ประเด็นความยั่งยืน
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ระดับผลกระทบ
สูง
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
พนักงาน
คู่ค้าและหุ้นส่วนทางธุรกิจ
ชุมชน

เป้าหมาย

  • ไม่มีเรื่องร้องเรียนด้านความปลอดภัย และการหยุดผลิตอย่างกะทันหันที่เกิดจากอุบัติเหตุ

  • มุ่งสู่การเป็น Zero Accident Organization

  • อัตราความถี่ของการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR) เป็น 0

  • อัตราการบาดเจ็บจากการทำงาน (Total Recordable Injury Rate: TRIR) ของพนักงาน และผู้รับเหมาน้อยกว่า 0.35 กรณีต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน ภายในปี 2570

ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ (Challenges and Opportunities)

ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยถือเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดประเด็นหนึ่งในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ การบริหารจัดการความปลอดภัยที่ไม่เหมาะสมอาจจะส่งผลต่อการหยุดชะงักของกระบวนการผลิต และอาจส่งผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกับการทำงานของผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย ทั้งนี้ การบริหารความปลอดภัยถือเป็นการสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งที่ทำให้บริษัทฯ ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน โดยบริษัทฯ มีการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับกระบวนการทำงาน รวมถึงปลูกฝังวัฒนธรรมและการบริหารความปลอดภัยทั้งในกระบวนการผลิต (Process Safety Management) ควบคู่กับความปลอดภัยของบุคคล (Personal Safety Management) และอาชีวอนามัย (Occupational Health) เพื่อสร้างความมั่นใจว่าพนักงานและผู้รับเหมาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย ตลอดจนลดปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อพนักงานและผู้รับเหมา

เหตุผลและผลกระทบทางธุรกิจ (Business Case, Business Impact: Risk/Cost/Revenue) / กลยุทธ์และการจัดการ (Business Strategies) ดูรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ GC Integrated Sustainability Report 2566 : คลิก

แนวทางการบริหารจัดการ (Management Approach) GRI 3-3 (2021)

ความมุ่งมั่น (Commitment)

บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ เรื่องร้องเรียน และการหยุดผลิตอย่างกะทันหัน (Zero Incident, Zero Complaint, Zero Unplanned Shutdown: Zero ICU) และมีการปฏิบัติการที่เป็นเลิศ (Operational Excellence) โดยตระหนักและคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อการดำเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมดเป็นสำคัญ ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการนำระบบบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยรวมถึงนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อให้บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบต่างๆ และมาตรฐานทั้งในระดับประเทศและระดับโลก พร้อมทั้งพัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงและดียิ่งขึ้นไปอยู่เสมอ เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรต้นแบบด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

การบริหารจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (OHS Management) GRI 403-1 (2018)

บริษัทฯ กำหนดนโยบายด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และความต่อเนื่องทางธุรกิจ รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างและแนวปฏิบัติด้านการจัดการความปลอดภัยที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับการบริหารจัดการที่เป็นเลิศของบริษัทฯ (GC Management System: GCMS) มาตรฐานความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (Process Safety Management: PSM) ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา (Contractor Safety Management: CSM) และมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล ตลอดจนเสริมสร้างความตระหนักถึงวัฒนธรรมอาชีวอนามัยและความปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกองค์กรตลอดห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมถึงการประเมินคู่ค้าของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังจัดทำแผนดำเนินงานเพื่อเตรียมรับมือสถานการณ์ในภาวะฉุกเฉินที่อาจมีผลต่อความปลอดภัยและการดำเนินธุรกิจ (Business Continuity Management: BCM) เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของบริษัทฯ และบรรลุเป้าหมายสูงสุดในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ เรื่องร้องเรียน และการหยุดผลิตอย่างกะทันหัน (Zero Incident, Zero Complaint, Zero Unplanned Shutdown: Zero ICU)

นอกจากนี้ บริษัทฯ มีแผนการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Safety) และความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (Process Safety) โดยได้กำหนดแผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยปี 2564 ถึง 2569 ดังนี้

แผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยปี 2564 ถึง 2569

GRI 403-2 (2018), 403-5 (2018), 403-7 (2018)
1.

วัฒนธรรมความปลอดภัย OHS Culture

การเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยเพื่อเพิ่มความตระหนักให้แก่พนักงาน (B-CAREs Strengthen)

2.

การบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุก (Proactive Safety Management)

วางแผนกำหนดกิจกรรมเพื่อใช้สำหรับการบริหารจัดการความเสี่ยงเชิงรุกเพื่อชี้บ่งอันตราย และป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ซ้ำ หรือการสูญเสีย ที่มีโอกาสที่จะเกิดขึ้น

3.

การจัดการความปลอดภัยบุคคลและกระบวนการผลิต (Personal & Process Safety Management)

ผลักดันให้ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบริษัทฯ ผู้รับเหมา และคู่ค้าที่สำคัญมีการกำหนดโครงสร้าง หน้าที่ และความรับผิดชอบในการบริหารงานด้านการจัดการความปลอดภัยส่วนบุคคลและกระบวนการผลิตอย่างชัดเจนในทุกระดับ

4.

วินัยในการปฏิบัติงาน (Operational Discipline)

รักษาและเสริมสร้างวินัยในการปฏิบัติงาน แก่กลุ่มบริษัทฯ ผู้รับเหมา และคู่ค้าที่สำคัญ รวมถึงจัดอบรมด้านความปลอดภัยที่เหมาะสมให้กับผู้เกี่ยวข้องทุกระดับอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ อาทิ หลักสูตรการดับเพลิง การซ้อมแผนฉุกเฉิน และการรับมือการเกิดการรั่วไหล่ของน้ำมันดิบลงทะเล สำหรับพนักงานในพื้นที่ปฏิบัติงาน

นโยบายด้านความปลอดภัย ความมั่นคง อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ดาวน์โหลด
มาตรฐาน ISO 45001
ดาวน์โหลด
การบริหารจัดการด้านความต่อเนื่องทางธุรกิจ
ดาวน์โหลด
การประเมินคู่ค้าของบริษัทฯ
ดาวน์โหลด
Sustainability Performance Data
ดาวน์โหลด