Feature Stories
ความหมายของ Circular Economy
Circular Economy
เศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยื่น
เมื่อก่อนนี้ หลายๆ คนอาจไม่ทันได้คิดว่า “ทรัพยากรนั้นมีอยู่อย่างจำกัด” แต่ครั้นเวลาผ่านไป วิกฤติการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นกับโลก มันก็ได้ย้ำเตือนให้หลายๆ คนหันกลับมาตระหนัก พร้อมกับให้ความสำคัญเรื่องการใช้ทรัพยากรอย่างจริงจังมากขึ้น และเพื่อเป็นการเยียวยาสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โลกที่ขับเคลื่อนด้วยกลไกการดำเนินธุรกิจจึงได้สร้างสรรค์วิธีการที่เรียกว่า “Circular Economy” หรือ “ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน” ขึ้น ซึ่งนี่อาจเปรียบได้กับโซลูชั่นที่มาพร้อมความหวัง ซึ่งจะช่วยให้โลกที่เคยหมุนไปผิดทิศผิดทาง ได้กลับมาเดินหน้าสู่เส้นทางที่ถูกต้องและยั่งยืน
“Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” คืออะไร? แค่ชื่อ บางคนก็อาจสงสัยและสับสน แต่หากจะต้องกล่าวให้กระชับและเข้าใจง่ายที่สุด ก็ขออนุญาตอธิบายสั้นๆ เอาไว้อย่างนี้ว่า “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” นั้น คือวิธีการดำเนินธุรกิจแนวใหม่ที่คำนึงถึงผลกระทบตั้งแต่การเลือกใช้ทรัพยากร การออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต การใช้ การจัดการของเสีย รวมถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ บนหลักการของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และลดการเกิดของเสียให้ได้มากที่สุด และตอบโจทย์การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่นยืน
ทั้งนี้ หากกล่าวให้ชัดขึ้น “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ก็มีความหมายถึงการดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจ ผ่านการคิดและไตร่ตรองมาแล้วทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ควบคู่ไปกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมนั่นเอง
จากปัญหาของโลกที่สุ่มเสี่ยงกับต่อการเผชิญหน้ากับภาวะวิกฤติเกี่ยวกับการขาดแคลนทรัพยากร รวมไปถึงปัญหามลภาวะทางสิ่งแวดล้อมที่นับวันก็ดูจะหนักข้อขึ้น ทำให้ ณ ปัจจุบัน “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เปรียบได้กับเข็มทิศนำทางที่ถูกต้อง จนกลายเป็นเทรนด์การดำเนินธุรกิจของหลายๆ บริษัท ที่ต่างก็มีการนำมาปรับใช้กันมากมาย ซึ่งหนึ่งในนั้นก็รวมถึง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ด้วย
#หมุนเวียนเปลี่ยนโลก #เศรษฐกิจหมุนเวียน #ความหมายของเศรษฐกิจหมุนเวียน #การพัฒนาอย่างยั่งยืน #CircularEconomy #GC #เคมีที่เข้าถึงทุกความสุข #ChemistryForBetterLiving
บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC นับเป็นหนึ่งในองค์กรตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการประกอบกิจการที่เน้นเรื่อง “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เป็นอย่างดี โดยนอกเหนือจากการนำแนวคิดนี้มาปรับใช้แล้ว ทาง GC ยังได้ประยุกต์เรื่องดังกล่าวมาใช้เป็นพื้นฐานในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบผลิตภัณฑ์ การผลิต การอุปโภคบริโภค รวมถึงการกำจัดขยะและของเสียจากผลิตภัณฑ์อย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
ปัจจุบันแนวโน้มเกี่ยวกับ “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ดูจะแพร่กระจายและมีการนำไปปรับใช้กับแต่ละธุรกิจตามแห่งหนต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งในบทความที่จะนำเสนอต่อๆ ไป เราจะมาลงลึกในรายละเอียดกันว่า ที่สุดแล้ว “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” มีเป้าหมายอยู่ที่ใดกันแน่? และหลักการ รวมถึงองค์ประกอบต่างๆ เพื่อให้ครบถ้วนกระบวนความของการเป็น “Circular Economy” หรือ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” นั้น ได้แก่อะไรกันบ้าง?