บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนภายในกลุ่มบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2558 เพื่อระบุมาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานของบริษัทฯ ตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยการประเมินความเสี่ยงนี้ครอบคลุมกิจกรรมต่างๆ ในระดับประเทศ กลุ่มอุตสาหกรรม และระดับพื้นที่ปฏิบัติการที่กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจ และบริษัทร่วมทุนที่บริษัทฯ มีสิทธิในการควบคุมการจัดการ รวมถึงคู่ค้าที่สำคัญในกลุ่มจัดหาวัตถุดิบ สินค้า และการบริการของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี

เพื่อจัดทำแนวทางการจัดการในพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้อง การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้นกับกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้พิการ สตรี ชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม ชนพื้นเมือง ชุมชนท้องถิ่น เพศทางเลือก ผู้สูงอายุ และสตรีตั้งครรภ์ และการประเมินโอกาสที่อาจเกิดผลกระทบในระดับประเทศ ระดับปฏิบัติงาน และระดับบุคคล โดยเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ โอกาสที่จะเกิดขึ้นและผลกระทบ ครอบคลุมสิทธิมนุษยชน ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ สิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน ห่วงโซ่อุปทาน ความมั่นคงปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และสิทธิผู้บริโภค

จากผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการควบคุมและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และประเมินความเสี่ยงที่เหลืออยู่ (Residual Risks) หลังจากจัดทำแนวทางการป้องกันและแก้ไขด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพในการควบคุมผลกระทบตลอดห่วงโซ่คุณค่า

แผนผังประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ

ระดับความเสี่ยง

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง: ผลกระทบ

ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านขนาด ขอบข่าย และข้อจำกัดของความสามารถในการฟื้นฟูแก้ไขผลกระทบด้านลบที่เกิดขึ้นอย่างน้อยให้กลับไปมีสภาพดังเดิม

ระดับของผลกระทบ

4 สูงมาก

ลักษณะของผลกระทบ
  • ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนส่งผลกระทบในวงกว้างหรือส่งผลต่อกลุ่มประชากรที่เกินกว่าขอบเขตของพื้นที่ปฏิบัติการ
  • บริษัทฯ ไม่สามารถควบคุมหรือบรรเทาผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อฟื้นฟูให้ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนได้สิทธินั้นกลับคืนมาได้
  • ผลกระทบ / เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนมีความจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกที่เป็นอิสระ และมีความน่าเชื่อถือ เพื่อไกล่เกลี่ยปัญหาร่วมกับบริษัทฯ

ระดับของผลกระทบ

3 สูง

ลักษณะของผลกระทบ
  • บริษัทฯ มีความจงใจในการให้ความช่วยเหลือ หรือให้การสนับสนุนการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน (Legal Complicity)
  • ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่เป็นผลจากการดำเนินงานของบริษัทฯ หรือห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ ส่งผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ปฏิบัติการ
  • บริษัทฯ มีความขัดแย้งด้านสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มเสี่ยง หรือกลุ่มที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ (Vulnerable Group)

ระดับของผลกระทบ

2 ปานกลาง

ลักษณะของผลกระทบ
  • บริษัทฯ ได้รับผลประโยชน์จากการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนโดยหน่วยงานอื่น (Non-Legal Complicity)
  • บริษัทฯ ไม่สามารถตอบสนองต่อข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับด้านสิทธิมนุษยชนจากผู้มีส่วนได้เสียภายในหรือภายนอกได้

ระดับของผลกระทบ

1 ต่ำ

ลักษณะของผลกระทบ
  • ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากข้อกังวลด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้เสียจากภายในหรือภายนอกได้รับการป้องกันแก้ไขในระดับพื้นที่ปฏิบัติการ และโดยกลไกการจัดการข้อร้องเรียนของบริษัทฯ

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง: โอกาสที่จะเกิดขึ้น

ระดับโอกาสที่จะเกิดขึ้น ลักษณะของโอกาสที่จะเกิดขึ้น
4 มีโอกาสสูง (>25%) เหตุการณ์เกิดขึ้นภายในพื้นที่ปฏิบัติการหลายครั้งต่อปี
3 มีโอกาสปานกลาง (10-25%) เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติการเป็นครั้งคราว
2 มีโอกาสน้อย (1-10%) เหตุการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่ปฏิบัติการน้อยมาก แต่มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
1 มีโอกาสน้อยมาก (<1%) เหตุการณ์เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมที่เป็นประเภทเดียวกับพื้นที่ปฏิบัติการ แต่เหตุการณ์ดังกล่าวมีความเป็นไปได้น้อยที่จะเกิดขึ้นกับพื้นที่ปฏิบัติการ

ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (Results from Human Rights Risk Assessment)

