GRI 2-12 (2021) GRI 2-13 (2021)

โครงสร้างการบริหารความเสี่ยง (Risk Governance)

บริษัทฯ มีโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับองค์กร ระดับกลุ่มธุรกิจ/สายงาน และระดับปฏิบัติการ โดยบริษัทฯ บริหารความเสี่ยงระดับองค์กรผ่านคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk Management Committee: RMC) ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ ให้ทำหน้าที่กำกับแนวทางการบริหารความเสี่ยงผ่านการกำหนดนโยบาย การบริหารความเสี่ยง ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) และระดับความเบี่ยงเบนความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ (Risk Tolerance) และกรอบการบริหารความเสี่ยง ตลอดจนทำหน้าที่ในการติดตามความก้าวหน้า ให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง ทั้งนี้ในปี 2565 คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงได้ปฏิบัติหน้าที่ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่ระบุไว้ในกฎบัตรฯ รวมถึงติดตามการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร ผ่านการประชุมรวมทั้งสิ้น 7 ครั้ง และตามที่คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมาย พร้อมทั้งรายงานการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นรายไตรมาส และสรุปเสนอต่อผู้ถือหุ้นในแบบ 56-1 One Report

โดยมีคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร (Enterprise Risk Management Committee: ERMC) อันประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงจากสายงานต่าง ๆ เป็นกรรมการ มีหน้าที่พิจารณา ติดตามการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กรอย่างสม่ำเสมอตามนโยบาย และกรอบการบริหารความเสี่ยงที่ได้รับจากคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยให้ความสำคัญกับสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้ารวมทั้งดูแล ให้มีการระบุความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยงโดยการประเมินผลกระทบและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง กำหนดวิธีการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ติดตามและประเมินประสิทธิผลของการบริหารความเสี่ยง รวมไปถึงดูแลให้กิจการประกอบธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย และมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

คณะกรรมการตรวจสอบรับทราบข้อมูลการบริหารความเสี่ยงองค์กรจากรายงานการบริหารความเสี่ยงที่นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และสอบทานการบริหารความเสี่ยงจากการรายงานการตรวจสอบภายในของสายงานตรวจสอบภายใน เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทฯ ได้ระบุประเด็นความเสี่ยงสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีผู้รับผิดชอบ และมีมาตรการจัดการความเสี่ยงอย่างเหมาะสม เพียงพอ และครอบคลุมทุกประเด็นความเสี่ยงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจัดตั้งคณะกรรมการ Value Chain Management Committee (VCM) ให้มีหน้าที่ติดตามสถานการณ์ตลาดอย่างใกล้ชิดเป็นประจำทุกสัปดาห์ และให้แนวทางในการบริหารความเสี่ยงด้านวัตถุดิบ ความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ให้เป็นไปตามกรอบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ

สำหรับในระดับกลุ่มธุรกิจ/ สายงาน การบริหารความเสี่ยงถือเป็นวาระปกติของแต่ละหน่วยงาน เพื่อติดตามและตรวจสอบความเสี่ยงและความคืบหน้าของมาตรการลดความเสี่ยงนั้นๆ และบริษัทฯ ได้กำหนดให้ทุกหน่วยงานทำการประเมินความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในด้วยตนเองผ่านเครื่องมือ Control Self-Assessment (CSA) และ Operational Risk Management (ORM) สำหรับการควบคุมความเสี่ยงระดับปฏิบัติการ หรือระดับกระบวนการ

กฎบัตรคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
ดาวน์โหลด
บทบาทหน้าที่ คณะจัดการ
ดาวน์โหลด
บทบาทหน้าที่ คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับองค์กร
ดาวน์โหลด
บทบาทหน้าที่ คณะกรรมการ Value Chain Management (VCM)
ดาวน์โหลด
บทบาทหน้าที่ หน่วยงานบริหารความเสี่ยงองค์กรและระบบการควบคุมภายใน
ดาวน์โหลด
บทบาทหน้าที่ ผู้จัดการส่วน GRC (DM GRC)
ดาวน์โหลด
บทบาทหน้าที่ Risk Coordinator
ดาวน์โหลด
บทบาทหน้าที่ Risk Owner Head และ Risk Owner
ดาวน์โหลด