โครงการความรับผิดชอบต่อสังคม
บริษัทฯ ดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและโครงการที่เป็นประโยชน์อื่นๆ ภายใต้ CSR Master Programs ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความสมดุลด้าน 2E1S และนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
โครงการและกิจกรรมเพื่อสังคมในปี 2566
2564
2565
2566
จำนวนกิจกรรมและโครงการเพื่อสังคม
โครงการ
จำนวนจังหวัดที่ได้เข้าไปดำเนินกิจกรรมและโครงการเพื่อสังคม
จังหวัด
จำนวนชุมชนที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม
ชุมชน
รูปแบบการลงทุนและบริจาคเพื่อสังคม | ปี 2564 (ล้านบาท) |
ปี 2565 (ล้านบาท) |
ปี 2566 (ล้านบาท) |
---|---|---|---|
บริจาคเงินสด | 302.22 | 94.98 | 77.35 |
บริจาคสิ่งของ | 78.18 | 26.57 | 24.69 |
ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ | 41.30 | 56.22 | 45.76 |
เวลาในการบริหารสังคมของพนักงานบริษัทฯ | 4.70 | 9.40 | 9.74 |
ผลลัพธ์จากกิจกรรมและโครงการเพื่อสังคม | ปี 2564 | ปี 2565 | ปี 2566 |
---|---|---|---|
จำนวนกิจกรรมและโครงการเพื่อสังคม | 217 โครงการ | 372 โครงการ | 96 โครงการ |
จำนวนจังหวัดที่ได้เข้าไปดำเนินกิจกรรมและโครงการเพื่อสังคม | 77 จังหวัด | 12 จังหวัด | 13 จังหวัด |
จำนวนชุมชนที่ได้รับการพัฒนาจากโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม | 88 ชุมชน | 88 ชุมชน | 88 ชุมชน |
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดลำดับความสำคัญของโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การแบ่งปัน และระบบนิเวศ โดยครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม
ด้านเศรษฐกิจ
ด้านสังคม
ด้านสิ่งแวดล้อม
คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคมทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างคุณค่าสูงสุดต่อสังคมและธุรกิจ
คำอธิบายความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมและการขับเคลื่อนทางธุรกิจ
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคม เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ รายได้และเศรษฐกิจรวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ภายใต้แนวคิดความเป็นอยู่อย่างพอเพียง (Self-Sufficiency) และยั่งยืน (Self-Sustainability) ทั้งนี้ บริษัทฯ มุ่งดำเนินโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมที่สนับสนุนการเติบโตทางธุรกิจของบริษัทฯ พร้อมกับพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อมอบคุณค่าในระยะยาวให้กับสังคม
ในปีที่ผ่านบริษัทฯ ร่วมกับหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานเอกชน นำพลาสติกที่ใช้แล้วมาสร้างมูลค่าเพิ่ม สร้างประโยชน์ให้กับสังคม มีการดำเนินโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาพื้นทางเดินอัพไซเคิล โครงการพัฒนาพื้นยางและเฟอร์นิเจอร์อัพไซเคิล สนามกีฬาลานสเก็ตน้ำแข็ง เพื่อพัฒนาพื้นที่สาธารณะประโยชน์ในชุมชน โครงการ Upcycling Plastic House สร้างบ้านจากวัสดุรีไซเคิล ส่งมอบให้กับสมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีในพระอุปถัมภ์ ภายใต้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งยังร่วมกับ AIS ส่งเสริมมหาวิทยาลัยสีเขียว กับโครงการ “Green University ทิ้ง เทิร์น ให้โลกจำ” ที่นำพลาสติกใช้แล้วและขยะอิเล็กทรอนิกส์ กลับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี สามารถลดปริมาณพลาสติกใช้แล้วประเภทขวด PET ใส ไปสู่หลุมฝังกลบได้กว่า 598,043 ขวด ลดก๊าซเรือนกระจกกว่า 12.33 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเท่ากับปริมาณการปลูกต้นไม้ 1,298 ต้น สำหรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ สามารถนำเก็บกลับเข้าสู่กระบวนการจัดการอย่างถูกวิธีได้ถึง 5,796 ชิ้น นอกจากนี้ บริษัทฯยังดำเนินโครงการ Community Waste Model อย่างต่อเนื่อง โดยนำ YOUเทิร์น Platform มาใช้จัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจร ร่วมกับชุมชน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