พื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ
(รวมถึงบริษัทร่วมทุนที่บริษัทฯ มีสิทธิในการควบคุมการจัดการ)
คู่ค้าในกลุ่มจัดหาวัตถุดิบ
(Tier 1 Feedstock Suppliers)
คู่ค้าในกลุ่มจัดหาสินค้า และบริการอื่น ๆ
(Tier 1 Non-Feedstock Suppliers)
ประเด็นความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
สิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน สายโซ่อุปทาน ความมั่นคงปลอดภัย สิ่งแวดล้อม สิทธิผู้บริโภค
  • สภาพการจ้างงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัย ของพนักงาน
  • เสรีภาพในการสมาคมและการเจรจาต่อรอง
  • การเลือกปฏิบัติต่อพนักงาน
  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน
  • สุขภาพและความปลอดภัยในชุมชน
  • มาตรฐานการครองชีพและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน
  • การโยกย้ายถิ่นฐาน
  • การจ้างแรงงานผิดกฎหมายจากการจัดหาวัตถุดิบ (Feedstock)
  • การเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้าที่จัดหาวัตถุดิบ (Feedstock)
  • การจ้างแรงงานผิดกฎหมายจากการจัดหาสินค้าและบริการอื่นๆ (Non-Feedstock)
  • การเลือกปฏิบัติต่อคู่ค้าที่จัดหาสินค้าและบริการอื่นๆ (Non-Feedstock)
  • การจัดการความปลอดภัย
  • ผลกระทบเชิงลบทางสิ่งแวดล้อม
  • สุขภาพและความปลอดภัยของลูกค้า
  • การเลือกปฏิบัติต่อลูกค้า
  • การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า

ร้อยละของพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนและมีแนวทางการควบคุม

ร้อยละของพื้นที่ปฏิบัติการที่ได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ร้อยละของพื้นที่ปฏิบัติการที่พบว่ามีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ร้อยละของพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่มีการป้องกัน บรรเทา และกระบวนการเยียวยาผลกระทบ
พื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ ทั้งหมด 100 (18 พื้นที่ปฏิบัติการ) 83.33 100*
คู่ค้าทางธุรกิจที่สำคัญในกลุ่มจัดหาวัตถุดิบ และการบริการ (Tier 1 Feedstock and 1 Non-Feedstock Suppliers) 100 (1,898 ราย) 99.68 100**
พื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทร่วมทุนทั้งหมด*** 100 (7 พื้นที่ปฏิบัติการ) 100 100

หมายเหตุ: ข้อมูลผลการประเมินเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2021

* ร้อยละ 100 ของพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ ที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (หรือคิดเป็นจำนวน 15 พื้นที่) ได้กำหนดแนวทางการควบคุมความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

** ร้อยละ 100 ของคู่ค้าทั้งหมด ที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (หรือคิดเป็นจำนวน 1,898 ราย) ได้กำหนดแนวทางการควบคุมความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

*** บริษัทฯ มีอำนาจในการควบคุมจัดการกับบริษัทร่วมทุนทั้งหมด

ประเด็นที่สำคัญด้านสิทธิมนุษยชนซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

ระดับความเสี่ยง

จากการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ (รวมคู่ธุรกิจที่บริษัทฯ มีสิทธิในการควบคุมการจัดการ) พบว่า พื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ มีระดับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เหลืออยู่ อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง โดยบริษัทฯ ได้จัดทำแนวทางควบคุมและฟื้นฟูประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้

นอกจากนี้ สำหรับการประเมินความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนของคู่ค้าที่สำคัญในการจัดหาวัตถุดิบ สินค้า และการบริการ (Tier 1 feedstock and non-feedstock Suppliers) พบว่า คู่ค้ามีความเสี่ยงทางด้านสิทธิมนุษยชนในประเด็นด้านสภาพการจ้างงาน สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน สุขภาพและความปลอดภัยชุมชน ผลกระทบจากมลพิษและการจัดการของเสีย เป็นต้น โดยคู่ค้ามีแนวทางควบคุมและฟื้นฟูประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน เช่น โครงการ Safety Network and Sharing โครงการตรวจสุขภาพ และเฝ้าระวังทางสาธารณสุข การบริหารจัดการการจัดจ้างจัดซื้ออย่างยั่งยืน จรรยาบรรณทางธุรกิจ และอื่นๆ แล้ว อย่างไรก็ตามทางบริษัทฯ ได้มี Vendor Management Procedure เพื่อบริหารจัดการคู่ค้า รวมถึง กำหนดมาตรการในการควบคุมและบรรเทาความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากคู่ค้าที่ระบุอยู่ในจรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า โดยคู่ค้าต้องลงนามการรับรู้จรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้าและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด

Vendor Management Procedure

มาตรการบรรเทาผลกระทบ:

  • การลงนามการรับทราบและปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต จัดหาสินค้า วัตถุดิบ และการบริการ
  • การติดตามตรวจสอบและประเมินคู่ค้า ผ่านทาง Vendor Criticism Form และประเมินประสิทธิภาพของคู่ค้าประจำปี และการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลที่ดี (Supplier Environmental, Social and Governance evaluation: Supplier ESG Evaluation).
  • การตรวจประเมินตนเองของคู่ค้า

องค์กรคาร์บอนต่ำ GC พร้อมให้ความสำคัญกับการประเมินความเสี่ยงและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อการจัดการและผลักดันธุรกิจสู่การเติบโตบนพื้นฐานของความยั่งยืน ร่วมกับการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมด้านปิโตรเคมีและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ Sustainable Living ที่จะสามารถช่วยลดโลกร้อนและลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อชีวิตที่ดีกว่าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด