การวัดผลและประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง
กรณีศึกษาที่ 1 – บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน)
บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เป็นบริษัทในกลุ่ม พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ที่มีวิสัยทัศน์เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน
ผลิตภัณฑ์หลักของ GGC ได้แก่ เมทิลเอสเทอร์ (Methyl Ester) หรือ B100 แฟตตี้แอลกอฮอล์ (Fatty Alcohols) และกลีเซอรีน (Refined Glycerin) ที่ผลิตจากปาล์มน้ำมันดิบที่ได้มาจากชาวสวนปาล์ม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และปลอดภัยต่อสุขภาพ
ผลกระทบจากปัจจัยนำเข้า ผลกระทบจากผลผลิต และผลกระทบภายนอกจากการดำเนินธุรกิจของ GGC ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสรุปไว้ดังนี้
ผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ ผลกระทบเชิงบวก 2 ข้อ และผลกระทบเชิงลบ 1 ข้อ ดังนี้
ผลกระทบเชิงบวก: ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการใช้ไบโอดีเซล ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
ผลกระทบเชิงบวก: ลดการกำจัดของเสียจากการรีไซเคิลทะลายปาล์มเปล่า (เช่น การใช้เพื่อการเกษตรกรรมของชุมชนท้องถิ่น)
ผลกระทบเชิงลบ: น้ำใช้สำหรับชุมชนท้องถิ่นถูกจำกัด เนื่องจากการจัดสรรไปเพื่อการปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น
ผลกระทบภายนอกด้านสังคม
ได้แก่ ผลกระทบเชิงบวก 3 ข้อ และผลกระทบเชิงลบ 1 ข้อ ดังนี้
ผลกระทบเชิงบวก: ทำให้คุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นให้ดีขึ้น ด้วยการเพิ่มรายได้จากการรีไซเคิลของเสีย (ทะลายปาล์มเปล่า) เพื่อการเกษตรกรรม
ผลกระทบเชิงบวก: ลดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน อันเนื่องมาจากการใช้ไบโอดีเซล ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
ผลกระทบเชิงบวก: ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวสวนปาล์มน้ำมันให้ดีขึ้น เช่น จากการเพิ่มรายได้จากการขายปาล์มน้ำมันเพื่อเป็นวัตถุดิบเริ่มต้นของกระบวนการผลิตเมทิลเอสเทอร์
ผลกระทบเชิงลบ: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร เช่น น้ำมันปาล์มดิบเพื่อการบริโภค
ค่าประเมินที่เกิดขึ้นจริง
จากการประเมินมูลค่าความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจของบริษัท GGC คือ 19,464 ล้านบาท ดังสรุปไว้ดังภาพด้านล่าง
กรณีศึกษาที่ 2 – บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด (PTTMCC)
บริษัท พีทีที เอ็มซีซี ไบโอเคม จำกัด หรือ PTTMCC เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท มิตซูบิชิ เคมิคอล จำกัด
โดยบริษัท PTTMCC เป็นบริษัทที่ผลิต bio-based Polybutylene Succinate (BioPBSTM) ซึ่งเป็นพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ โดยผลิตจากกรดไบโอซักซินิก (Bio-Succinic Acid) ที่มีวัตถุดิบหลักมาจากน้ำตาล ซึ่งผลิตภัณฑ์ BioPBSTM ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในหลากหลายด้าน เช่น การเคลือบกระดาษ การผสม การผลิตบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น
ผลกระทบจากปัจจัยนำเข้า ผลกระทบจากผลผลิต และผลกระทบภายนอกจากการดำเนินธุรกิจของ PTTMCC ที่มีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสรุปไว้ดังนี้
ผลกระทบภายนอกด้านสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ ผลกระทบเชิงบวก 3 ข้อ และผลกระทบเชิงลบ 1 ข้อ ดังนี้
ผลกระทบเชิงบวก: ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากการใช้พลาสติกที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
ผลกระทบเชิงบวก: ลดปริมาณของเสียพลาสติกที่ถูกกำจัดสู่สิ่งแวดล้อม เนื่องจาก BioPBSTM เป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
ผลกระทบเชิงบวก: ลดปริมาณน้ำเสียโดยการรีไซเคิลกากน้ำตาลและชานอ้อย เพื่อผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ
ผลกระทบเชิงลบ: น้ำใช้สำหรับชุมชนท้องถิ่นถูกจำกัด เนื่องจากการจัดสรรไปเพื่อการปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น
ผลกระทบภายนอกด้านสังคม
ได้แก่ ผลกระทบเชิงบวก 2 ข้อ และผลกระทบเชิงลบ 1 ข้อ ดังนี้
ผลกระทบเชิงบวก: ลดผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชน อันเนื่องมาจากการใช้พลาสติกที่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ
ผลกระทบเชิงบวก: ทำให้คุณภาพชีวิตของชาวอ้อยให้ดีขึ้น เช่น จากการเพิ่มรายได้จากการขายอ้อยเพื่อเป็นวัตถุดิบเริ่มต้นของกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ
ผลกระทบเชิงลบ: ผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร เช่น ปริมาณน้ำตาลเพื่อใช้ในการบริโภค
ค่าประเมินที่เกิดขึ้นจริง
จากการประเมินมูลค่าความยั่งยืนของการดำเนินธุรกิจของบริษัท PTTMCC คือ 1,441 ล้านบาท ดังสรุปไว้ดังภาพด้านล่าง
ข้อจำกัด:
- การประเมินนี้เป็นโครงการศึกษานำร่อง ซึ่งไม่ใช่การศึกษาเต็มรูปแบบ
- โครงการศึกษานำร่องนี้ ใช้ข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ เพื่อเป็นตัวแทนและสมมติฐานในการคำนวณค่าผลกระทบภายนอกและค่าประเมินที่เกิดขึ้นจริง