กลยุทธ์ด้านภาษี
“บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ยึดมั่นการปฏิบัติตามนโยบายและหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใสและตระหนักในหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการดำเนินการด้านภาษีเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้มีส่วนได้เสียและชุมชนที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ”
บริษัทฯ ดำเนินกลยุทธ์ด้านภาษีด้วยความเที่ยงตรง โปร่งใส และยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ โดยวางหลักเกณฑ์การบริหารจัดการด้านกลยุทธ์และนโยบายทางภาษีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดจากการดำเนินงานอันยาวนานที่ผ่านมา
นายกฤษฎา บุญราช ประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้กำหนดขั้นตอนการดำเนินการบริหารความเสี่ยง ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงด้านภาษี โดยมอบหมายให้คณะผู้บริหารเป็นผู้รายงานความคืบหน้าด้านการบริหารความเสี่ยงให้คณะกรรมการบริษัทฯ ได้รับทราบเป็นประจำ ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ประเมินประสิทธิผลในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ โดยใช้ข้อมูลจากรายงานผลประกอบการของบริษัทฯ รายงานการตรวจสอบภายใน และรายงานของผู้สอบบัญชี ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทฯ สามารถควบคุมและปรับลดความเสี่ยงที่อาจมีขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
บริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน พร้อมทั้งเดินหน้าสนับสนุนการประกอบธุรกิจและธุรกรรมการพาณิชย์ในแต่ละวัน รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรและการบริหารองค์กรให้มีความต่อเนื่อง คล่องตัว เหมาะสม และยั่งยืน เพื่อให้บริษัทฯ มีศักยภาพในการปฏิบัติตามระบบภาษีสากลที่มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายด้านภาษีที่ประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่
กลุ่มบริษัท ฯ มีการกำกับดูแลและปฏิบัติทางภาษีอย่างถูกต้องและมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายทางความยั่งยืน เพื่อเป็นผู้นำทางด้านภาษี เติบโตทางภาษีอย่างยั่งยืนและสร้างประโยชน์ต่อสังคม
การปฏิบัติทางภาษีอย่างถูกต้อง
บริษัทฯ ดำเนินงานทางด้านภาษีโดยมีเป้าหมายในการสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติทางภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ยื่นและคืนภาษีอย่างถูกต้องและแม่นยำในปี 2563 บริษัทได้เปิดตัว Tax Alert ที่เป็นการจัดการกับกฎหมายทางด้านภาษีตัวใหม่และการตีความทางกฎหมาย และจะส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปยังกลุ่มบริษัทฯ โดยมีเป้าหมายในการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับรู้ นำไปใช้ และสนับสนุนงานที่กำลังปฏิบัติเพื่อให้มันใจได้ว่าปฏิบัติทางด้านภาษีนั้นถูกต้องตามกฎหมาย บริษัทฯ ได้ประยุกต์ใช้ Control Self-Assessment (CSA) กับนโยบายการควบคุมภายในเพื่อที่จะระบุความเสี่ยงทางภาษีและตัวควบคุมหลัก ประเมินผลของตัวควบคุมที่ใช้อยู่ ติดตามตรวจสอบสิ่งที่ขาด และจัดหาแนวทางการฟื้นฟู
การกำกับดูแลทางภาษี
บริษัทฯ ได้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการกำหนดราคาโอนในประเทศไทย และข้อบังคับของแต่ละประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ เพื่อจัดทำเอกสารการทำธุรกรรม (Local File) ของบริษัทฯ บริษัทย่อย และบริษัทร่วมค้า ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ให้สมบูรณ์ นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ประสานงานกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการจัดทำเอกสารราคาโอนของบริษัทในกลุ่ม ปตท. (Master File) และรายงานระหว่างประเทศ (Country-by-Country Report: CbCR) ให้สอดคล้องตามนโยบายของกลุ่ม ปตท. ซึ่งตัวแทนของบริษัทฯ ที่อยู่ในสหราชอาณาจักรได้รับมอบหมายให้จัดทำรายงานระหว่างประเทศในนามของกลุ่ม ปตท. ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการติดตามการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่านโยบายของกลุ่มบริษัทฯ สอดคล้องกับราคาตลาด
