Feature Stories
Sustainable Financing : ลงทุนตอบโจทย์ ESG เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจยั่งยืน
ท่ามกลางความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของ Megatrends ส่งผลให้ธุรกิจต้องเร่งปรับตัว โดยหนึ่งใน Megatrends ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจมากคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Climate Change ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตและการบริโภค หลายองค์กรจึงหันมาให้ความใส่ใจในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแนวทาง ESG ที่มุ่งให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ ผ่านการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เช่น การทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Business) และคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Business) การดำเนินงานด้านพลังงานสะอาด (Clean Energy) หรือ การทำโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น โดยหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมให้ธุรกิจดำเนินงานดังกล่าวได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน คือ การจัดสรรเงินทุนตามแนวทาง การเงินเพื่อความยั่งยืน หรือ Sustainable Financing ซึ่งเป็นกลไกการจัดสรรเงินทุนเพื่อการดำเนินธุรกิจตามแนวคิด ESG
Sustainable Financing สำคัญอย่างไรต่อการดำเนินธุรกิจ?
เป็นที่ทราบกันดีว่า เทรนด์การลงทุนที่กำลังมาแรง คือ การลงทุนอย่างยั่งยืน โดยนักลงทุนต่างหันมาสนใจลงทุนในธุรกิจที่ดำเนินกิจการโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ควบคู่ไปกับพิจารณาผลประกอบการ ข้อมูลทางการเงิน เพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวและลดผลกระทบเชิงลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นธุรกิจต่างๆ จะมีศักยภาพในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้สำเร็จได้ในระยะยาวได้นั้น1 จำเป็นต้องมีเสถียรภาพทางการเงิน โดยอาศัยแนวคิด Sustainable Financing ในการจัดหาเงินทุน ซึ่งมีเครื่องมือทางการเงิน เช่น
- สัญญาเงินกู้ที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan: SLL)
- หุ้นกู้ที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability-Linked Bond: SLB)
- สัญญาเงินกู้เพื่อโครงการรักษาสิ่งแวดล้อม (Green Loan)
- หุ้นกู้เพื่อโครงการรักษาสิ่งแวดล้อม (Green Bond)
โดย SLL และ SLB จะกำหนดเงื่อนไขการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของอัตราดอกเบี้ยตามผลสำเร็จของตัวชี้วัด (Key Performance Indicators: KPI) และเป้าหมายด้านความยั่งยืน (Sustainability Performance Targets: SPT) ขณะที่ Green Loan และ Green Bond นั้น จะมีวัตถุประสงค์การกู้เงิน และใช้เงินที่ชัดเจน เพื่อนำไปปรับปรุง พัฒนา ส่งเสริมโครงการรักษาสิ่งแวดล้อม ทำให้การจัดหาเงินทุนแบบ Sustainable Financing มีข้อดีคือ การหาแหล่งเงินทุนที่สนับสนุนการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนั้นในกรณีของ SLL และ SLB ยังช่วยธุรกิจลดต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายลงได้หากประสบความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่ได้กำหนดไว้ด้วย
GC ตั้งเป้าสู่ Net Zero Company มุ่งสู่เคมีภัณฑ์มูลค่าสูง คาร์บอนต่ำ เป็น Green and Clean Business ที่นักลงทุนสนใจ
เมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา GC ตั้งเป้าหมาย “Together To Net Zero” เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050 พร้อมวางแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนผ่าน 3 เสาหลัก ประกอบด้วย 1.) Efficiency-driven เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และลดการปล่อยของเสีย 2.) Portfolio-driven ปรับ Portfolio การลงทุนสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Business) ธุรกิจสีเขียว (Green Business) คาร์บอนต่ำ (Low Carbon) และธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) 3.) Compensation-driven ดูดซับคาร์บอนจากธรรมชาติด้วยการปลูกป่า และค้นหาเทคโนโลยีดูดซับคาร์บอน โดยใช้เครื่องมือทางการเงินของ Sustainable Financing เช่น การจัดหาเงินกู้กับธนาคารพาณิชย์ แบบ SLL เป็นต้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมาย Together To Net Zero4
