วัฒนธรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
วัฒนธรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS Culture)
บริษัทฯ เสริมสร้างวัฒนธรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยภายในองค์กร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ “B-CAREs” ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นให้ทุกฝ่ายมีพฤติกรรมการทำงานอย่างปลอดภัย มีการประเมินความเสี่ยงและโอกาสการเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน รวมถึงการดำเนินกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้เกิดความเป็นผู้นำการบริหารจัดการความปลอดภัย (Management Safety Leadership Commitment) ของผู้บริหารแต่ละระดับ และการมีส่วนร่วมด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานทุกคน
ซึ่งครอบคลุม พนักงาน ผู้รับเหมา และคู่ค้าที่สำคัญ เช่น Management Safety and Reliability Walk, Management Safety Speech in Basic Safety Training, Safety Talk, Safety Walk and Observation (SWO) เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีการสื่อสารด้านความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน (Effective Tool Box Talk) ก่อนเริ่มงานทุกครั้ง รวมทั้งผู้ปฏิบัติงานสามารถหยุดทำงาน หากพบว่างานดังกล่าวมีความไม่ปลอดภัย
บริษัทฯ ให้ความสำคัญเกี่ยวกับด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจของพนักงาน โดยจัดทำแผนดูแลสุขภาพพนักงานตั้งแต่เริ่มเข้างานเพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล (Based Line Data) ด้านสุขภาพของพนักงาน และมีโปรแกรมการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อติดตามผลการตรวจสุขภาพของพนักงานเป็นประจำ รวมทั้งการตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงของพนักงานแต่ละกลุ่ม เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือก่อให้เกิดโรคจากการทำงาน (Occupational Health Illness)
ตัวอย่างโครงการสนับสนุนวัฒนธรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
โครงการ Contractor Safety Partnership
โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อยกระดับให้บริษัทผู้รับเหมาสร้างระบบการบริหารจัดการความปลอดภัยด้วยตนเอง พร้อมทั้งสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย (B-CAREs) ให้แก่บริษัทผู้รับเหมาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและผลักดันให้ผู้รับเหมาปฏิบัติงานสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของกลุ่มบริษัทฯ โดยมีประเมินความปลอดภัยและความเสี่ยงในการคัดเลือกบริษัทผู้รับเหมาผ่านขั้นตอนการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ดังนี้
โครงการมุ่งสร้างความปลอดภัยเชิงรุก
โครงการนี้ เป็นโครงการที่ช่วยพัฒนาศักยภาพของพนักงานด้านปฏิบัติการให้มีความรู้ และความตระหนักเรื่องความปลอดภัย เสถียรภาพ และสมรรถนะของเครื่องจักร ควบคู่กับการเรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีต (Lesson Learnt) ผ่านระบบ Incident-Based Learning ส่งผลให้พนักงานสามารถระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานที่รับผิดชอบ ตลอดจนสามารถป้องกัน แก้ไข และสื่อสารด้านความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานก่อนเริ่มงานทุกครั้ง รวมทั้งสามารถสั่งให้หยุดการทำงานได้ทันที ในกรณีที่พบเห็นเหตุการณ์ไม่ปลอดภัย ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะนำระบบการตัดสินใจเรื่องความปลอดภัย เสถียรภาพและสมรรถนะของเครื่องจักร ที่คำนึงถึงความรู้ความสามารถของบุคลากร หรือ Technical Authority มาใช้ทั่วทั้งองค์กร ซึ่งบริษัทฯ มีแนวทางในการส่งเสริมให้พนักงานและผู้รับเหมามีส่วนร่วมดูแลด้านความปลอดภัย ดังนี้
โครงการจัดทำกลยุทธ์ Zero Accident Strategy
บริษัทฯ ได้จัดทำกลยุทธ์ Zero Accident Strategy พร้อมทั้งจัดทำโครงการ 2021 B-CAREs Safety Program ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้แก่พนักงานให้สามารถติดตามและกำกับดูแลความปลอดภัยในองค์กรได้ด้วยตนเอง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านวัฒนธรรมความปลอดภัย ให้บรรลุเป้าหมายอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจากการทำงานเป็นศูนย์ ซึ่งประกอบไปด้วยความร่วมมือของผู้บริหาร พนักงาน และผู้รับเหมา
Leadership: จัดให้ผู้บริหารสื่อสารถึงสถิติความปลอดภัยในพื้นที่ทำงาน และแสดงออกถึงความเป็นผู้นำ (Felt Leadership) เพื่อป้องกันอุบัติเหตุในพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นประจำทุกเดือน
Ownership: สร้างความตระหนักในความเป็นเจ้าของพื้นที่ (Area Owner Excellence) และเจ้าของงาน (Job Owner Excellence) ตลอดจนสร้างความมุ่งมั่นด้านความปลอดภัยในการทำงาน (Safety Commitment) และมีการตรวจสอบและการพูดคุยเกี่ยวกับความปลอดภัยของเครื่องมือและผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงมีการรายงานเป็นประจำทุกวัน
Partnership: ส่งเสริมและผลักดันวัฒนธรรมความปลอดภัย B-CAREs ให้ผู้รับเหมาให้สามารถปฏิบัติงานสอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัยของบริษัท “กล้าเตือน” และ “กล้าหยุด” หากพบความเสี่ยง หรือความไม่ปลอดภัยขณะปฏิบัติงานในพื้นที่
โครงการ “Take Time to B-CAREs ให้เวลากับความปลอดภัย”
บริษัทฯ จัดทำโครงการ “Take Time to B-CAREs ให้เวลากับความปลอดภัย” ซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์ Zero Accident Strategy เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของเป้าหมาย Zero Accident และ TRIR ในระดับ 1st Quartile ตลอดจนสร้างเสริมวัฒนธรรมชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างต่อเนื่องในทุกภาคส่วน ซึ่งครอบคุลมทั้งผู้บริหาร (Leadership) พนักงาน (Ownership) และผู้รับเหมา (Partnership) ในทุกพื้นที่ปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ในทุก 90 วัน จะมีการดำเนินกิจกรรมเพื่อสื่อสารและแสดงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ตามกลยุทธ์ Safety in Line of Command นอกจากกิจกรรมนี้ จะมุ่งเน้นการให้เวลาและความสำคัญอย่างเต็มที่ในการดูแลความปลอดภัยและบรรลุเป้าหมาย Zero Accident ยังเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกัน (Common Shared Value) ของพนักงานและผู้รับเหมาทุกคน