บริษัท ฯ มีความมุ่งมั่นในการบริหารทางภาษีที่สอดคล้องกับกฏหมายและระเบียบทางภาษี บริษัทฯ เปิดเผยหลักการการจัดการความเสี่ยงด้านภาษีและประยุกต์แนวทางการจัดการความเสี่ยงทางด้านภาษีโดยวางแนวทางตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของนโยบายทางภาษีของรัฐบาลและแนวทางการบริหารจัดการทางภาษี บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านภาษีจากการลงทุนในประเทศที่ปลอดภาษี (Tax Haven) สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลต่อชื่อเสียงของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ หลีกเลี่ยงการลงทุนที่มีความเสี่ยง โดยพิจารณามาตรการป้องกันการวางแผนทางภาษีที่มีผลให้เกิดการเคลื่อนย้ายกำไรเพื่อไปเสียภาษีในประเทศที่ภาระภาษีต่ำกว่า (Base Erosion and Profit Shifting (BEPS) Action 5: Harmful Tax Practices) สำหรับองค์กรที่ไม่มีการดำเนินการภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีสินค้าและบริการ องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และองค์กรที่ไม่ได้มุ่งมั่นในการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Exchange on Information: EOI) ทางภาษี ที่อยู่ในรายชื่อสมาชิก Global Forum และ OECD
บริษัทฯ มีความโปร่งใสทางภาษีที่เปิดเผยแก่ภาครัฐในการเปิดเผยทางภาษีที่ตรงตามความต้องการทางด้านกฎหมาย บริษัทฯ ยินดีให้ความร่วมมือในการเปิดเผยทางด้านภาษี พร้อมทั้งสนับสนุนให้บริษัทต่าง ๆ มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านภาษี และรายงานการดำเนินการที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงมีความมุ่งมั่นในการกำกับดูแล และจัดการทางภาษีเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
Tax Roadmap

การกำกับดูแลทางภาษี (Tax Governance)
- คณะกรรมการบริหาร และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ในฐานะตัวแทนของคณะกรรมการ เป็นผู้ลงนามรับรอง กลยุทธและนโยบายทางด้านภาษีของบริษัทฯ
- ส่งเสริมและพัฒนา การกำกับดูแล นโยบาย และแนวทางที่เกี่ยวข้องกับภาษี
- ดำเนินการปรับปรุง และอัปเดตการกำหนดราคาซื้อขายสำหรับกิจการข้ามชาติ (Transfer Pricing) ให้สอดคล้องกับแนวปฎิบัติ OECD โดยประยุกต์ใช้หลักการคำนวณราคาซื้อขายสินค้าหรือบริการ อ้างอิงจากราคาตลาด (Arm’s length principle) (Complete and update Transfer Pricing align with OECD guidelines and further closing gaps under Arm's length principle)
- จัดตั้ง Assurer team เพื่อดำเนินการ FNA Governance
- ประยุกต์ใช้ Digital Governance ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคำนวณภาษีอัตโนมัติกับกลุ่มบริษัทฯ

การบริหารความเสี่ยงทางภาษี (Tax Risk Management)
- ดำเนินการบริหารความเส่ยง และติดตามแผนการปฎิบัติงาน เพื่อลดความเสี่ยงทางด้านภาษีที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มบริษัทฯ (Execute Tax Risk Management and monitor work plan to mitigate tax risk of the Group)
- ดำเนินการ Tax Health Check โดยที่ปรึกษาทางภาษีอย่างต่อเนื่อง
- จัดทำโครงการ Tax Professional เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้ทางด้านภาษี พร้อมทั้งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้
- มุ่งมั่นที่จะหลีกเลี่ยงการลงทุนในดินแดนปราศจากภาษี หรือภาษีต่ำ เพื่อไม่ให้บริษัทฯ เสื่อมเสีย
- วางแผนและติดตาม Transfer Pricing Risk Analysis ในแต่ละบริษัทในกลุ่มบริษัทฯ

การปฏิบัติทางภาษีให้ถูกต้อง (Tax Compliance)
- จัดทำและอัพเดต Tax Procedures
- ริเริ่ม Tax Alert ของกฎหมายและกฎข้อบังคับใหม่ ๆ
- ประยุกต์ใช้เครื่องมือ Control Self-Assessment (CSA) กับกระบวนการทางภาษี
- นำเครื่องมือดิจิทัลมาใช้กับกระบวนการทางด้านภาษีภายในกลุ่มบริษัทฯ New
- ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ให้การบริการ การติดตามปฎิบัติทางภาษีให้ถูกต้อง การให้คำปรึกษาทางด้านภาษีออนไลน์ และระบบการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- เข้าถึงหลักการปฏิบัติทางภาษีให้ถูกต้องทางออนไลน์ (e-Platform) เช่น e-Filling, e-Tax Invoice & e-Receipt, e-Withholding Tax (WHT), e-tax coupon เป็นต้น.
