ประเด็นความยั่งยืน
ความรับผิดชอบต่อสังคม
ระดับผลกระทบ
Impact Materiality : ปานกลาง
Financial Materiality : สูง
Double Materiality : สูง
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
ผู้ถือหุ้น
พนักงาน

เป้าหมาย

  • ความพึงพอใจของชุมชนโดยรวมในปี 2566 ร้อยละ 92.38
  • ดำเนินกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) พร้อมการสร้างสรรค์คุณค่าธุรกิจคู่สังคม (Creating Shared Value: CSV) 5 โครงการภายในปี 2566
  • มีเป้าหมายของกลยุทธ์การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักการพัฒนาเชิงสังคมในวิถีของการสร้างคุณค่าทางธุรกิจ ร้อยละ 70 และการบริจาคสู่สังคมร้อยละ 30 ตั้งแต่ปี 2565
  • การมุ่งไปสู่การเป็นพันธมิตรที่สร้างคุณค่าอย่างยั่งยืนต่อสังคมร่วมกัน (Partner of Choice) ภายใน 2568

ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ (Challenges and Opportunities)

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและช่วยเหลือชุมชนรอบด้าน โดยสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในกลุ่มชุมชน และสังคมโดยรอบในทุกพื้นที่การดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อรักษาสมดุลในการดำเนินธุรกิจและการตอบสนองต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งมีการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคม ที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อีกทั้ง บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าทางธุรกิจร่วมกันกับชุมชนและสังคม โดยมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับหลากหลายภาคส่วน และการสร้างขีดความสามารถให้กับชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียให้สามารถสื่อสารกับบริษัทฯได้ รวมทั้งประยุกต์ใช้นวัตกรรมและความเชี่ยวชาญของบริษัทฯ ผ่านโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม ที่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน การพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของคนในชุมชนโดยรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านการขาดแคลนน้ำ และการจัดการขยะพลาสติก พร้อมทั้งสนับสนุนสิ่งจำเป็นที่เร่งด่วนในภาวะวิกฤติแก่สังคม เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง ให้ชุมชนได้เติบโตร่วมกันกับบริษัทฯ อย่างยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการ (Management Approach) GRI 3-3 (2021)

กลยุทธ์ความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR Strategy)

บริษัทฯ พัฒนากลยุทธ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (Group-wide Strategy) ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) โดยที่มุ่งเน้นการขับเคลื่อนไปสู่การสร้างคุณค่าทางธุรกิจร่วมกันกับสังคม (Creating Shared Value: CSV) และการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE) ซึ่งมุ่งแก้ไขปัญหาสังคม การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy: CE) และการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน เพื่อตอบสนองความคาดหวังและข้อกังวลใจของผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมทั้งพัฒนาชุมชนและสังคมให้เติบโตร่วมกันกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างยั่งยืนและสมดุล

บริษัทฯ ยังคงสานต่อกลยุทธ์หลัก ด้าน Step Up เพื่อยกระดับความยั่งยืนขององค์กรแบบองค์รวมตลอดห่วงโซ่คุณค่า ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ในการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน (Leading ESG Practices) โดยการขับเคลื่อนการดำเนินการไปสู่เป้าหมาย Net Zero (Decarbonization) รวมถึงขับเคลื่อน Circular Economy (การบริหารจัดการขยะพลาสติกแบบครบวงจร) ควบคู่ไปกับการขยายการดำเนินงาน Social Enterprise ในโครงการต่างๆ และมุ่งมั่นในการตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน สังคม ด้วยการบริหารจัดการการดำเนินงานด้าน CSR ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น (CSR Portfolio) ในการสร้างคุณค่าสู่สังคม (Social Impact) เพิ่มความเชื่อมั่น ความเชื่อถือ และไว้วางใจต่อบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง (Partners of Choice)

โดยมีการดำเนินงานครอบคลุมประเด็นสำคัญ ดังนี้

1. Decarbonization (Net Zero): สนับสนุนและดำเนินการเพิ่มพื้นที่ป่าโดยร่วมมือกับชุมชน และเครือข่าย ทั้งในและนอกพื้นที่ของบริษัทฯ เพื่อช่วยในการดูดซับคาร์บอน และส่งเสริมคาร์บอนเครดิต