โครงการ Community Waste Model
บริษัทฯ ร่วมกับชุมชนในจังหวัดระยอง และขยายผลไปยังจังหวัดอื่นๆ ที่มีความพร้อมและมีศักยภาพ ดำเนินโครงการ Community Waste Model โดยนำ YOUเทิร์น Platform ซึ่งเป็นนวัตกรรมของบริษัทฯ ในการจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง (End to End Waste Management) เป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์และการบริโภคพลาสติก
ในปี 2566 โครงการ Community Waste Model ร่วมกับโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาและวิทยาลัยในพื้นที่ สามารถรวบรวมพลาสติกใช้แล้ว เข้าสู่ ENVICCO โรงงานรีไซเคิลพลาสติกมาตรฐานสากลของบริษัทฯ มากกว่า 220 ตัน ทำให้เกิดการจ้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชน ทำให้วิสาหกิจชุมชนมีรายได้มากกว่า 4 ล้านบาท ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้จัดตั้งศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิลชุมชน 7 แห่งในระยองนครปฐม สมุทรปราการ และชลบุรี และอยู่ระหว่างการจัดเตรียมแผนขยายผลโครงการฯ ไปสู่พื้นที่อื่นๆ
ตัวชี้วัดผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Business Benefit KPI)
- ขวดพลาสติกใช้แล้วของชุมชนมีคุณภาพดีทำให้ Yield การผลิตของบริษัท ENVICCO สูงขึ้นร้อยละ 15
- เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชุมชนและบริษัทฯ โดยวัดผลจากมูลค่าทางการประชาสัมพันธ์ (PR Value) 5,725,000 บาท
- เสริมสร้างขีดความสามารถด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรม
- เสริมสร้างการบรรลุเป้าหมายและภาพลักษณ์ด้านการเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
ตัวชี้วัดผลทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social / Environmental Benefit KPI)
1.
ผลลัพท์ทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เท่ากับ
2.
สร้างรายได้ให้ชุมชนจากการขายขยะเข้าสู่ระบบรีไซเคิลมากกว่า
ล้านบาท/ปี
3.
สามารถนำขวด PET/HDPE กลับมารีไซเคิลได้รวมทั้งหมดประมาณ
ตันในปี 2566
4.
ลดภาระค่ากำจัดขยะของหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นเช่น เทศบาลเมืองมาบตาพุด ได้ถึง
บาท/ปี
5.
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการลดการใช้พลาสติกผลิตใหม่ (Virgin Plastic) และการฝังกลบได้ประมาณ
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือเทียบเท่า การปลูกต้นไม้ใหญ่
ต้น เพื่อดูดซับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น
การแบ่งปัน
แบ่งปันความเชี่ยวชาญสู่สังคม และบรรลุการสร้างคุณค่าให้กับธุรกิจ
คำอธิบายความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมและการขับเคลื่อนทางธุรกิจ
โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทฯ มีส่วนช่วยในการสร้างความแข็งแรงให้กับองค์กร โดยการแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของบริษัทฯ และได้รับการยอมรับจากชุมชนและสังคม พร้อมกับได้รับความไว้วางใจจากผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ
โดยในปีที่ผ่านมีการดำเนินโครงการ อาทิ โครงการพัฒนาพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ระยองเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Destination) โครงการถังเผาถ่านรักษ์โลก โดยบริษัทฯ สนับสนุนถังเผาถ่านที่พัฒนาขึ้นมาจากถังขนาด 200 ลิตรจำนวน 7 ใบ และสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ของพนักงานร่วมกับชุมชนในการเผาถ่านไม้ให้มีคุณภาพ และลดมลพิษ ทั้งยังดำเนินโครงการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา (LUFFALA Community Enterprise) โดยร่วมกับพันธมิตรที่สำคัญส่งเสริมให้ความรู้กับชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
โครงการพัฒนาพื้นที่สวนพฤกษศาสตร์ระยองเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ
บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับสวนพฤกษศาสตร์ระยอง สังกัดองค์การสวนพฤกษศาสตร์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีหน้าที่หลักในการอนุรักษ์ทรัพยากรพรรณพืชในท้องถิ่นภาคตะวันออก และเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการด้านพฤกษศาสตร์ ดำเนินโครงการพัฒนาสวนพฤกษศาสตร์ระยองเป็นแหล่งท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ ผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น การพายเรือคายัคชมธรรมชาติ ซึ่งเรือคายัคส่วนหนึ่งที่ใช้ในปัจจุบันผลิตจากเม็ดพลาสติกของ GC นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการคัดแยกพลาสติกด้วยจุดรับพลาสติกสะอาด YOUเทิร์น เพื่อสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในคุณค่าของพลาสติก โดยพลาสติกเหล่านี้จะถูกนำกลับเข้าสู่ระบบ และสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ Upcycling ได้ต่อไป
ในปี 2566 บริษัทฯ ได้สนับสนุนการเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือที่ให้บริการชมทัศนียภาพในบึงสำนักใหญ่จำนวน 1 ลำ จากเดิมที่ใช้น้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิง ให้เป็นการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์ โดยตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2566 สามารถลดการใช้น้ำมันเบนซิน 308 ลิตร คิดเป็นเงิน 11,858 บาท ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 844 kgCO2eq เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ใหญ่ 37 ต้น ลดมลพิษทางเสียง จาก 82.4 dB เหลือ 65.1 dB และลดผลกระทบจากการรั่วซึมของน้ำมันเบนซินจากเครื่องยนต์เรือลงไปในบึงน้ำ ทั้งนี้ มีแผนที่จะปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์เรือเพิ่มเติมให้กับสวนพฤษศาสตร์ระยองในปีต่อไป นอกจากนี้ ยังได้จัดทำเสื้อชูชีพ Upcycling เพิ่มเติม สำหรับทดแทนเสื้อชูชีพในปัจจุบันซึ่งใช้มานานและบางส่วนชำรุด เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อนักท่องเที่ยวด้วย
โครงการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา (LUFFALA Community Enterprise)
บริษัทฯ ร่วมมือกับสำนักงานเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) และวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา พัฒนาชุดผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิว ผสมสารสกัดใบบัวบกที่สกัดจากใบบัวบกเพาะปลูกและควบคุมคุณภาพในโรงเรือนอัจฉริยะ EECi Smart Plant อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง ซึ่งควบคุมคุณภาพการเพาะปลูกเพื่อให้ได้พืชสมุนไพรที่มีสารสำคัญสูง (Active Ingredient) ทำให้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ คืนความชุ่มชื้น กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ช่วยให้ผิวดูมีสุขภาพดี เพื่อยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพผิวที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคในระดับสากล ยกระดับการสร้างงานและรายได้ให้แก่ชุมชน (Decent Work and Economic Growth) อีกทั้ง บริษัทฯ ยังช่วยให้คำปรึกษากับชุมชนด้านการตลาด ด้านการผลิต และการทำบัญชี
ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้พัฒนาโครงการร่วมกับวิสาหกิจชุมชนลุฟฟาลา ชุมชนหนองแฟบ และพันธมิตรกลุ่มเกษตรอินทรีย์หอมมะหาด ชุมชนบ้านเขาห้วยมะหาด พัฒนาผลิตภัณฑ์ LUFFALA Room Diffuser: Recreation Series น้ำมันหอมระเหยปรับอากาศ ซึ่งมีการคำนึงถึงความยั่งยืนและความเชื่อมโยงในมิติของสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน (Social Economy) โดยเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำในการส่งเสริมการปลูกสมุนไพร การควบคุมคุณภาพการเพาะปลูกด้วยแนวคิด Smart Farming ไปจนถึงกระบวนการปลายน้ำในการต่อยอดการสกัดน้ำมันหอมระเหย นำมาผสานเข้ากับนวัตกรรมตัวสารทำละลายจากธรรมชาติ (Green Solvent) ของกลุ่มบริษัทฯ และปรุงกลิ่นจนเป็นเอกลักษณ์ในแบบฉบับของลุฟฟาลา
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้พัฒนาโครงการร่วมกับวิสาหกิจชุมชนลุฟฟาลา ชุมชนหนองแฟบ และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (Nanotec) พัฒนาชุดผลิตภัณฑ์ LUFFALA Travel Set ที่มีส่วนผสมของสารลดแรงตึงผิวชีวภาพ (Bio Surfactant) วัตถุดิบรักษ์โลก และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทฯ นำมาผสานกับคุณค่าจากธรรมชาติจากสารสกัดใบบัวบกและผักบุ้งทะเล พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์จำนวน 3 ชนิด ได้แก่ Hand Wash, Body Wash และ Body Lotion ซึ่งมีการคำนึงถึงความยั่งยืนและความเชื่อมโยงในมิติของสิ่งแวดล้อม ชุมชน สังคม และเศรษฐกิจเข้าด้วยกัน (Social Economy) รวมถึงส่งเสริมการ Upcycling โดยการผลิต Green Product ใช้บรรจุภัณฑ์กระเป๋าผ้า และขวด PCR PET/ PCR HDPE นับเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมไปได้พร้อมๆ กัน
จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้ในปีที่ผ่านมา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา ได้รับรางวัลผลิตภัณฑ์ Body Lotion ยอดเยี่ยม และรางวัล EEC Select 2023 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์จากสารสกัดใบบัวบก
รายได้จากการดำเนินงานโครงการ LUFFALA
ปี | สร้างรายได้ให้ชุมชน | กำไรของ LUFFALA |
---|---|---|
2563 | 1,481,991 บาท | 189,487 บาท |
2564 | 3,986,122 บาท | 730,201 บาท |
2565 | 2,510,324 บาท | 558,511 บาท |
2566 | 2,030,035 บาท | 519,808 บาท |
ตัวชี้วัดผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Business Benefit KPI)
- แสดงจุดยืนในการขับเคลื่อนการสร้างคุณค่าทางธุรกิจร่วมกันกับสังคม
- เป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับบริษัทฯ ในการเป็นผู้นำด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
- สร้างรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากโครงการกว่า 2,030,035 บาท
ตัวชี้วัดผลประโยชน์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social / Environmental Benefit KPI)
1.
ผลลัพธ์ทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เท่ากับ
2.
สร้างรายได้ให้กับชุมชนและวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดระยอง กว่า
บาท/ปี
ระบบนิเวศ
พัฒนาความยั่งยืนของระบบนิเวศ เพื่อชดเชยผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
คำอธิบายความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบความรับผิดชอบต่อสังคมและการขับเคลื่อนทางธุรกิจ
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับวิธีการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการมีระบบนิเวศที่ยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) โดยดำเนินโครงการเพื่อฟื้นฟูพื้นที่ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพในจังหวัดระยอง ซึ่งเป็นพื้นที่หลักของที่ตั้งพื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทฯ
โครงการ GC รวมพลังรักษ์น้ำ