- ประยุกต์ใช้โปรแกรมหุ่นยนต์อัตโนมัติกับการโอนถ่ายทางด้านภาษี อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (WHT) ภาษีสรรพสามิต (Excise Tax)
การกำกับดูแลทางภาษี
กลยุทธ์และนโยบายด้านภาษีของบริษัทฯ ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้แทนคณะกรรมการบริษัท ทั้งนี้บริษัทฯ มีฝ่ายกลยุทธ์และแผนภาษี (Tax Strategy and Planning Division) และฝ่ายการจัดการภาษี (Tax Management Division) รับผิดชอบในการพัฒนาและดำเนินการเรื่องภาษีและให้การรับรองตามการปฏิบัติตามและการจัดการด้านภาษี
บริษัทฯ นำรายการตรวจสอบการปฏิบัติทางภาษีอย่างถูกต้องโดยตนเองมาใช้ในการประเมินความถูกต้องทางด้านภาษีภายในบริษัทฯ องค์กร บริษัทย่อย และบริษัทร่วมค้าในประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายของประเทศไทย และมีแผนที่จะสื่อสารการทำรายการตรวจสอบการปฏิบัติทางด้านภาษีไปยังบริษัทย่อยและบริษัทร่วมค้าในต่างประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางภาษีของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ บริษัท ฯ มุ่งมั่นพัฒนาการกำกับดูแลทางภาษี นโยบาย และแนวทางทางภาษี และกำลังศึกษาการจัดตั้งหน่วยงานความเชื่อมั่น (Assurer Team) ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบทางด้านกำกับดูแลและวางแผนทางการเงินและบัญชี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบและโครงสร้างภายใน พร้อมทั้งสร้างแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นมาตรฐานกับกลุ่มบริษัทฯ และสร้างความแข็งแกร่งให้กับบริษัทฯ ในการกำกับดูแล นโยบาย และแนวทางทางภาษีในกลุ่มบริษัทฯ
บริษัทฯ ยังปฏิบัติตามพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการกำหนดราคาโอนระหว่างบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน (Transfer Pricing) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 โดยบริษัทฯ รวมถึงบริษัทในกลุ่มระหว่างประเทศและบริษัทร่วมทุน ได้จัดทำเอกสารราคาโอนภายในประเทศ (Local file) ทั้งนี้บริษัทฯ ยังสนับสนุน ปตท. ในการจัดทำเอกสารราคาโอนของกลุ่มบริษัท (Master file) และรายงานระหว่างประเทศ (CbCR) เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกลุ่ม Surrogate Parent Entity (SPE) ในสหราชอาณาจักรได้รับมอบหมายให้ยื่น CbCR ในนามของกลุ่ม ปตท. นอกจากนี้เรายังตรวจสอบ Transfer Pricing เพื่อให้แน่ใจว่านโยบายของกลุ่มมีความสอดคล้อง เหมาะสมกับหลักการหาหรือพิสูจน์ราคาตลาด (Arm's. Length Principle)
การบริหารความเสี่ยงด้านภาษี
กลุ่มบริษัทฯ นำแนวทางการบริหารความเสี่ยงด้านภาษีมาใช้โดยมีความสอดคล้องตามหลักมาตรฐานสากล COSO มีการประเมินความเสี่ยงด้านภาษีเป็นประจำทุกปีรวมถึงการติดตามและบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดขึ้น บริษัทฯให้ความสำคัญกับ Transfer Pricing Risk จึงมีการร่วมกันกำหนดกระบวนการและแนวทางปฏิบัติเพื่อจัดการและติดตามเรื่องนี้ระหว่างกลุ่ม
บริษัทฯ มีการวางแผนระยะยาวในการตรวจสอบสุขภาพทางด้านภาษี (Tax Health Check) ทุกๆ 5 ปี ในบริษัทย่อยและกิจการร่วมค้า ทั้งนี้มีการว่าจ้างที่ปรึกษาด้านภาษีภายนอกเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการยื่นภาษี ดำเนินการ และให้คำแนะนำเพื่อให้การปฏิบัติงานด้านภาษีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาหน่วยงานทางภาษีอย่างต่อเนื่อง โดยจัดการฝึกอบรมทางด้านภาษีให้กับพนักงานบัญชีและการเงิน ทั้งพนักงานที่รับผิดชอบทางด้านกลยุทธ์ การวางแผน และการดำเนินงานทางภาษีโปรแกรมแบ่งออกเป็นสามระดับ คือ 1) ระดับพื้นฐาน 2) ระดับกลางและ 3) ระดับสูง เพื่อเสนอหลักสูตรภาษีที่หลากหลายและเหมาะสม เพื่อให้สามารถนำเอาความรู้ที่ได้รับไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
