โครงการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ
บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการลดการปล่อยมลพิษหลากหลายโครงการ เช่น การติดตั้งตัวกรองชีวภาพ (Bio-Filter) สำหรับการบำบัด VOCs จากโครงการนำเอทิลีนกลับมาใช้ใหม่ (Ethylene Recovery Project) โครงการปรับปรุงระบบกำจัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายในพื้นที่ท่าเทียบเรือและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ของโรงกลั่นน้ำมัน การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการระบบดูดกลับไอไฮโดรคาร์บอน (Vapor Recovery Unit: VRU) การติดตั้งตัวกรองชีวภาพเพื่อลดและควบคุม VOCs จากระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น รวมถึงโครงการที่สนับสนุนการยกเลิกใช้สารกลุ่มคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chloro Fluoro Carbon: CFC)
โครงการนำเอทิลีนกลับมาใช้ใหม่ (Ethylene Recovery Unit: ERU)
บริษัทฯ ติดตั้งหน่วยนำเอทิลีนกลับมาใช้ใหม่ เพื่อดึงสารไฮโดรคาร์บอน (เอทิลีน) ที่ปะปนอยู่ในก๊าซระบายทิ้ง จากระบบก๊าซหมุนเวียน (Cycle Gas Purge) กลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการผลิต ก่อนที่จะส่งไปเผากำจัดที่ Waste Heat Boiler ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นการดำเนินการที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ายิ่งขึ้น และลดปริมาณก๊าซระบายทิ้งที่จะต้องส่งเผากำจัด สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน อีกทั้งยังช่วยลดผลกระทบด้านคุณภาพอากาศที่เป็นข้อห่วงกังวลของชุมชนอีกด้วย
สนับสนุนงบประมาณ
ล้านบาท
ลดการปล่อยและรั่วซึมของ VOCs ได้
ร้อยละ
ลดจำนวนข้อร้องเรียนเรื่องมลพิษทางอากาศเหลือ
0
โครงการปรับปรุงระบบกำจัดสารอินทรีย์ระเหยง่ายในพื้นที่ท่าเทียบเรือและคลังเก็บผลิตภัณฑ์ของโรงกลั่นน้ำมัน
บริษัทฯ ควบคุมสาร VOCs และไอสารเบนซีนจากแหล่งกำเนิด บริเวณถังเก็บผลิตภัณฑ์และท่าเทียบเรือ รวมถึงกลิ่นน้ำมันเตา และ Cracker Bottom โดยออกแบบและติดตั้งระบบรวมรวบสาร VOCs ได้แก่ ท่อรับไอระเหย (Vent Line) อุปกรณ์ขนถ่ายสารปิโตรเลียม (Marine Loading Arm) ถังเก็บน้ำมันเตา และ Cracker Bottom ด้วยงบประมาณกว่า 887 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังดำเนินการอื่น ๆ เพื่อลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ ได้แก่
- กำหนดมาตรการให้หน่วยงานเคลื่อนย้ายสารในโรงกลั่นน้ำมัน (Oil Movement Unot) ไปกำจัด โดยไม่มีการระบายมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง
- ติดตั้งและเพิ่มประสิทธิภาพหอเผาเพื่อควบคุมการระเหยของสาร VOCs
- ส่งไอระเหยจากสาร VOCs ไปกำจัดที่หน่วยเผาไอระเหย (Vapor Combustion Unit: VCU) เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวน
สำหรับปี 2563 บริษัทฯ สามารถควบคุมสาร VOCs ในพื้นที่ท่าเทียบเรือโดยรอบหน่วยการผลิต ด้วยประสิทธิภาพสูงสุดที่ ร้อยละ 99.9 อีกทั้งยังไม่พบข้อร้องเรียนจากชุมชนและหน่วยงานภายนอกอีกด้วย


นอกเหนือจากโครงการข้างต้น บริษัทฯ ยังได้ประสานความร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี 5 นิคมฯ และ 1 ท่าเรือ ในพื้นที่มาบตาพุด เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการนำร่องสำหรับจัดการการระบายไอสารเบนซีนและ 1,3-บิวทาไดอีน (1,3-Butadiene) โดยใช้มาตรการ COP (Code of Practice) เพื่อช่วยแก้ปัญหาการระบายไอสารเบนซีนและ 1,3-บิวทาไดอีน (1,3-Butadiene) จากโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยที่สุดและต่ำกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังจัดทำบัญชีรายการสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs Inventory) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการโครงการลดการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายอีกด้วย
นอกจากนี้ บริษัทฯ ควบคุมการปล่อยก๊าซประเภทออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และก๊าซออกไซด์ของซัลเฟอร์ (SOx) จากกระบวนการผลิตตามมาตรฐานที่กำหนดในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) และกฎหมายไทยอย่างสม่ำเสมอ โดยบริษัทฯ จัดทำโครงการเพื่อตรวจ ติดตาม และเฝ้าระวังผลการปล่อย NOx และ SOx เช่น
- ใช้ระบบการตรวจวัดมลพิษทางอากาศแบบอัตโนมัติอย่างต่อเนื่อง (Continuous Emissions Monitoring System: CEMS) และติดตามคุณภาพอากาศโดยห้องปฏิบัติการภายนอกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นระยะ
- ปรับปรุงระบบกังหันโดยใช้ก๊าซ (Gas Turbines) และระบบการเผาไหม้ที่ลดการก่อตัวของก๊าซ NOx (Low NOx Burner) เพื่อลดมลพิษจาก NOx ที่ปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด
- จัดทำนโยบายในการเลือกใช้วัตถุดิบและเชื้อเพลิง ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
- ใช้เชื้อเพลิง และวัตถุดิบตั้งต้นที่มีปริมาณซัลเฟอร์ต่ำ เพื่อลดการปล่อย SOx จากการเผาไหม้
- ลดปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อลดปริมาณการปล่อย SOx
การยกเลิกใช้สารกลุ่มคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (Chloro Fluoro Carbon: CFC)
บริษัทฯ ปรับเปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็นชนิดเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Non-CFC) แทน โดยในปี 2563 บริษัทฯ ได้ปรับเปลี่ยนสารทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศภายในพื้นที่ปฏิบัติงานของกลุ่มบริษัทฯ ไปแล้ว ทั้งสิ้น 3,214 เครื่อง หรือ คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนเครื่องปรับอากาศทั้งหมด