24 November 2023

SDGs UPDATE 2023 ส่องความคืบหน้าการพัฒนาที่ยั่งยืน

Share:

เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) เป็นกรอบแผนการพัฒนาโดยสมาชิกของสหประชาชาติ 193 ประเทศ ตามรายงาน บรันด์ท์แลนด์ (Brundtland Report) ในปี 1987 ได้ระบุว่า SDGs เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการของคนในปัจจุบันโดยไม่ลิดรอนความสามารถของคนรุ่นหลัง ด้วยการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic growth) ความครอบคลุมทางสังคม (Social inclusion) และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม (Environmental protection) โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) 17 เป้าหมายหลัก และ 169 เป้าหมายย่อย รวมถึงมีการกำหนด 247 ตัวชี้วัด และจัดกลุ่ม SDGs ที่เชื่อมโยงกันใน 5 มิติ (5P) ได้แก่

  1. People การพัฒนาคน : ให้ความสำคัญกับการขจัดความยากจนและความหิวโหย และลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคม
  2. Planet สิ่งแวดล้อม : ให้ความสำคัญกับการปกป้องและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศเพื่อการอนาคตที่ยั่งยืน
  3. Prosperity เศรษฐกิจและความมั่งคั่ง : ส่งเสริมให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี และสอดคล้องกับธรรมชาติ
  4. Peace สันติภาพและความยุติธรรม : ยึดหลักการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีสังคมที่สงบสุข และไม่แบ่งแยก
  5. Partnership ความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนา : ความร่วมมือของทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน

สรุปสถานะ SDGs ทั่วโลก

เมื่อโลกกำลังเผชิญกับปัญหาสำคัญทั้งสภาพความอยู่ของมนุษย์ สิ่งแวดล้อม และสันติภาพ ส่งผลให้แนวทาง SDGs กลายเป็นบทบาทสำคัญในการคลี่คลายปัญหาต่าง ๆ จากเริ่มต้นมาจนถึงสถานการณ์ในปี 2023 ซึ่งเป็นครึ่งทางของเส้นทาง SDGs โดยสถานะ SDGs ทั้งสิ้น 17 ประเด็น ถึงแม้จะยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายใด ๆ แต่ก็มีความคืบหน้าในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

เป้าหมายที่ท้าทายสูง : มี 6 เป้าหมายที่อยู่ในสถานการณ์วิกฤต ได้แก่ SDG2 (ขจัดความหิวโหย) SDG3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) SDG11 (เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) SDG14 (ทรัพยากรทางทะเล) SDG15 (ระบบนิเวศบนบก) และ SDG16 (ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันเข้มแข็ง)

เป้าหมายที่ท้าทาย : มี 9 เป้าหมาย ได้แก่ SDG1 (ขจัดความยากจน) SDG5 (ความเท่าเทียมทางเพศ) SDG6 (น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล) SDG7 (พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้) SDG8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) SDG9 (โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม) SDG10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) SDG13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) และ SDG17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)

เป้าหมายที่ท้าทายบางส่วน : มี 2 เป้าหมายที่เข้าใกล้การบรรลุเป้าหมายมากที่สุด ได้แก่ SDG4 (การศึกษาที่มีคุณภาพ) และ SDG12 (การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน)

เป้าหมายไม่คืบหน้าเกินครึ่ง : มี 10 เป้าหมายที่ไม่มีความคืบหน้า ได้แก่ SDG1 (ขจัดความยากจน) SDG2 (ขจัดความหิวโหย) SDG4 (การศึกษาที่มีคุณภาพ) SDG6 (น้ำสะอาดและการสุขาภิบาล) SDG8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) SDG10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) SDG11 (เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน) SDG13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) SDG14 (ทรัพยากรทางทะเล) SDG15 (ระบบนิเวศบนบก) SDG16 (ความสงบสุข ยุติธรรมและสถาบันเข้มแข็ง) และ SDG17 (ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน)

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลสถานการณ์ความก้าวหน้าของ 169 เป้าหมายย่อยสรุปได้ว่า SDGs 67% ของเป้าหมายไม่มีความคืบหน้า และ 15% มีความถดถอย แต่เพียง 18% เท่านั้นที่มีทิศทางที่จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ภายในปี 2030

