บริษัทฯ ได้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานไทยและมาตรฐานแรงงานของสากลมาเป็นแนวทางการปฏิบัติต่อพนักงาน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงาน โดยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบบริหารจัดการมาตรฐานแรงงานในสถานประกอบกิจการ ที่เสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงานภายในองค์กร ซึ่งมีเป้าหมายด้านการกำกับดูแลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ และนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด ทั้งที่เกี่ยวกับสภาพการจ้างและสภาพการทำงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด สถานที่ทำงานที่มีความปลอดภัย เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการตรวจประเมินเพื่อขอรับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย (มรท.8001-2553) เป็นประจำทุก 3 ปี

ความมุ่งมั่นและการฝึกอบรมในการไม่เลือกปฏิบัติและการต่อต้านการคุกคาม

ทางบริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการให้โอกาสที่เท่าเทียมกันทั้งต่อพนักงาน ผู้รับเหมา และคู่ค้าของเรา โดยเป็นไปตามนโยบาย การไม่เลือกปฏิบัติและการต่อต้านการคุกคามของบริษัทฯ ซึ่งมีการระบุแนวทางปฏิบัติอย่างชัดเจนใน นโยบายสิทธิมนุษยชน นโยบายป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ นโยบายการรับข้อร้องเรียน และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานบริษัทฯ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและพยายามกำจัดพฤติกรรมใดๆ ที่ขัดกับค่านิยมของบริษัทฯ บริษัทฯ ป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นด้านเชื้อชาติ สัญชาติ สถานที่เกิด ชนชั้นทางสังคม ศาสนา ความทุพพลภาพ อายุ เพศ รสนิยมทางเพศ อัตลักษณ์ทางเพศ มุมมองทางการเมือง หรือความแตกต่างในด้านอื่นๆ และการต่อต้านการคุกคามทั้งทางวาจา ทางร่างกาย ทางสายตา รวมถึงการคุกคามทางเพศ ทางอำนาจ การคลอดบุตร หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความอับอายและทำลายศักดิ์ศรีของผู้อื่น (Explicit Statement Prohibiting Harassment: 1) Sexual Harassment 2) Non-Sexual Harassment)

ทั้งนี้ บริษัทฯ จัดให้มีการฝึกอบรมให้กับพนักงานทุกคนเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติและการคุกคามในที่ทำงาน (Trainings for All Employees on Discrimination and Harassment in the Workplace) เพื่อให้พนักงานสามารถระบุรูปแบบต่าง ๆ ของพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลือกปฏิบัติและการคุกคาม ไม่ว่าจะมีนัยยะทางเพศหรือไม่ก็ตาม และสามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดได้อย่างเหมาะสม

นโยบายสิทธิมนุษยชน
ดาวน์โหลด
นโยบายป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
ดาวน์โหลด
นโยบายการรับข้อร้องเรียน
ดาวน์โหลด

ขั้นตอนการสอบสวนข้อร้องเรียน และมาตรการทางวินัย
(Escalation Process and Collective & Disciplinary Actions)

บริษัทฯ จะไม่ทนต่อการเลือกปฏิบัติ หรือการคุกคามใดๆ (Zero Tolerance for Discrimination and Harassments) โดยบริษัทฯ จะสอบสวนข้อร้องเรียนอย่างยุติธรรมและตรวจสอบได้ ทั้งนี้บริษัทฯ มีการเปิดเผยแนวทางขั้นตอนการสอบสวนข้อร้องเรียนอย่างโปร่งใส ซึ่งผู้ร้องเรียนสามารถรายงานต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง และ/หรือผ่านช่องทางการร้องเรียน (Whistleblower Channel) บนเว็บไซต์บริษัทฯ เพื่อหยุดพฤติกรรมการคุกคามและการเลือกปฏิบัติ (Defined Escalation Process for Reporting Incidents)