การลงทุนในต่างประเทศ บริษัทฯ ตระหนักถึงความเสี่ยงด้านชื่อเสียงทางภาษี และให้คำมั่นที่จะเลี่ยงการลงทุนผ่านประเทศและเขตปกครองเป็นพื้นที่การหลบเลี่ยงภาษีตามแผนปฏิบัติการเพื่อยุติ BEPS มาตรการ 5 การตอบโต้มาตรการภาษีที่เป็นภัย (Harmful Tax Practices) ทั้งนี้บริษัทฯ ได้เปิดเผยแนวทางการลงทุนในต่างประเทศที่ตอบสนองต่อนโยบายดังกล่าวบนเว็บไซต์
การปฏิบัติทางภาษีอย่างถูกต้อง
บริษัทฯ ดำเนินงานทางด้านภาษีโดยมีเป้าหมายในการสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติทางภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับด้านภาษี โดยได้ปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินงานด้านภาษี และเปิดตัว Tax Alert ที่เป็นการจัดการกับกฎหมายทางด้านภาษีตัวใหม่และการตีความทางกฎหมาย และจะส่งต่อข้อมูลเหล่านี้ไปยังกลุ่มบริษัทฯ โดยมีเป้าหมายในการให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรับรู้ นำไปใช้ และสนับสนุนงานที่กำลังปฏิบัติเพื่อให้มันใจได้ว่าปฏิบัติทางด้านภาษีนั้นถูกต้องตามกฎหมาย
รวมถึงได้ประยุกต์ใช้ Control Self-Assessment (CSA) ที่สอดคล้องกับนโยบายการควบคุมภายในเพื่อระบุความเสี่ยงทางภาษีและการควบคุมหลักประเมินประสิทธิภาพของการควบคุมที่มีอยู่ และตรวจสอบข้อบกพร่องในการควบคุมหรือแนวทางปฏิบัติในการบรรเทาผลกระทบ และยังสื่อสารและปรับใช้ CSA กับบริษัทย่อยในประเทศและกิจการร่วมค้าอีกด้วย
บริษัทฯ นำเอาเทคโนโลยีทางการเงินที่มีอยู่ มาใช้ในการเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินการทางด้านภาษี โดยมีการพัฒนาระบบจัดการภาษีอัตโนมัติผ่านเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งประกอบด้วยการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านภาษี การปรับปรุงข้อกำหนดหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การถอดบทเรียนจากการตรวจสอบภาษี การแบ่งปันความรู้ด้านภาษี การให้คำปรึกษาด้านภาษี และระบบคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) แบบอัตโนมัติ นอกจากนี้บริษัทฯยังพัฒนาระบบข้อมูลภาษีผ่าน e-platform เพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพของข้อมูลมากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลภาษีจะถูกส่งต่อไปยังหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องแบบอัตโนมัติ เช่น การยื่นคำร้องคำขอหนังสือ/เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Filing) ระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) การนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบออนไลน์ (e-Withholding Tax)
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังใช้ Robotic Process Automation (RPA) ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีการทำงานแบบ Rule-Based Processes ผ่าน Intelligent Automation สำหรับการเงินและบัญชี บริษัทฯ มีแผนงานด้าน RPA รวมถึงขั้นตอนการทำธุรกรรมภาษีอัตโนมัติ เพื่อลดความเสี่ยงในการดำเนินงานด้าน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (WHT) และภาษีสรรพสามิต (Excise Tax) อีกด้วย
การกำกับดูแลความเสี่ยงด้านภาษี