2. Circular Economy (Waste Management): นำเอาหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ขับเคลื่อนการจัดการขยะพลาสติกอย่างครบวงจร สร้างศูนย์รีไซเคิลขยะพลาสติกในชุมชนที่มีศักยภาพ รวมถึงสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างผลตอบแทนทางสังคมและก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมทางบวกสูงสุด

3. SE Transformation (Evolution): ร่วมดำเนินการกับชุมชนอย่างใกล้ชิด ขยายการดำเนินงานด้าน Social Enterprise ในโครงการต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และผลประโยชน์ ให้แก่ชุมชน รวมถึงตอบสนองความต้องการ แก้ไขปัญหาของชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน

4. Community Relations (Stakeholder Management): สร้างความสัมพันธ์อันดีกับชุมชนและสังคม ผ่านการร่วมดำเนินการในโครงการและกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการตอบสนองต่อความต้องการ การแก้ไขปัญหาของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มเพื่อสร้างความพึงพอใจของสังคม ผู้มีส่วนได้เสียในระยะยาว

บริษัทฯ ได้พัฒนาและดำเนินโครงการและกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวทาง G-BEST ที่ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลักที่สำคัญ ได้แก่ การยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี (Better Living) การแบ่งปันความเชี่ยวชาญสู่สังคม (Sharing) และการพัฒนาความยั่งยืนของระบบนิเวศ (Ecology)

ต้นแบบพลเมืองที่ดี
  • ความรับผิดชอบ
  • การกำกับดูแลที่ดี
  • ความโปร่งใส
  • ความเท่าเทียม
ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
  • สถานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
  • ความเป็นอยู่ทางสังคม และสุขภาพที่ดีขึ้น
ระบบนิเวศ
  • สร้างผลกระทบเชิงบวกอย่างยั่งยืน
  • ความสมดุล
  • สิ่งแวดล้อม
การแบ่งปัน
  • ความสอดคล้องต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจ (กระบวนการและผลิตภัณฑ์)
  • การจัดการปัญหา การป้องกันและลดความเสี่ยง
  • การสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างสังคมและองค์กร
  • การแบ่งปันองค์ความรู้
ความร่วมมือกัน
  • พิจารณาความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย
  • การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย
  • ความสัมพันธ์ การเชื่อมโยง ความเชื่อใจ

การมีส่วนร่วมกับชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง (Community and Local Stakeholder Engagement)

นอกจากนี้ บริษัทฯ เล็งเห็นว่าความคิดเห็นของชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงจัดให้มีช่องทางสื่อสาร เพื่อเปิดโอกาสให้ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียมีส่วนร่วมและเสนอข้อคิดเห็นได้อย่างเหมาะสมผ่านช่องทางการสื่อสาร ดังนี้

  • โครงการเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม 96 โครงการในปี 2566
  • สำรวจความคิดเห็น ข้อกังวลและความพึงพอใจของชุมชน และผู้ส่วนได้เสียอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี
  • จัดประชุมร่วมกับชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียเพื่อขอทราบถึงข้อกังวลที่อาจเกิดขึ้น
  • จัดให้มีกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน (Whistleblower system) ซึ่งเป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูล (Centralized Whistleblowing, Fines, and Penalties Information) โดยบริษัทฯ จะทำการสืบสวนข้อร้องเรียนที่ได้รับ และรายงานผลการสืบสวนฯ ต่อคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางในการจัดการ แก้ไขปรับปรุง และป้องกันไม่ให้เกิดกรณีด้านสังคมและชุมชน รวมถึงมีการติดตามผลข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น เพื่อกำหนดกระบวนการควบคุมที่เหมาะสมต่อไป
  • ติดต่อผ่านเว็บไซต์บริษัทฯ

ผลสำรวจความพึงพอใจของชุมชน (Community Satisfaction Survey Result)

จากการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องของบริษัทฯ ทำให้บริษัทฯ มีผลการสำรวจความพึงพอใจของชุมชนโดยรวมสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2566 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์อันดีของชุมชนและสังคมที่มีต่อบริษัทฯ

ความพึงพอใจโดยรวมของชุมชน (Community Satisfaction)
ผลการประเมิน
2563 2564 2565 2566
ความพึงพอใจโดยรวมของชุมชน (ร้อยละ) 86.14 91.25 90.46 92.38

เป้าหมาย 2566

>

ข้อร้องเรียนของชุมชนผ่านช่องทางต่างๆ (Community Complaints Received Through Other Channels)
2563 2564 2565 2566
ข้อร้องเรียนด้านสังคมและชุมชน (กรณี) 0 0 0 0