การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ (Board Performance Assessment)

บริษัทฯ กำหนดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง เป็นประจำทุกปี โดยอาจพิจารณาจัดให้มีที่ปรึกษาภายนอกมาช่วยในการกำหนดแนวทาง และเสนอแนะประเด็นในการประเมินผลการปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมในทุก ๆ 3 ปี เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้พิจารณาทบทวนผลการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ในระหว่างปี อันจะนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยในปี 2565 บริษัทฯ ได้คัดเลือกที่ปรึกษาอิสระภายนอก (บริษัท อีวาย คอร์ปอเรท เซอร์วิสเซส จำกัด (EY)) เพื่อประเมินผลปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ประจำปี 2565 ตามแนวปฏิบัติของหลักการกำกับดูแล กิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (CG Code) ของสำนักงาน ก.ล.ต. รวมถึงเพื่อปรับปรุงคุณภาพของแบบประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งแบบคณะ แบบตนเอง และแบบไขว้ โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบรายบุคคล เปรียบเทียบกับผลคะแนนการประเมิน พร้อมทั้งจัดทำรายงานการ วิเคราะห์ผลประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง ติดตาม และพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งนี้ องค์ประกอบหลักในการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วย 8 ด้าน ดังนี้

โครงสร้างและการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ

โครงสร้างกลุ่มบริษัทฯ

พฤติกรรมและวัฒนธรรม

การกำกับดูแลหน่วยงานด้านการควบคุม

องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

ทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ

การอบรมและพัฒนาความรู้ความสามารถ

การกำกับดูแลการรายงาน การเปิดเผยข้อมูลและการประเมินผลการปฏิบัติงาน

ผลการประเมินของคณะกรรมการประจำปี (ทั้งคณะ) โดยที่ปรึกษาภายนอกในปี 2565

ร้อยละ

ซึ่งผลการประเมินนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณากำหนดค่าตอบแทนประจำปีของคณะกรรมการบริษัทฯ นอกเหนือจากผลการดำเนินงานของบริษัทฯ

ผลการประเมินของคณะกรรมการประจำปี 2565 ร้อยละ
การประเมินทั้งคณะ 98.1
การประเมินรายบุคคล (ประเมินตนเอง) 96.4
การประเมินแบบไขว้ 98.4

รายละเอียดการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ปรากฏในแบบ 56-1 One Report ประจำปี 2565 หน้า 135 หัวข้อ การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ และ หน้า 186-187 หัวข้อการประเมินผลการปฎิบัติงานของคณะกรรมการ

ดาวน์โหลด

โดยบริษัทฯ ได้รับผลคะแนนการประเมินทุกหัวข้อใน

ระดับดีเลิศ (Excellent)

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้เข้ารับการประเมินโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2565 (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies 2022: CGR) จากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ซึ่งหลักเกณฑ์ในการประเมินประกอบด้วยหัวข้อ

  • สิทธิของผู้ถือหุ้น
  • การปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน
  • การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสีย
  • การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส่
  • ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

โดยบริษัทฯ ได้รับผลคะแนนการประมเนทุกหัวข้อในระดับดีเลิศ (Excellent) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีช่วงคะแนนระหว่าง 90-100 คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ต่อเนื่องเป็นปีที่ 11

การกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัทฯ (Board of Director’s Remunerations)

บริษัทฯ กำหนดนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างเป็นธรรมและสมเหตุสมผลตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทนจะทำหน้าที่พิจารณาและทบทวนความเหมาะสมของค่าตอบแทนและการจ่ายโบนัสประจำปีสำหรับคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง ให้สอดคล้องกับผลการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ สภาวะเศรษฐกิจ และผลประกอบการของบริษัทฯ เปรียบเทียบกับผลสำรวจค่าตอบแทนกรรมการในกลุ่มอุตสาหกรรมและธุรกิจที่มีขนาดใกล้เคียงกัน รวมทั้งภาระหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ก่อนนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติค่าตอบแทนของกรรมการบริษัทฯ และกรรมการเฉพาะเรื่องเป็นประจำทุกปี

รายละเอียดการกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัทฯ ปรากฎในแบบ 56-1 One Report หน้า 167 หัวข้อค่าตอบแทนกรรมการ

ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทฯ

ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทฯ

(ข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566)