โครงสร้างการบริหารความเสี่ยงด้านภาษีของบริษัทฯ ครอบคลุม 3 ระดับ คือ ระดับองค์กร ระดับสายงาน/หน่วยธุรกิจ และระดับปฏิบัติการ เพื่อก่อให้เกิดความมั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถระบุความเสี่ยงที่สำคัญได้ และสามารถจัดหาวิธีการบรรเทาความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้การบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพยังสามารถนำมาประเมินได้ทั่วทั้งองค์กร
For more detail on Risk and Crisis Management Structure, please see Risk Governance
การบริหารความเสี่ยงทางภาษีและขอบเขตการควบคุมภาษี
ภายใต้กลยุทธ์ด้านภาษี บริษัทฯ เน้นการสร้างความโปร่งใส ความรับผิดชอบ และความพร้อมรับผิดในประเด็นเกี่ยวกับภาษีทั้งหมด เพื่อให้ผู้ถือหุ้นและชุมชนที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจมีความไว้วางใจอย่างยั่งยืน ดังนั้น บริษัทฯ จึงวางระบบบริหารความเสี่ยงภาษีและขอบเขตการควบคุมภาษี ซึ่งจะนำมาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการให้บรรลุผลตามกลยุทธ์ด้านภาษีที่กำหนดไว้
ระบบบริหารความเสี่ยงทางภาษีจัดทำขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับภาษีสำหรับธุรกิจการลงทุนทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศของบริษัทฯ โดยประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายและข้อบังคับด้านภาษีที่เป็นปัจจุบันพร้อมด้วยส่วนปรับปรุงแก้ไขที่เกิดขึ้น การพัฒนาระบบควบคุมให้มีคุณภาพเหนือกว่ามาตรฐานการรายงานทางการเงินเรื่องภาษี การบริหารระบบตรวจสอบภาษีระดับโลก การปฏิบัติตามกฎข้อบังคับเกี่ยวกับภาษีที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ การเข้าถึงความรู้ที่เหมาะสมในแต่ละประเทศ และการรายงาน การบัญชีภาษีอากรทั่วโลกตามแยกเป็นแต่ละประเทศอย่างถูกต้อง
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังกำหนดขอบเขตการควบคุมภาษีซึ่งจะนำใช้บริหารความเสี่ยงด้านภาษีให้บรรลุผลตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ขอบเขตการควบคุมภาษี คือ กรอบกระบวนการดำเนินงาน บทบาท หน้าที่ นโยบายการรายงานและบรรเทาความเสี่ยงด้านภาษีสำหรับการทำธุรกรรมของบริษัทฯ พร้อมด้วยผลทางภาษีที่เกิดขึ้นได้ของธุรกรรมนั้น ๆ กล่าวคือ บริษัทฯ ต้องการ "การควบคุม" ปัญหาสำคัญ ๆ เกี่ยวกับภาษีทั้งหมด โดยสามารถตรวจสอบ จัดเก็บข้อมูล และรายงานความเสี่ยงสำคัญในด้านภาษีที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและทันกาล และดูแลจัดการกระบวนการทางภาษีทั้งหมดให้อยู่ภายใต้ขอบเขตการควบคุมภาษีที่กำหนดไว้ ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯ สามารถระบุ บรรเทา ควบคุม และรายงานความเสี่ยงด้านภาษีภายในบริษัทฯ หรือให้แก่หน่วยงานภายนอกในกรณีที่จำเป็น
ขอบเขตการควบคุมภาษีจัดทำขึ้นตามแนวทางของ COSO (The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission) ซึ่งได้กำหนดกรอบการความควบคุมภายในแบบครบวงจร (COSO Framework) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากที่สุด สำหรับโมเดล COSO ที่จัดทำขึ้นตามกรอบการทำงานของบริษัทฯ ประกอบด้วย 3 มิติดังนี้:
มิติที่ 1: กระบวนการควบคุมภายในสำหรับความเสี่ยงด้านภาษี
บริษัทฯ ได้กำหนดกระบวนการควบคุมภายในสำหรับความเสี่ยงด้านภาษี ดังนี้ :
- การดำเนินธุรกิจ – กำหนดรูปแบบการประกอบธุรกิจ โดยประเมินประเภทและขนาดของกิจกรรมทางธุรกิจ เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดการบริหารความเสี่ยงด้านภาษีล่วงหน้า กิจกรรมทางธุรกิจที่แตกต่างกัน (อาทิ การผลิต การขายและการตลาด การวิจัยและพัฒนา และการเป็นบริษัทแม่) จะทำให้เกิดความเสี่ยงด้านภาษีที่แตกต่างกัน