การจัดอันดับ SDGs INDEX 2023

การจัดอันดับ SDG Index ระดับโลกในปี 2023 มีประเทศที่ถูกจัดอันดับ 166 ประเทศ โดยประเทศที่ติด Top 5 อันดับแรก ประกอบด้วย อันดับ 1 ฟินแลนด์ 86.8 คะแนน อันดับ 2 สวีเดน 86.0 คะแนน อันดับ 3 เดนมาร์ก 85.7 คะแนน อันดับ 4 เยอรมนี 83.4 คะแนน และอันดับ 5 ออสเตรีย 82.3 คะแนน ตามลำดับ

ในส่วนของประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับ 43 ของโลก และเป็นอันดับ 3 ในเอเชีย รวมถึงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน เมื่อพิจารณา SDG พบว่าเป้าหมาย SDG1 และ SDG4 ได้บรรลุเป้าหมายแล้ว ในการเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ประเทศไทยยังครองอันดับ 1 เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน (2562-2566) เมื่อเทียบกับปี 2565 พบว่ามีเพียง 4 ประเทศเท่านั้นที่มีอันดับความก้าวหน้า ได้แก่ ประเทศไทย อินโดนีเซีย กัมพูชา และลาว

การประเมินความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์องค์กรกับเป้าหมาย SDGs

เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการสรรค์สร้างอนาคตที่เราต้องการให้แก่รุ่นต่อไป บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (GC) มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ(SDGs) โดยมีการประเมินความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ และการดำเนินงานธุรกิจ เพื่อให้เข้ากับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประจำทุกปีโดยกำหนด 3 เป้าหมายหลัก และ 2 เป้าหมายรอง ดังนี้

3 เป้าหมายหลัก ประกอบด้วย :

  1. SDG13 ดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในเชิงสิ่งแวดล้อมและสังคม
    GC วัดผลตลอดกระบวนการผลิตเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ โดยมีการกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing) การลงทุนในพลังงานสะอาด และปรับปรุงประสิทธิภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน อาทิ แพลตฟอร์ม YOUเทิร์น โครงการ Trashpresso โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด โครงการ Our Khung Bangkachao เป็นต้น
  2. SDG12 นำเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ในกลยุทธ์ทางธุรกิจ

    GC ตระหนักถึงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด จึงนำเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ทางธุรกิจและเป้าหมายด้านความยั่งยืน อาทิ โครงการ Our Kung Bangkachao โครงการ ThinkCycle Bank โครงการ Upcycling Upstyling และ GC Sustainable Living Symposium เป็นต้น

  3. SDG9 สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนผ่านนวัตกรรมเทคโนโลยี
    GC มุ่งมั่นขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนผ่านการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนานวัตกรรม อาทิ ผลิตภัณฑ์ Upcycling กระบวนการผลิตไบโอพลาสติก และ Plastic Composite Rebar เป็นต้น

2 เป้าหมายรอง ประกอบด้วย :

  1. SDG6 การจัดการน้ำอย่างมีความรับผิดชอบ
    GC มุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจด้วยการใช้น้ำอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีน้ำสะอาดไว้ใช้บริโภคและทำการผลิตในชุมชน ผ่านการดำเนินการโครงการด้านการจัดการน้ำอย่างเข้มข้น การบูรณาการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำ อาทิ โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด โครงการ Our Khung Bangkachao โครงการถังน้ำ InnoPlus และโครงการ 3Rs เป็นต้น
  2. SDG17 ส่งเสริมความร่วมมือด้านความยั่งยืน
    GC ส่งเสริมความร่วมมือด้านความยั่งยืนกับองค์กรชั้นนำต่าง ๆ โดยการยกระดับความรู้ และกำหนดแนวทางที่มีประสิทธิภาพซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของ GC พร้อมตอกย้ำวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนระดับโลก อาทิ โครงการ Upcycling the Oceans, Thailand โครงการ Luffala และโครงการเชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง

ผลการประเมินกลยุทธ์ขององค์กรกับเป้าหมาย SDGs

จากการประเมินความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ขององค์กร การดำเนินธุรกิจ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนประจำปีของ GC กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ซึ่งผลของการประเมินในปี 2565 สามารถสรุปได้ดังนี้