ในกรณีที่เกิดพฤติกรรมการเลือกปฏิบัติและการคุกคาม บริษัทฯ มีมาตรการทางวินัย 5 ระดับ โดยจะพิจารณาจากเจตนา สภาพแวดล้อม ผลจากการกระทำความผิด หรือโอกาสจะเกิดผลดังกล่าว การให้ความร่วมมือในการทำงาน และคุณงามความดีในอดีต เป็นราย ๆ ไป โดยพนักงานอาจได้รับโทษประการใดประการหนึ่ง โดยไม่ต้องเรียงลำดับขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทฯดังนี้; (Corrective or Disciplinary Action Taken in Case of Discriminatory Behavior or Harassment)

สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการสอบสวนข้อร้องเรียน และมาตรการทางวินัย ได้จากนโยบายป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ นโยบายการรับข้อร้องเรียน และข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทฯ ว่าด้วยการบริหารงานบุคคลสำหรับพนักงานบริษัทฯ

จากความมุ่งมั่นในการไม่เลือกปฏิบัติและการต่อต้านการคุกคามที่กล่าวมาข้างต้น รวมถึงขั้นตอนการสอบสวนข้อร้องเรียน และมาตรการทางวินัยที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้บริษัทฯ ไม่มีกรณีข้อร้องเรียนด้านการเลือกปฏิบัติและการคุกคามที่ได้รับการยืนยันในปี 2565

จำนวนข้อร้องเรียนด้านการเลือกปฏิบัติและการคุกคามที่ได้รับการยืนยัน 2561 - 2565

Discrimination
0 / Times
Sexual Harassment
1 / Times
in 2018
Non-Sexual Harassment
0 / Times

ในปี 2561 ได้รับกรณีร้องเรียนที่ผ่านช่องทางการส่งข้อร้องเรียน 1 กรณี ได้รับการตรวจสอบเกี่ยวข้องกับการกระทำที่ไม่เหมาะสมจากหัวหน้างาน ซึ่งมีการสัมผัสทางร่างกาย ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มีการดำเนินการทางวินัย มีหนังสือเตือนอย่างเป็นทางการแก่ผู้กระทำความผิด และมีการจัดสรรให้ย้ายสถานที่ทำงานทันที

ความมุ่งมั่นด้านความหลากหลาย (Diversity Commitments)

บริษัทฯ ใส่ใจในประเด็นเกี่ยวกับความหลากหลายของพนักงานผ่านการจ้างงาน การพัฒนาศักยภาพ และการวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพให้แก่พนักงานอย่างเท่าเทียมและต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายที่จะเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพและมีโอกาสดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง โดยมีกระบวนการดำเนินงานที่โปร่งใสและชัดเจนในการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคนตามความสามารถที่เกี่ยวข้องกับลักษณะงาน และตามหลักการบริหารสายอาชีพของบริษัทฯ อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้มีการจ้างพนักงานทุพพลภาพและจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับพนักงานทุพพลภาพ อาทิ ทางลาด การขยายประตู

ความหลากหลายของพนักงาน

จำนวนของพนักงานเพศหญิงทั้งหมด

เป้าหมายพนักงานเพศหญิงปี 2565: 25%

เป้าหมายพนักงานเพศหญิงปี 2569: 27%

เพศหญิง

คน

เพศชาย

คน

จำนวนเพศหญิงในตำแหน่ง Management

(ร้อยละของจำนวน Management ทั้งหมด)

เป้าหมายพนักงานเพศหญิงปี 2565: 25%

เป้าหมายพนักงานเพศหญิงปี 2569: 31%

จำนวนเพศหญิงในตำแหน่ง Top Management

(ร้อยละของจำนวน Top Management ทั้งหมด)

เป้าหมายพนักงานเพศหญิงปี 2565: 20%

เป้าหมายพนักงานเพศหญิงปี 2569: 20%

จำนวนเพศหญิงในตำแหน่ง Junior Management

(ร้อยละของจำนวน Junior Management ทั้งหมด)