- สภาพแวดล้อมทั่วไปเกี่ยวกับภาษี – ระบุสภาพแวดล้อมทั่วไปเกี่ยวกับภาษีสำหรับทุกประเทศและพื้นที่ที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ บริษัทฯ ตระหนักดีว่า การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับภาษีอากร รวมถึงคุณลักษณะของภาษีในแต่ละประเทศหรือพื้นที่จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทางด้านภาษี
- ข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับด้านภาษี – ศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อกำหนดการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับด้านภาษีของทุกประเทศที่บริษัทฯ เข้าไปดำเนินธุรกิจ พร้อมทั้งระบุความเสี่ยงทางภาษีอากร โดยพิจารณาจากข้อกำหนดเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับด้านภาษีอากรในแต่ละประเทศ ซึ่งได้แก่ การยื่นแบบแสดงรายการภาษี การจ่ายภาษีที่กำหนดทุกประเภท และมาตรฐานการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับที่เกี่ยวข้องด้านอื่น ๆ อาทิ การยื่นเอกสารแสดงราคาซื้อขายสินค้าและบริการ
- กระบวนการดำเนินการทางภาษี – กำหนดกระบวนการดำเนินการทางภาษีที่สอดคล้องและตรงตามกฎข้อบังคับด้านภาษีทั้งหมด กำหนดบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบทางด้านภาษี รวมทั้งระบุขั้นตอนการทำงานในหน่วยงานสำหรับการดำเนินการด้านภาษีแต่ละประเภทไว้อย่างชัดเจน
- การกำหนดความเสี่ยงด้านภาษี – ระบุความเสี่ยงด้านภาษีสำหรับภาษีสำคัญ ๆ และในทุกประเทศที่บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจ โดยพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ (1) – (4) ของกระบวนการควบคุมภายในสำหรับใช้กับความเสี่ยงทางภาษีที่กล่าวถึงข้างต้น สำหรับความเสี่ยงด้านภาษีที่สำคัญอื่น ๆ จะมีการระบุถึงขนาดของความเสี่ยงและผลกระทบที่มีต่องบการเงิน รวมถึงแนวโน้มในการเกิดความเสี่ยง พร้อมทั้งมีการกำหนดวิธีบริหารความเสี่ยงด้านภาษีทั้ง 2 ประเภทด้วย
- การลดความเสี่ยง – กระบวนการลดความเสี่ยงจัดทำขึ้นเพื่อใช้บริหารความเสี่ยงด้านภาษีที่สำคัญ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสี่ยงด้านภาษีที่อาจมีขึ้นในอนาคตให้อยู่ในระดับที่สามารถรับได้ การลดความเสี่ยงประกอบด้วย:
- ยอมรับความเสี่ยง – ยอมรับว่ามีความเสี่ยงแบบเฉพาะเจาะจงเกิดขึ้น
- ติดตามความเสี่ยง – ติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกระบวนการควบคุมและการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับภาษีอากรที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงด้านภาษี
- ควบคุมความเสี่ยง – ดำเนินงานตามกระบวนการดำเนินการทางภาษีเพื่อลดผลกระทบหรือความเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสี่ยงดังกล่าว
- หลีกเลี่ยงความเสี่ยง – ปรับกระบวนการดำเนินการหรือบทบาททางภาษี เพื่อขจัดหรือลดความเสี่ยง
- โอนย้ายความเสี่ยง – มอบหมายความพร้อมรับผิด หน้าที่ความรับผิดชอบ และอำนาจในการดำเนินการให้ผู้มีส่วนได้เสียที่พร้อมรับความเสี่ยง หรือทำประกันความเสี่ยงกับกลุ่มหรือบริษัทรับประกัน
- กลไกควบคุม – กลไกควบคุมคือระบบควบคุมภายในที่บริษัทฯ จัดทำขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความเสี่ยง ทั้งนี้ การควบคุมจะมีการดำเนินการในส่วนงานทุกระดับทั่วทั้งองค์กร ซึ่งจะมีการดำเนินงานเป็นระยะและขั้นตอนต่าง ๆ ภายในกระบวนการดำเนินธุรกิจและได้รับการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีที่พร้อมนำมาใช้งาน
การควบคุมประกอบด้วยการออกแบบ ดำเนินการให้เกิดผล และจัดทำระบบควบคุมสำคัญต่าง ๆ เพื่อควบคุมความเสี่ยงที่อยู่ในกระบวนการทำงาน ระบบควบคุมหลัก ได้แก่ การอนุญาตและการอนุมัติ การตรวจสอบความถูกต้อง การปรับแก้ไข การพิจารณาผลประกอบการของธุรกิจ และการแบ่งแยกหน้าที่ โดยระบบควบคุมทั้งหมดนี้จะมีการประกาศและเผยแพร่ทั่วทั้งองค์กร