1. Climate Change Management

การบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตรงกับเป้าหมาย SDGs ได้แก่ SDG3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) SDG7 (พลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้) SDG8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) SDG9 (โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม) SDG12 (การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) และ SDG13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)

  • ลดการการใช้พลังงาน 1,440,848 กิกะจูล และลดค่าใช้จ่าย 471.60 ล้านบาท
  • ประสิทธิภาพการใช้พลังงานใน 10 พื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทฯ อยู่ในระดับชั้นนำ
  • บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่กำหนดไว้ (ขอบเขตที่ 1 และ 2) เท่ากับ 8.60 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
  • ลดปริมาณการดึงน้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ในกระบวนการผลิต 6.34 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 10.71 ของการใช้น้ำทั้งหมด

2. Innovation Management

การบริหารจัดการนวัตกรรม ตรงกับเป้าหมาย SDGs ได้แก่ SDG8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) SDG9 (โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรม และอุตสาหกรรม) และ SDG12 (การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน)

  • ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเป็นจํานวน 883 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.3 จองรายรับของปิโตรเคมีภัณฑ์ของบริษัทฯ
  • มีสัดส่วนจํานวนผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (HVP) คิดเป็นร้อยละ 64 ของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทั้งหมด
  • ร่วมลงทุนกับบริษัทสตาร์ทอัพและกองทุนด้านเทคโนโลยี (CVC) โดยได้เพิ่มการลงทุน เป็นกว่า 45 ล้านเหรียญสหรัฐ
  • ผลิตภัณฑ์ใหม่ 22 รายการ และผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 43 รายการ
  • กระบวนการผลิตใหม่ 12 รายการ และกระบวนการผลิตต้นแบบ 11 รายการ
  • ยื่นจดสิทธิบัตรใหม่ 9 รายการ
  • พลาสติกกว่า 13,000 ตัน ได้เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และอัพไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม สร้างมูลค่ากว่า 277 ล้านบาท

3. Occupational Health and Safety

อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตรงกับเป้าหมาย SDGs ได้แก่ SDG3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี)

  • ไม่มีเรื่องร้องเรียนด้านความปลอดภัย และการหยุดผลิตอย่างกะทันหันที่เกิดจากอุบัติเหตุ
  • อัตราการบาดเจ็บจากการทํางาน (TRIR) ของพนักงาน และผู้รับเหมาไม่เกิน 0.45 ราย ต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทํางาน
  • เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยแก่พนักงาน ผู้รับเหมา และคู่ค้าทางธุรกิจ

GC ให้ความสำคัญต่อการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) กับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ มาอย่างต่อเนื่อง โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกตามข้อตกลงสากลติดต่อกันเป็นเวลากว่า 12 ปี และได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในระดับสูงสุด (LEAD LEVEL) ของโลก ในฐานะองค์กรต้นแบบด้านความยั่งยืนจาก UN Global Compact

GC มุ่งมั่นเดินหน้าสร้างความยั่งยืนภายใต้สมดุลของเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม พร้อมยกระดับ คุณภาพชีวิตที่ดีของคนในสังคม ด้วยเจตนารมย์อันแน่วแน่ในการเป็น “Chemistry for Better Living เคมี..ที่เข้าถึงทุกความสุข”

ที่มา : SDG Index 2023 สถานการณ์โลก – อาเซียน – ไทยหลังผ่านมาครึ่งทาง
https://www.sdgmove.com/2023/06/23/sdg-updates-sustainable-development-report-sdg-index-2023/

ติดตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ของ GC เพิ่มเติมได้ที่ : https://sustainability.pttgcgroup.com/th/our-approach-and-sdgs/sustainability-development-goals-sdgs

Feature Stories

Feature Stories
07 February 2022
GC จับมือสวนพฤกษศาสตร์ระยอง มุ่งพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (low carbon destination) เส้นทางแห่งความสุขแห่งใหม่ของจังหวัดระยอง
Read More
Feature Stories
25 May 2020
เปลี่ยนเศษพลาสติกฟิล์มเป็น จี้ ยั่ง ยืน ยง ..เครื่องรางเพื่อชีวิตและโลกที่ยั่งยืน ในโครงการ Upcycling Upstyling
Read More
Feature Stories
17 June 2019
GC Provides Recycled PE iPad Cases Woven by Two Rayong Communities as Souvenirs for 2019 ASEAN Summit
Read More