคุณสมบัติของไม้พลาสติกสังเคราะห์นี้ก็จะมีคุณภาพแตกต่างกันไปตามประเภทของพลาสติกที่ถูกแยกก่อนผ่านกรรมวิธี และส่วนผสมอีกอย่างที่สำคัญมากก็คือเศษต่างๆ จากการทำเกษตรกรรม เช่น แกลบ ชานอ้อย หรือหญ้าป่าน เพราะแทนที่เอานำเศษเหล่านั้นไปเผาทำลายก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ คุณทวีกล่าวว่าเขาได้ศึกษาค้นขว้าจนพบสูตรที่ลงตัวในการทำให้ไม้เทียมนี้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
นักสมุทรศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางทะเลที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

แม้ปริมาณขยะมีเพียง 1 ใน 10 เท่านั้นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ ที่เหลือจมลงสู่ก้นบึ้งสู่พื้นทะเล และสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ในวันนี้ทางด้าน “Circular Living” แม้จะเป็นเพียงการลดปริมาณขยะเกิดใหม่ในท้องทะเล โดยไม่สามารถกำจัดกองขยะเก่าที่ทับทมสะสมใต้ท้องทะเลลงไปได้ แต่ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่เราต้องทำเพื่อให้สิ่งที่คาดการณ์ไว้ในปี 2050 ไม่เกิดขึ้นจริง นั่นคือประมาณขยะทั่วโลกมากกว่าประมาณปลาในทะเล

“พลาสติกร้ายกว่าก๊าซเรือนกระจกเสียอีก” ดร. ธรณ์กล่าว ทั้งยังได้แสดงถึงกราฟปริมาณขยะพลาสติกที่ขาดการจัดการอย่างถูกต้อง (Unmanaged plastic waste) ในประเทศต่างๆ ทั่วโลกนั้น จีนยังคงมาเป็นอันดับหนึ่งของประเทศที่น่าเป็นห่วงในด้านการจัดการขยะ รองลงมาคือประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประเทศไทยก็ติดอันดับ 1 ใน 10 ด้วย

ด้วยเหตุนี้ในประชุมสุดยอดอาเชียนครั้งที่ 34 (ASEAN SUMMIT) ในเดือนมิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา จึงเกิดความคืบหน้าสำคัญทางด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยในที่ประชุมได้รับรองปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วยการต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งยังเป็นการยอมรับด้วยว่านาโนพลาสติก หรือไมโครพลาสติกนั้นส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์และความปลอดภัยของอาหาร ดังนั้นในปัจจุบันนี้เรื่องของปัญหาขยะพลาสติกจึงไม่ใช่แค่เป็นกระแสที่ถูกนำมาพูดถึงเท่านั้น อีกทั้งในมิติคณะรัฐมนตรีก็ยังเห็นชอบให้แบนการใช้ถุง กล่อง และแก้วพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งในปี 2565 ปัญหาคือ Road Map นี้จะเป็นจริงได้หรือไม่ สิ่งสำคัญคือ องค์กรต่างๆ และประชาชนทุกคน ต้องร่วมมืออย่างจริงจัง

“Plastic isn’t the problem, It’s what we do with it” หรือ “ขยะไม่ใช่ผู้ร้าย แค่ต้องใช้อย่างคุ้มค่า” เป็นหนึ่งในประเด็นแนวคิดสำคัญของงานนี้

ที่มา: www.iameverything.co

Feature Stories

Feature Stories
25 June 2020
Wood Plastic Composite เฟอร์นิเจอร์ที่เพิ่มคุณค่าจากขยะ สู่วัสดุที่ใช้แทนไม้จริง ในโครงการ Upcycling Upstyling
Read More
Feature Stories
11 July 2019
From principles and practices…to logos that reflect the brand identity of “Upcycling by GC”
Read More
Feature Stories
07 June 2019
GC Wants Every Day to be World Oceans Day
Read More