บริษัทฯ ติดตามและประเมินกลไกการควบคุมภายในเป็นประจำ โดยมีการประเมินประสิทธิผลของระบบควบคุมภายในและแก้ไขปัญหาการควบคุมที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
มิติที่ 2: กำหนดความเสี่ยงด้านภาษี
ความเสี่ยงด้านภาษีสามารถแบ่งออกเป็น 2 มิติ ซึ่งทุกองค์กรต้องเผชิญกับความเสี่ยงหลากหลายรูปแบบ ทั้งจากปัจจัยภายนอกและภายในที่ต้องมีการติดตามและประเมินตลอดเวลา ความเสี่ยงด้านภาษีที่อาจมีขึ้นสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ :
- ความเสี่ยงจากธุรกรรมทางธุรกิจ คือ ความเสี่ยงและการเปิดรับความเสี่ยงที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกรรมที่บริษัทฯ ได้ทำขึ้น อาทิ การซื้อกิจการ การขายหุ้นกิจการหรือสินทรัพย์ การผนวกรวมกิจการ ธุรกรรมทางการเงิน ธุรกรรมข้ามพรมแดนที่มีภาษีเป็นแรงขับเคลื่อน การปรับโครงสร้างภายในองค์กร และการแต่งตั้งพนักงานไปประจำในต่างประเทศ
- ความเสี่ยงจากการดำเนินงาน คือ ความเสี่ยงในการใช้กฎหมายและข้อบังคับภาษีอากร และการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจตามปกติขององค์กรธุรกิจ อาทิ การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ รูปแบบการปฏิบัติงานใหม่ และการดำเนินงานในทำเลใหม่
- ความเสี่ยงในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับด้านภาษี ครอบคลุมถึงการวางแผน การดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ และการพิจารณาทบทวนเกี่ยวกับการคืนภาษี รวมถึงความเสี่ยงในกระบวนการดังกล่าว และความสอดคล้องตรงตามข้อกำหนดของหน่วยกำกับดูแลภาษีอากร ทั้งนี้ เพื่อให้การยื่นแบบขอคืนภาษีและแสดงรายการภาษีมีความถูกต้องและทันกาลตรงตามกำหนดเวลา
- ความเสี่ยงทางการเงินและการบัญชี เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี และการเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายและระบบการบัญชีของรายงานทางการทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS: International Financial Reporting Standard) มาตรฐานการบัญชีที่ยอมรับโดยทั่ว ๆ ไป (GAAP: Generally Accepted Accounting Principles)
- ความเสี่ยงด้านการบริหาร/ทรัพยากรบุคคล คือ ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนบุคลากรที่ดูแลด้านภาษีโดยไม่มีการแต่งตั้งบุคลากรคนใหม่เพื่อดำรงตำแหน่งแทนอย่างเหมาะสม และความเสี่ยงจากกลยุทธ์การว่าจ้างบุคลากรใหม่ ทั้งนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า การจัดทำเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลภาษีและกระบวนการดำเนินงานของส่วนงานภาษีมีความถูกต้องและเหมาะสม
- ความเสี่ยงด้านชื่อเสียง คือ ผลกระทบที่อาจเกิดกับชื่อเสียงของกลุ่มบริษัทฯ
มิติที่ 3: ประเภทของภาษีที่ระบุไว้
ภาษีสำคัญที่ระบุไว้ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีสรรพสามิต และภาษีที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่บังคับใช้ในพื้นที่ดำเนินการของบริษัทฯ และบริษัทในกลุ่ม รายละเอียดสำคัญของภาษีแต่ละประเภทมีดังนี้
ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้นิติบุคคล – ข้อกำหนดการใช้สิทธิประโยชน์เหล่านี้จำเป็นต้องมีบันทึกทางบัญชีที่เข้มงวด และมีการติดตามผลของการดำเนินการทางธุรกิจอย่างเหมาะสม
- กฎระเบียบสำคัญ ๆ – ความเสี่ยง คือ การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเทศขององค์กรธุรกิจ อาจก่อให้เกิดผลทางภาษีที่ไม่พึงประสงค์ อาทิ ความเสี่ยงจากการได้รับบทลงโทษ
- การติดตามการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและข้อบังคับด้านภาษีอย่างต่อเนื่อง
- ระบบภาษีมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น มีหลายประเทศเปิดใช้แบบแสดงรายการคืนภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้น บริษัทฯ จึงต้องมั่นใจว่า บริษัทฯ มีศักยภาพพร้อมดำเนินการตามข้อกำหนดของระบบภาษีดังกล่าวทั้งหมด
ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีสินค้าและบริการ
- ความเสี่ยงด้านระบบห่วงโซ่อุปทาน – ผู้ประกอบการควรมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการห่วงโซ่อุปทาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม การเปลี่ยนแปลงระบบห่วงโซ่อุปทาน ทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
- ความเสี่ยงทางภูมิศาสตร์ – ผู้ประกอบการต้องมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องและเหมาะสมเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของแต่ละพื้นที่ เพื่อให้มั่นใจว่าการจดทะเบียนและอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศที่ผู้ประกอบการดำเนินกิจการหรือเตรียมประกอบกิจการมีความจำเป็นหรือไม่
- ความเสี่ยงทางด้านการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วยโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดโดยมนุษย์ การกระทบยอดของใบแจ้งหนี้ที่มีเอกสารสนับสนุน การจัดเตรียมเอกสารที่จำเป็นสำหรับการตรวจสอบภาษี
- ความเสี่ยงภายนอก อาทิ การจัดทำระเบียบข้อบังคับทางกฎหมายใหม่ ๆ การตรวจสอบภาษีที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- ภาษีซ้อน การประกาศใช้ภาษีหัก ณ ที่จ่าย เป็นผลจากการมีภาษีซ้อนเกิดขึ้น ดังนั้น การพิจารณากำหนดอัตราภาษีซ้อนที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
- ในบางประเทศ ค่าใช้จ่ายหลากหลายประเภท และ/หรือภายใต้นิยามต่าง ๆ ต้องมีภาษีมูลค่าเพิ่ม อาทิ ค่าจัดการ หรือค่าวิชาชีพ ค่าสิทธิ (Royalties)
- ในบางประเทศ มีการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มกับบริษัทต่างชาติในส่วนของผลกำไร หรือรายได้จากสินทรัพย์ที่บริษัทนั้น ๆ เป็นเจ้าของ
- มีเครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่ายของกิจการต่างชาติในส่วนการขอคืนภาษีเงินได้นิติบุคคล
- กำหนดให้มีการรายงานการใช้จ่าย ในบางประเทศกำหนดให้มีการจัดทำรายงานประจำปีภายในระยะเวลาที่กำหนด หลังจากมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย
ภาษีสรรพสามิต
- บังคับใช้และให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีสรรพสามิต
- กำหนดภาษีสรรพสามิตอย่างถูกต้อง เพื่อนำไปใช้กับวิชาชีพทางด้านพลังงาน ปิโตรเคมี และเคมี รวมทั้งมีการใช้พิกัดอัตราภาษีที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ อย่างเหมาะสม
- จำแนกอัตราภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าที่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิต และสินค้าที่ซับซ้อนอื่น ๆ
ในระหว่างการจัดเก็บข้อมูลพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ ส่วนงานกฎหมายทั้งหมดในสังกัดของบริษัทฯ จะมีหน้าที่ป้อนข้อมูลตามขอบเขตการควบคุมภาษี และติดตามประเมินผลอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การดำเนินงานภายใต้ขอบเขตการควบคุมภาษีดังกล่าวเป็นไปอย่างเหมาะสม พร้อมทั้งรายงานการดำเนินการภายใต้ขอบเขตการควบคุมภาษีให้คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ รับทราบเป็นประจำ