โครงการ GC รวมพลังรักษ์น้ำ เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ ภาครัฐ สถาบันการศึกษา และชุมชนในพื้นที่จังหวัดระยองมาตั้งแต่ปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งในพื้นที่ชุมชน และช่วยสนับสนุนให้ชุมชนมีน้ำสะอาดสำหรับอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ ตลอดจนสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์แหล่งน้ำและใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ซึ่งกิจกรรมที่ได้ดำเนินงาน ประกอบด้วย
- การสร้างแนวป้องกันตลิ่งพังด้วยกระสอบพลาสติกแบบมีปีก เพื่อลดการกัดเซาะตลิ่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ (พื้นที่ดำเนินงาน ได้แก่ คลองตายาย ชุมชนเจริญพัฒนา)
- การสร้างฝายกักเก็บน้ำ-ฝายดักตะกอน ด้วยกระสอบพลาสติกแบบมีปีก เพื่อกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ประโยชน์ในช่วงฤดูแล้ง ลดปัญหาตะกอนดินสะสมในลำน้ำ ส่งผลให้ลำน้ำมีความลึกมากพอที่จะรับน้ำในช่วงฤดูฝนและช่วยลดค่าใช้จ่ายต่างๆ อาทิ ค่าขุดลอกคลอง และค่าน้ำสำหรับการอุปโภคและการเกษตร (พื้นที่ดำเนินงาน ได้แก่ คลองหลังโรงเรียนบ้านเขาห้วยมะหาด และลำน้ำเหนือวัดซอยคีรี)
- การสรางฝายชะลอน้ำด้วยวัสดุธรรมชาติในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่จำนวน 11 ฝาย สำหรับเป็นแหล่งน้ำและอาหารของสัตว์ป่า หลังจากดำเนินการแล้วเสร็จ พบร่องรอยช้างป่าเข้ามาหากินใกล้บริเวณฝายชะลอน้ำ (พื้นที่ดำเนินงาน ได้แก่ อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง)
- การสนับสนุนระบบน้ำดื่มสะอาดให้โรงเรียนที่ขาดแคลนในจังหวัดระยอง โดยได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis) พร้อมด้วยถังน้ำ InnoPlus เพื่อให้นักเรียนได้ดื่มน้ำที่สะอาดอย่างเพียงพอ และประหยัดเงินในการซื้อน้ำขวด ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2561 จนถึงปัจจุบัน บริษัทฯ ได้สนับสนุนระบบน้ำดื่มสะอาดให้แก่โรงเรียนจำนวน 5 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ โรงเรียนบ้านตะพุนทองและโรงเรียนบ้านยายจั่น อำเภอเมืองระยอง โรงเรียนบ้านคลองยายเมือง อำเภอบ้านค่าย โรงเรียนบ้านเขาตาอิ๋น อำเภอวังจันทร์ และโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 3 อำเภอนิคมพัฒนา
- การจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม ภัยแล้ง และน้ำท่วมขัง ให้แก่เกษตรกรชาวสวน ถือเป็นการช่วยสร้างความมั่นคงของทรัพยากรน้ำให้แก่พื้นที่ โดยใช้หลักให้ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ ทั้งนี้ ในปี 2563 – 2565 พนักงานจิตอาสาของบริษัทฯ ร่วมกับเทศบาลเมืองมาบตาพุดและชุมชน ได้มีการจัดทำธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่การเกษตรของชุมชนกรอกยายชาและชุมชนหนองแตงเม จังหวัดระยอง เป็นพื้นที่นำร่อง จำนวนทั้งสิ้น 20 จุด ครอบคลุม 17 สวน และในปี 2565 โครงการธนาคารน้ำใต้ดินยังได้รับรางวัล COMMUNITAS AWARDS จากประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเลิศด้านการรับผิดชอบต่อสังคม สาขาจริยธรรมและความรับผิดชอบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน อีกด้วย
ตัวชี้วัดผลประโยชน์ทางธุรกิจ (Business Benefit KPI)
- เพิ่มมูลค่าทางการประชาสัมพันธ์ (PR Value) ของบริษัทฯ 290,000 บาท
- สร้างความเชื่อมั่นให้ชุมชน และลดความขัดแย้งด้านการจัดการน้ำระหว่างชุมชนกับบริษัทฯ
- หลีกเลี่ยงการหยุดชะงักของกระบวนการผลิตจากการขาดแคลนน้ำ
ตัวชี้วัดผลประโยชน์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social / Environmental Benefit KPI)
1.
ผลลัพธ์ทางสังคมจากการลงทุน (SROI) เท่ากับ
2.
ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิดช่วยกักเก็บน้ำฝนลงสู่ใต้ดินและแผ่กระจายไปยังบ่อผิวดิน/บ่อบาดาล ช่วยให้สวนมีน้ำใช้สำหรับทำการเกษตรตลอดทั้งปีเป็นปริมาณ
ลิตร
คิดเป็นมูลค่า 126,200 บาท/ปี (อ้างอิงราคาน้ำประปาเฉลี่ยของปี 2565 ราคาลิตรละ 0.02412 บาท)
3.
โรงเรียนมีน้ำดื่มสะอาด และช่วยนักเรียนประหยัดค่าใช้จ่ายจากการซื้อน้ำขวดได้ 233,060 ลิตร/ปี คิดเป็นเงิน
บาท