08 August 2018

ความหมายของ Circular Economy

Share:

Circular Economy
เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยื่น

เมื่อก่อนนี้ หลายๆ คนอาจไม่ทันได้คิดว่า “ทรัพยากรนั้นมีอยู่อย่างจำกัด” แต่ครั้นเวลาผ่านไป วิกฤติการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นกับโลก มันก็ได้ย้ำเตือนให้หลายๆ คนหันกลับมาตระหนัก พร้อมกับให้ความสำคัญเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างจริงจังมากขึ้น และเพื่อเป็นการเยียวยาสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โลกที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกการดำเนินธุรกิจจึงได้สร้างสรรค์วิธีการที่เรียกว่า “Circular Economy” หรือ “ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ขึ้น ซึ่งนี่อาจเปรียบได้กับโซลูชั่นที่มาพร้อมความหวัง ซึ่งจะช่วยให้โลกที่เคยหมุนไปผิดทิศผิดทาง ได้กลับมาเดินหน้าสู่เส้นทางที่ถูกต้องและยั่งยืน

“Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” คืออะไร? แค่ชื่อ บางคนก็อาจสงสัยและสับสน แต่หากจะต้องกล่าวให้กระชับและเข้าใจง่ายที่สุด ก็ขออนุญาตอธิบายสั้นๆ เอาไว้อย่างนี้ว่า “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” นั้น คือวิธีการดำเนินธุรกิจแนวใหม่ที่คำนึงถึงผลกระทบตั้งแต่การเลือกใช้ทรัพยากร การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต การใช้ การจัดการของเสีย รวมถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ บนหลักการของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดการเกิดของเสียให้ได้มากที่สุด และตอบโจทย์การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่นยืน

ทั้งนี้ หากกล่าวให้ชัดขึ้น “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ก็มีความหมายถึงการดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจ ผ่านการคิดและไตร่ตรองมาแล้วทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมนั่นเอง

จากปัญหาของโลกที่สุ่มเสี่ยงกับต่อการเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤติเกี่ยวกับการขาดแคลนทรัพยากร รวมไปถึงปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่นับวันก็ดูจะหนักข้อขึ้น ทำให้ ณ ปัจจุบัน “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เปรียบได้กับเข็มทิศนำทางที่ถูกต้อง จนกลายเป็นเทรนด์การดำเนินธุรกิจของหลายๆ บริษัท ที่ต่างก็มีการนำมาปรับใช้กันมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมถึง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ด้วย

#หมุนเวียนเปลี่ยนโลก #เศรษฐกิจหมุนเวียน #ความหมายของเศรษฐกิจหมุนเวียน #การพัฒนาอย่างยั่งยืน #CircularEconomy #GC #เคมีที่เข้าถึงทุกความสุข #ChemistryForBetterLiving

บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC นับเป็นหนึ่งในองค์กรตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการประกอบกิจการที่เน้นเรื่อง “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เป็นอย่างดี โดยนอกเหนือจากการนำแนวคิดนี้มาปรับใช้แล้ว ทาง GC ยังได้ประยุกต์เรื่องดังกล่าวมาใช้เป็นพื้นฐานในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต การอุปโภคบริโภค รวมถึงการกำจัดขยะและของเสียจากผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย

ปัจจุบันแนวโน้มเกี่ยวกับ “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ดูจะแพร่กระจายและมีการนำไปปรับใช้กับแต่ละธุรกิจตามแห่งหนต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งในบทความที่จะนำเสนอต่อๆ ไป เราจะมาลงลึกในรายละเอียดกันว่า ที่สุดแล้ว “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” มีเป้าหมายอยู่ที่ใดกันแน่? และหลักการ รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ครบถ้วนกระบวนความของการเป็น “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” นั้น ได้แก่อะไรกันบ้าง?

Feature Stories

Feature Stories
30 July 2020
Pierro Panier ตะกร้าจักสานจากพลาสติกรีไซเคิล ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์แม่บ้านยุคใหม่
Read More
Feature Stories
01 July 2019
ผ่าแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน จากงาน "Circular Living Symposium 2019 : Upcycling Our Planet"
Read More
Feature Stories
01 September 2017
The “Fish Aggregating Device” project aims to create marine habitats
Read More