เป้าหมาย และผลการดำเนินงานการลดการปล่อยมลพิษทางอากาศ
เป้าหมาย
- ควบคุมการปล่อย NOx ให้เข้มงวดกว่ากฎหมายกำหนด และมุ่งมั่นลดการปล่อย NOx ต่อหน่วยการผลิต
- ควบคุมการปล่อย SOx ให้เข้มงวดกว่ากฎหมายกำหนด และมุ่งมั่นลดการปล่อย SOx ต่อหน่วยการผลิต
- ควบคุมการปล่อย VOCs ให้เข้มงวดกว่ากฎหมายกำหนด และมุ่งมั่นลดการปล่อย VOCs ต่อหน่วยการผลิต
ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ
บริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะเดินหน้าลงทุนโครงการปิโตรเคมีในพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน จึงทำให้อาจเกิดข้อกังวลโดยเฉพาะประเด็นด้านมลพิษทางอากาศ
ซึ่งบริษัทฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจและได้จัดทำแผนการจัดการคุณภาพอากาศเชิงรุกทั้งภายในพื้นที่โรงงานและบริเวณพื้นที่โดยรอบโรงงานที่อาจจะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ ได้แก่ การควบคุมและลดปริมาณการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยให้น้อยที่สุด รวมถึงการยกเลิกใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศของบริษัทฯ ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แนวทางการบริหารจัดการ (Management Approach) GRI 3-3 (2021)
การบริหารจัดการมลพิษทางอากาศ (Air Emissions Reduction Management)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการ (Management Approach) คุณภาพอากาศทั้งภายในสถานประกอบการและชุมชนรอบข้าง โดยจัดทำแผนบริหารจัดการควบคุมคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และหาแนวทางพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศของบริษัทฯ ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าหมาย ตรวจวัด และติดตามคุณภาพอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อการดำเนินงานที่เป็นไปตามกฎระเบียบและสร้างความมั่นใจกับผู้มีส่วนได้เสีย

บริษัทฯ มุ่งเน้นการลดผลกระทบจากการปล่อยมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดการฟุ้งกระจายและการรั่วซึมของสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) จากกระบวนการผลิต บริษัทฯ จึงพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งวางแผนการตรวจสอบ และซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งคัดเลือกอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูง เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและชุมชนในพื้นที่ และยังได้ประสานความร่วมมือกับกลุ่มอุตสาหกรรม 5 นิคมฯ และ 1 ท่าเรือ ในพื้นที่มาบตาพุด เพื่อผลักดันให้เกิดโครงการนำร่องสำหรับจัดการการระบายไอสารเบนซีนและ 1,3-บิวทาไดอีน (1,3-Butadiene) โดยใช้มาตรการ CoP (Code of Practice) เพื่อช่วยแก้ปัญหาการระบายไอสารเบนซีนและ 1,3-บิวทาไดอีน (1,3-Butadiene) จากโรงงานอุตสาหกรรมให้น้อยที่สุดและต่ำกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนดไว้ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังจัดทำบัญชีรายการสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs Inventory) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดการโครงการลดการปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่ายอีกด้วย
ด้วยความตระหนักถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางคุณภาพอากาศ บริษัทฯ จึงได้มุ่งเน้นดำเนินโครงการจัดการคุณภาพอากาศทั้งภายในพื้นที่โรงงานและบริเวณพื้นที่โดยรอบที่อาจจะได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ ของบริษัทฯ ทั้งในช่วงการดำเนินธุรกิจปกติและช่วงหยุดซ่อมบำรุง รวมถึงการใช้มาตรการหยุดซ่อมบำรุงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Turnaround) เพื่อควบคุมคุณภาพอากาศให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ตลอดจนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศของบริษัทฯ ให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ ด้วยความมุ่งมั่นลดผลการทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก บริษัทฯ จึงจัดทำแผนการยกเลิกใช้สารอันตรายซึ่งทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน โดยยกเลิกการใช้สาร R-22 และปรับเปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็นชนิด Non-CFC ภายในปี 2573 อีกด้วย
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้สื่อสารการดำเนินงาน ผลการดำเนินงาน และรับฟังข้อร้องเรียน ข้อเสนอแนะในผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงผู้ปฏิบัติงานและชุมชนในพื้นที่ผ่านช่องทางต่างๆ เพื่อควบคุมและหาแนวทางพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สามารถบรรลุเป้าหมายประจำปีที่ตั้งไว้ จึงส่งผลให้ปริมาณมลพิษทางอากาศต่อตันการผลิตในปี 2565 มีแนวโน้มที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง
สามารถดูรายละเอียดโครงการโดดเด่นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติมได้ที่ GC Integrated Sustainability Report 2565 อาทิ
- โครงการประยุกต์ใช้กลไกการปฏิบัติที่ดี (Code of Practice: CoP) เพื่อลดการปล่อยไอสารเบนซีน 1,3-บิวทาไดอีน และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) จากกระบวนการผลิต
- โครงการติดตั้งระบบรวบรวมอากาศจากถังเก็บคิวมีนไปบำบัดที่หอเผา (Modify Vent Gas from TK-1201 to Flare System) เพื่อควบคุมปริมาณคิวมีนในบรรยากาศบริเวณพื้นที่โรงงานอยู่ภายในค่าที่กฎหมายกำหนด
ผลการดำเนินงานการควบคุมมลพิษทางอากาศ GRI 305-7 (2016)
เป้าหมายและผลการดำเนินงานการควบคุมมลพิษทางอากาศ
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย
สามารถดูรายละเอียดผลการดำเนินงานการควบคุมมลพิษทางอากาศเพิ่มเติมได้ที่
สามารถดูรายละเอียดการบริหารจัดการ และควบคุมคุณภาพอากาศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเพิ่มเติมได้ที่