GC ดำเนินธุรกิจสอดรับกับ Megatrends และมีการลงทุนในกิจการต่างๆ ที่เป็น Green and Sustainable Business ซึ่งช่วยให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ควบคู่การลดก๊าซเรือนกระจก เช่น การเข้าซื้อกิจการบริษัท allnex ผู้นำด้านสารเคลือบ หรือ Coating Resins ระดับโลก5 โดยผลิตภัณฑ์ของ allnex ตอบโจทย์ความยั่งยืน ด้วยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง GC ยังขยายการลงทุนในธุรกิจเคมีภัณฑ์ชีวภาพเพื่อสิ่งแวดล้อม สร้างโรงงานพลาสติกชีวภาพ PLA แห่งที่ 2 แบบครบวงจร ร่วมกับ Cargill ในฐานะผู้ถือหุ้นของ NatureWorks5 ผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพอันดับหนึ่งของโลก เป็นต้น นอกจากนี้ ยังดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม เพื่อสร้างระบบบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจร และสร้างการตระหนักรู้ด้านการคัดแยกพลาสติกใช้แล้วให้เกิดขึ้นในสังคม เพื่อลดปัญหาขยะพลาสติก6 สำหรับโครงการด้านพลังงานสะอาด GC ร่วมกับ Total Energies ในการศึกษา และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Roof)7 และร่วมกับพันธมิตรจากต่างประเทศ ตั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ENVICCO มาตรฐานระดับโลก และใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีกำลังการผลิตเม็ดพลาสติก PCR PET และ PCR HDPE 45,000 ตัน/ปี8
จะเห็นว่า การดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับแนวคิด ESG ทำให้ GC เป็นธุรกิจยั่งยืน ที่คืนคุณค่าให้สิ่งแวดล้อมและสังคม อีกทั้งเป็น Green and Clean Business ที่นักลงทุนให้ความสนใจด้วย โดย Sustainable Financing ถือเป็นแนวคิดการลงทุน ที่จะช่วยจัดสรรเงินทุนมาสนับสนุนการดำเนินงานดังกล่าวให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้
Reference
1 แหล่งอ้างอิง: Sustainable Finance การเงินเพื่อความยั่งยืนที่ทั่วโลกเดินหน้าเต็มกำลัง กลไกสำคัญสู่อนาคตเศรษฐกิจที่เติบโตในวิกฤติ Climate Change. (2565). https://globalcompact-th.com/news/detail/1141
² แหล่งอ้างอิง: บทบาทภาคการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม. (2565). เว็บไซต์ https://www.bot.or.th/landscape/green/financial-sector/
3 แหล่งอ้างอิง: Sustainability-Linked Bond : ตราสารหนี้น้องใหม่ของไทย ตอบโจทย์เทรนด์รักษ์โลกเพื่อสังคมที่ยั่งยืน . (2565). เว็บไซต์ https://bit.ly/3TkLcKS
4 แหล่งอ้างอิง: GC เสริมทัพความแข็งแกร่งจับมือสถาบันการเงินสร้างความยั่งยืน. (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/th/newsroom/news/900
5 แหล่งอ้างอิง: PTTGC International (Netherlands) B.V. บริษัทย่อยของ GC ประกาศความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการ allnex (2565). เว็บไซต์ https://www.pttgcgroup.com/th/newsroom/news/1093
6 แหล่งอ้างอิง: GC และ Cargill ตอกย้ำผู้นำด้านความยั่งยืนระดับโลก สนับสนุนโมเดล BCG Economy สร้างโรงงานพลาสติกชีวภาพแบบครบวงจรแห่งใหม่ในประเทศไทย (2565). เว็บไซต์ https://www.pttgcgroup.com/th/newsroom/news/51
7 แหล่งอ้างอิง: YOUเทิร์น..แยกเพื่อให้ ตอบโจทย์เทรนด์โลก ช่วยสิ่งแวดล้อม. (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/th/newsroom/news/851
8 แหล่งอ้างอิง: GCS จับมือ TOTALENERGIES ติดตั้ง Solar Roof ผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์. (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/th/newsroom/news/879
9 แหล่งอ้างอิง: GC ปฏิวัติการใช้ทรัพยากรหมุนเวียนอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน. (2565). เว็บไซต์ https://sustainability.pttgcgroup.com/th/newsroom/news/896