นวัตกรรมแบบเปิด
บริษัทฯ วิจัยและพัฒนาผ่านทางนวัตกรรมแบบเปิด (Open Innovation) โดยสร้างเครือข่ายกับองค์กรภายนอกทั้งภายในและต่างประเทศ อาทิ สถาบันวิจัย สถาบันการศึกษา และภาคธุรกิจ รวมทั้งเพิ่มช่องทางและโอกาสในการเข้าถึงงานวิจัยของมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมใน Research Consortium
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ก่อตั้ง จีซี เวนเจอร์ส ขึ้นเพื่อร่วมลงทุนในรูปแบบ Corporate Venture Capital (CVC) กับบริษัทสตาร์ทอัพและกองทุนด้านเทคโนโลยีเพื่อค้นคว้าและพัฒนากระบวนการผลิตและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับบริษัทฯ โดย มุ่งเน้นการพัฒนาใน 4 กลุ่มเทคโนโลยี ดังนี้ 1) วัสดุขั้นสูง (Advanced Materials) 2) พลังงานหมุนเวียนและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Renewable / Circularity) 3) การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero) และ 4) ดิจิทัลอุตสาหกรรม (Industrial Digital) ซึ่งล้วนเป็นเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศในปัจจุบันและอนาคต ตัวอย่างของนวัตกรรมแบบเปิด ดังโครงการต่อไปนี้
ข้อมูลเพิ่มเติม: การลงทุน และข้อมูล จีซี เวนเจอร์ส สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้บนเว็บไซต์: https://www.pttgcgroup.com/th/products-and-innovations/gc-ventures
1) วัสดุขั้นสูง (Advanced Material)

Inkbit
Inkbit พัฒนาเทคโนโลยีด้านการพิมพ์สามมิติในเทคนิคที่เรียกว่า “Vision Control Jetting” โดยใช้พอลิเมอร์เหลวที่กลายเป็นของแข็งเมื่อสัมผัสกับแสงที่มีประสิทธิภาพสูง (High Performance Photopolymers) เพื่อเสริมศักยภาพ การผลิตและการขึ้นรูปแบบสามมิติ

actnano
actnano พัฒนาความเชี่ยวชาญด้านวัสดุขั้นสูง (Advanced Materials) และยังเป็นการต่อยอดจากการลงทุนของบริษัทฯ ที่ลงทุนกองทุนเทคโนโลยี Emerald Industrial Innovation Fund (EIIF) ซึ่งเป็นกองทุนระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน

Boston Materials
บริษัทเจ้าของเทคโนโลยีวัสดุคอมโพสิตสมรรถนะสูง เสริมแรงเส้นใยแบบ Z-Axis ซึ่งมีผู้ร่วมลงทุน เช่น GS, Good Growth Capital และอื่นๆ

Interface Polymers
ผู้พัฒนาเทคโนโลยี Compatibilization สำหรับเม็ดพลาสติกที่แตกต่างชนิดกันเพื่อผลักกันเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy). ผู้ร่วมลงทุนได้แก่ EVONIK, Ingevity และ PORUS

NirvaMed
เทคโนโลยีการทำความเย็นหัวใจ เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจโต โดยมีการลงทุนใน NirvaMed ร่วมกับ โรงพยาบาลศิริราช, BDMS, และ Smart Corp เป็นต้น
2) พลังงานหมุนเวียนและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Renewable/Circularity)

Tidal Vision
โซลูชั่นด้านการผลิตไคโตซานต้นทุนต่ำและสะอาด กับผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนประกอบของโพลิเมอร์ที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ ซึ่งผู้ร่วมลงทุน ประกอบด้วย JW Asset Management, Pangea, SOSV เป็นต้น

Lakril Technologies
เทคโนโลยี Bio-acrylic acid ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อย CO2 สร้างทางเลือกที่แข่งขันได้แทนปิโตรเคมี
3) กลุ่มการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero)

ESS inc.
ESS Inc. พัฒนาเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage System) แบบแบตเตอรีเหลว (Flow Battery) ที่มีความทนทานและมีประสิทธิภาพสูง

Phase Change Energy Solutions (PCES)
PCES มุ่งเน้นการพัฒนาวัสดุทางชีวภาพ เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในห่วงโซ่อุปทานของการขนส่ง Cold Chain ของผลิตภัณฑ์ชีวเภสัชกรรม

Econic
ผู้พัฒนาเทคโนโลยีการใช้ประโยชน์จากคาร์บอนเพื่อนำ CO2 ที่ดักจับได้มาใช้ผลิตโพลิเมอร์อย่างยั่งยืน บริษัทฯ ลงทุนใน Econic ร่วมกับนักลงทุนด้าน Climate tech ระดับโลก เช่น Capricorn Partners และ OGCI (Oil & Gas Climate Initiative) เป็นต้น