รายชื่อกรรมการ ค่าตอบแทนรายเดือนกรรมการ
(บาท)
เบี้ยประชุมกรรมการเฉพาะเรื่อง
(บาท/ครั้ง)
Short-Term Incentives Long-Term Incentives เงินบำนาญ อื่นๆ
เบี้ยประชุมกรรมการ (บาท/ครั้ง) กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน กรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน กรรมการบริหารความเสี่ยง
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ 62,500 50,000 - - - - - - - -
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ 50,000 40,000 56,250 - - - - - - -
นายปกรณ์ นิลประพันธ์ 50,000 40,000 45,000 56,250 - - - - - -
ศาสตราจารย์ สมคิด เลิศไพฑูรย์ 50,000 40,000 - - 56,260 - - - - -
นายกฤษฎา บุญราช 50,000 40,000 - - - 56,250 - - - -
นางวาทนันทน์ พีเทอร์สิค 50,000 40,000 45,000 - 45,000 - - - - -
นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ 50,000 40,000 - 45,000 - - - - - -
พลโท นิมิตต์ สุวรรณรัฐ 50,000 40,000 - 45,000 - - - - - -
นายสุรชัย อจลบุญ 50,000 40,000 - - 45,000 - - - - -
นายพชร อนันตศิลป์ 50,000 40,000 - - 45,000 - - - - -
นายชฎิล ชวนะลิขิกร 50,000 40,000 - - 45,000 - - - - -
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ 50,000 40,000 - - - 45,000 - - - -
นายนพดล ปิ่นสุภา 50,000 40,000 - - - 45,000 - - - -
นายเชิดชัย บุญชูช่วย 50,000 40,000 - - - 45,000 - - - -
นายคงกระพัน อินทรแจ้ง 50,000 40,000 - - - 45,000 - - - -

รายละเอียดการกำหนดค่าตอบแทนของคณะกรรมการบริษัทฯ ปรากฎในแบบ 56-1 One Report ประจำปี 2565 หน้า 190-191 หัวข้อค่าตอบแทนกรรมการ

ค่าตอบแทนคณะกรรมการบริษัทฯ

การพัฒนาความรู้เพิ่มเติมแก่คณะกรรมการบริษัทฯ

บริษัทฯ สนับสนุนให้กรรมการบริษัทฯ ทุกคนเข้ารับการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) และสถาบันอื่น ๆ อย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ให้แก่กรรมการและเพิ่มมุมมองความคิดที่เป็นประโยชน์มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจของบริษัทฯ โดยหลักสูตรสำคัญที่เป็นพื้นฐานในการปฏิบัติหน้าที่กรรมการบริษัทฯ ได้แก่ หลักสูตร Director Certification Program (DCP) Director Accreditation Program (DAP) และหลักสูตร Board that Make a Difference เป็นต้น รวมทั้งหลักสูตรอื่น ๆ ที่เป็นความชำนาญเฉพาะด้าน เช่น หลักสูตร Audit Committee Program (ACP) หลักสูตร Role of the Nomination and Governance Committee เป็นต้น โดยในปี 2563 บริษัทฯ ได้เชิญวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกและบริษัทชั้นนำต่าง ๆ มาบรรยายให้ความรู้ในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ในสถานการณ์ปัจจุบันอันซึ่งอาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ สามารถเตรียมความพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดอบรบในเรื่อง Digital Trend in Petrochemical Industry และ Petrochemical Outlook, Impact of COVID-19 and Across the Longer Term เป็นต้น รวมถึงการจัดให้มีการปฐมนิเทศให้แก่กรรมการฯ เข้าใหม่ทุกราย และให้กรรมการได้เยี่ยมชมพื้นที่ปฏิบัติงานในโรงงานของบริษัทฯ เพื่อได้รับทราบและเข้าใจในระบบการดำเนินงานและธุรกิจของบริษัทฯ ตลอดจนให้กรรมการได้เข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้มีประสบการณ์ที่หลากหลายในระดับประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้และสนับสนุนให้กรรมการได้นำความรู้มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ช่วยส่งเสริมและยกระดับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีอันเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทฯ ได้ดียิ่งขึ้น

อีกทั้ง บริษัท ฯ ยังจัดให้มีการปฐมนิเทศให้แก่กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งใหม่ (Board Orientation) และจัดให้กรรมการได้เยี่ยมชมพื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทฯ (Site Visit) และเข้าร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทฯ เพื่อให้คณะกรรมการได้รับทราบและเข้าใจในระบบการดำเนินงานและธุรกิจของบริษัทฯ รวมทั้งยังเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับผู้มีประสบการณ์ที่หลากหลายในระดับประเทศและระดับภูมิภาค ให้กรรมการได้นำความรู้มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กร ช่วยส่งเสริมและยกระดับความรู้ความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีอันเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการธุรกิจของบริษัทฯ ได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในปี 2565 บริษัทฯ ได้เชิญวิทยากรจากหน่วยงานภายนอกและบริษัทชั้นนำมาบรรยายให้ความรู้ในประเด็นสำคัญต่างๆ ในสถานการณ์ปัจจุบันอัน อาทิ Strategic Business Foresight โดยวิทยากรจากสมาคมส่งเสริม สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) เพื่อรับทราบแนวโน้ม และความท้าท้ายที่สำคัญในอนาคต (Key Trend & Challenge) โดยนำ Foresight Mindset และ Foresight Process มาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ระยะยาวของบริษัทฯ และหัวข้อ The Future of Decarbonization โดยวิทยากร จาก McKinsey เพื่อรับทราบทิศทางและแนวโน้มของ เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (CCUS) และไฮโดรเจนใน ระดับสากลและประเทศไทย (Global and Thailand Outlook)

รายละเอียดการพัฒนาความรู้เพิ่มเติมแก่คณะกรรมการบริษัทฯ ปรากฎในแบบ 56-1 One Report ประจำปี 2565 หน้า 185 หัวข้อการพัฒนาและอบรมของกรรมการ

การพัฒนาและอบรมของกรรมการ