ประเด็นความยั่งยืน
กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการบริหารจัดการพลังงาน
ระดับผลกระทบ
Impact Materiality : สูงมาก
Financial Materiality : สูงมาก
Double Materiality : สูงมาก
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
นักลงทุน
ภาครัฐ
คู่ค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ
ผู้ถือหุ้น
ชุมชน

เป้าหมาย

ลดการใช้พลังงานสะสม (Resucion Energy Consumtion)

ล้านจิกะจูล ภายในปี 2573

เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทางเลือกในการดำเนินกิจกรรมหลักให้มากกว่าร้อยละ 7 ในปี 2030

ผลการดำเนินงานด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานภายในกลุ่มบริษัทฯ อยู่ในระดับชั้นนำเมื่อเทียบกับธุรกิจประเภทเดียวกันทั่วโลก (Top Quartile Performancein Benchmarking)

ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ (Challenges and Opportunities)

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก และได้ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง บริษัทฯ จึง

ได้จัดทำแผนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มุ่งเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต การบริหารจัดการพลังงาน และการอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนพิจารณาความเป็นไปได้ของการนำพลังงานทดแทนมาใช้

แนวทางการบริหารจัดการ (Management Approach) GRI 3-3 (2021), GRI 302-4 (2016)

กระบวนการจัดการพลังงาน (Energy Management Process)

บริษัทฯ มีการจัดการพลังงานที่เป็นเลิศ (GC Energy Excellence Roadmap) โดยทุกโรงงานของบริษัทฯ ได้รับการรับรองระบบการจัดการพลังงานตามมาตรฐาน ISO 50001:2018 จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ ซึ่งแสดงถึงการควบคุมดูแลรับผิดชอบการใช้พลังงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงาน และนำมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการปฏิบัติตามเงื่อนไข ข้อกำหนดต่างๆ ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

และจัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงานอย่างจริงจังเรื่อยมา ส่งผลให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานของบริษัทฯ อยู่ในระดับชั้นนำ และสามารถลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่อง

ผลการดำเนินงานการจัดการพลังงาน

ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโรงงานอยู่ในระดับชั้นนำ

(โรงงาน)

ผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

การลดการใช้พลังงานสะสม

(ล้านจิกะจูล)

ผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

สามารถดูรายละเอียดโครงการจัดการพลังงานโดดเด่นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติมได้ที่ GC Integrated Sustainability Report 2566 อาทิ

  • โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพหอกลั่น โดยนำเทคโนโลยีระบบควบคุม APC มาใช้ ส่งผลให้สมารถ ลดการใช้พลังงาน โดยยังคงได้ปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก๊าซเท่าเดิมหรือดีขึ้น
  • โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเมมเบรนขั้นสูง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการแยกในกระบวนการผลิต ในขั้นตอนการแยกสารในกระบวนการกลั่น ส่งผลให้ใช้พลังงานน้อยกว่ามากเมื่อเทียบกับการกลั่นปกติ
  • โครงการพลังงานทดแทน จากระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งแบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) และแบบลอยน้ำ
GC ISR 2566