Ardent
ผู้พัฒนา Advanced CO2 Membrane สำหรับโครงการ CCUS (Carbon Capture, Utilization & Storage) ผู้ร่วมลงทุนได้แก่ Pangaea, Solvay, Saudi Aramco และ Mitsubishi เป็นต้น

Turnover Labs
แพลตฟอร์มไฟฟ้าเคมีสำหรับ CCU เปลี่ยน CO2 เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง
1) วัสดุขั้นสูง (Advanced Material)

PANGAEA
Pangaea Venture Fund IV และ Impact Fund เป็นกองทุนด้านเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญด้านวัสดุขั้นสูง (Advanced Materials) ที่มีการเติบโตและมุ่งเน้นในธุรกิจพลังงาน อิเล็กทรอนิกส์ สุขภาพและความยั่งยืน ในประเทศแคนาดา

GRC SinoGreen
กองทุน GRC SinoGreen เป็นกองทุนในประเทศจีนที่ลงทุนในธุรกิจการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน ดิจิทัล วัสดุขั้นสูง และสุขภาพ

Volta
กลุ่มทุน Venture Capital (VC) ในสหรัฐอเมริกาที่ลงทุนในบริษัทที่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV)
2) พลังงานหมุนเวียนและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Renewable/Circularity)

ECBF
กองทุนร่วมลงทุนในประเทศลักซัมเบิร์กที่ลงทุนในธุรกิจกลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพหมุนเวียน (Circular Bioeconomy)

Infinity Recycling
Infinity Recycling Circular Plastics Fund I เป็นกองทุนของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (EU) ที่ลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีเศรษฐกิจหมุนเวียนและรีไซเคิลพลาสติกขั้นสูง เพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนของกลุ่มบริษัทและการจัดการกับปัญหาขยะพลาสติก)
3) กลุ่มการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ (Net Zero)

Emerald
Emerald Industrial Innovation Fund เป็นกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสะอาดในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ ตามทิศทางความต้องการของตลาดและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
4) เทคโนโลยีดิจิทัลทางอุตสาหกรรม (Industrial Digital)

BUILDERS
Builders VC Fund I เป็นกองทุนด้านเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญด้านดิจิทัลในประเทศสหรัฐอเมริกาที่สร้างการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ และอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ


บริษัทฯ กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (KMUTNB) ได้มีการร่วมมือกันในการพัฒนาหุ่นยนต์และระบบควบคุมสำหรับตรวจสอบถังเก็บสารเคมีขนาดใหญ่ ซึ่งมีความแม่นยำสูงและมีอัตราการผิดพลาดเพียงร้อยละ 0.3 นอกจากนี้การใช้หุ่นยนต์ดังกล่าวในการตรวจสอบสามารถลดความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน และลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุของแรงงานในการสำรวจถังได้อีกด้วย ทั้งนี้จากการปฏิบัติงานในโรงงานผลิตอะโรเมติกซ์ โครงการนี้สามารถลดค่าใช้จ่าย ในการตรวจสอบถึง 3 ล้านบาทต่อปี และได้รับการจดอนุสิทธิบัตรเครื่องตรวจวัดพื้นผิวแบบเคลื่อนที่ได้ด้วยเช่นกัน

บริษัทฯ ได้มีการอนุญาตให้ใช้สิทธิ (License Out) แก่บริษัทชั้นนำด้านผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพในประเทศสหรัฐอเมริกา ในเทคโนโลยีการสังเคราะห์ Dicyclopentadiene (DCPD) Modified Ester Oligomers ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมสารเคลือบผิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโลหะและคอนกรีต เนื่องจาก เทคโนโลยีดังกล่าวสามารถ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของสารเคลือบให้สามารถทนทานต่อการกัดกร่อน มีคุณสมบัติทางกล และคุณสมบัติการแห้ง รวมถึงการให้อุณหภูมิและแสงอัลตราไวโอเลตที่ดี สามารถสร้างรายได้ประเมินให้แก่บริษัทฯมูลค่ากว่า 84 ล้านบาท

ศูนย์ความร่วมมือและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Customer Solution Center: CSC) เป็นช่องทางที่มีประสิทธิภาพของบริษัทฯ ในการนำความต้องการโดยตรงของลูกค้า แรงจูงใจในการซื้อของคู่ค้า/คู่ธุรกิจ บริษัทสตาร์ทอัพและรัฐบาล มาพัฒนานวัตกรรมของบริษัทฯ ให้เป็นผลิตภัณฑ์สู่เชิงพาณิชย์ นอกจากนี้ CSC ช่วยให้บริษัทฯ ขยายโอกาสในการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า รวมถึงหน่วยงานต่างๆ อาทิ สถาบันพลาสติก (Plastic Institute of Thailand: PITH) สำหรับตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จจากศูนย์ CSC สามารถนำไปต่อยอดสร้างรายได้ จากการจำหน่ายสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้า "Upcycling by GC" ซึ่งบริษัทฯ ได้พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่า ทันสมัย และเกิดประโยชน์สูงสุดจากการใช้ทรัพยากร