เป้าหมายพนักงานเพศหญิงปี 2565: 25%

เป้าหมายพนักงานเพศหญิงปี 2569: 32%

ร้อยละของจำนวนเพศหญิงในระดับ Management,ที่มีบทบาทในการสร้างรายได้ เช่น Sale, Marketing, Operation เป็นต้น

(ร้อยละของจำนวน Management ที่มีบทบาทในการสร้างรายได้ทั้งหมด)

เป้าหมายเพศหญิงปี 2565: 15%

เป้าหมายเพศหญิงปี 2569: 20%

ร้อยละของจำนวนเพศหญิงที่อยู่ในสายงานที่เกี่ยวข้องกับ STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์)

(ร้อยละของจำนวนพนักงานในสายงาน STEM ทั้งหมด)

เป้าหมายเพศหญิงปี 2565: 15%

เป้าหมายเพศหญิงปี 2569: 20%

ความเท่าเทียมของค่าตอบแทน

ระดับ อัตราส่วน (ค่าตอบแทนเฉลี่ยเพศหญิง:เพศชาย)
Executive level (base salary only) 0.84 : 1.00
Executive level (base salary only + other cash incentives) 0.93 : 1.00
Management level (base salary only) 0.85 : 1.00
Management level (base salary + other cash incentives) 0.91 : 1.00
Non-management level (base salary only) 1.07 : 1.00
All level (base salary) 0.86 : 1.00

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

GC Sustainability Performance Data

คณะกรรมการสวัสดิการ

แม้ว่าปัจจุบันบริษัทฯ ยังไม่มีการจัดตั้งสหภาพแรงงาน แต่บริษัทฯ ก็ไม่ได้ปิดกั้นการจัดตั้งสหภาพแรงงานหรือการเข้าเป็นสมาชิก อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้จัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการซึ่งมีฐานะเป็นกลไกอิสระ เพื่อให้พนักงานมีอำนาจต่อรองร่วมกัน โดยมีหน้าที่บริหารจัดการข้อกังวลของพนักงานที่เกี่ยวข้องกับ สวัสดิการ และสภาพแวดล้อมการทำงาน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจัดให้มีกระบวนการและช่องทางการร้องเรียน การกำหนดสิทธิประโยชน์ และการจัดการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมด้านแรงงานอย่างชัดเจน เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันแก่พนักงานทุกคน

พนักงานทุกคนมีสิทธิเสนอชื่อและเป็นผู้แทนในการสรรหาคณะกรรมการสวัสดิการ ซึ่งสมาชิกคณะกรรมการสวัสดิการจะได้รับการคัดเลือกจากกลุ่มพนักงานผู้อาสาเข้ามาเป็นตัวแทน รวมทั้งสิ้น 65 คน และสมาชิกมีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี โดยมีประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มปฏิบัติการเพื่อความเป็นเลิศ ทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการสวัสดิการ และจะมีการประชุมร่วมกันอย่างเป็นทางการทุกไตรมาส ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

คณะกรรมการสวัสดิการจะดำเนินการประชุมร่วมกับผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อหารือปัญหาหรือให้ข้อเสนอแนะ และกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมทั้งติดตามความก้าวหน้าและผลจากการดำเนินการแก้ไข เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานทุกคนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกันในด้านสุขภาพ สวัสดิการ ค่าตอบแทน และผลประโยชน์

ครอบคลุมพนักงาน ร้อยละ

หนึ่งในพันธกิจที่สำคัญที่สุดขององค์กรคาร์บอนต่ำ GC คือ การมุ่งสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันทั้งต่อพนักงาน ผู้รับเหมา และคู่ค้าของเรา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติ รวมถึงการคุกคามทางเพศ ร่วมกับการผลักดันองค์กรสู่การบรรลุเป้าหมายในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และโซลูชันที่ตอบโจทย์ Sustainable Living บนพื้นฐานของความยั่งยืนตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ Sustainability