ระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

บริษัทฯ บูรณาการระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจโดยการนำระบบมาตรฐานการจัดการอาชีวอนามัย และความปลอดภัย ISO 45001 ระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ISO 22301 (Business Continuity Management System: BCMS) และ GC Management System (GCMS) มาใช้บริหารจัดการภาวะฉุกเฉินและวิกฤต เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุดตามมาตรฐานระบบการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCMs Standard)

ทั้งนี้ ในกรณีเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจะมีบุคลากรที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Manager: EM) ทำหน้าที่ในการประเมินสถานการณ์ ก่อนกำหนดแนวทางในการจัดการ ซึ่งแบ่งระดับภาวะฉุกเฉินออกเป็น 3 ระดับคือ

Emergency level 1
(Plant level)

Non-Violent emergency event, which the situation can be controlled by Emergency Response Team.

Emergency level 2
(Plant level)

Minor emergency event which the situation might affect surrounding communities and requires additional resources to manage situation.

Emergency Level 3 and Crisis Situation
(Province / Country Level)

Major emergency event which the situation’s impact reaches province/city level and requires additional resources to control the situation.

Business Continuity Management
(Business Interruption)

Major disruption event which significantly impact company's reputation, regulation, and business continuity.

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการบริหารภาวะวิกฤติและความต่อเนื่องทางธุรกิจ ตั้งแต่ปี 2560 ที่ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ และที่สำนักงานระยอง รวมถึงมีศูนย์บัญชาการแบบออนไลน์ เพื่อใช้เป็นศูนย์บัญชาการในการติดตามเหตุการณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ ซึ่งศูนย์บัญชาการนี้จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถบริหารและควบคุมภาวะวิกฤติที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ และผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างทันท่วงที

การซ้อมแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

บริษัทฯ กำหนดให้มีการซ้อมแผนบริหารภาวะวิกฤต (Crisis Management) และความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) เป็นประจำทุกปี เพื่อให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ภัยคุกคามใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับการประเมินความเสี่ยงในระดับองค์กร โดยในปี 2567 บริษัทฯ ได้มีการซ้อมแผนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจระดับองค์กร 2 ครั้งในกรณีเกิดเรือขวางร่องน้ำมาบตาพุด และกรณีเหตุคุกคามทางไซเบอร์กับระบบปฏิบัติการของโรงงาน เพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริหาร และพนักงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบถึงบทบาทหน้าที่และสิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติการณ์ขึ้น และช่วยให้สามารถบ่งชี้ถึงข้อบกพร่องต่าง ๆ ในการดำเนินมาตรการสำรอง เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขก่อนที่จะเกิดอุบัติการณ์จริงขึ้น

การอบรมด้านการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ (GC's Training in Business Continuity Plan)

บริษัทฯ มีการจัดอบรมแลกเปลี่ยนความรู้กับบริษัทในกลุ่ม รวมถึงการจัดทำหลักสูตรการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจในรูปแบบ E-learning ให้ผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาศึกษาได้ตลอดเวลา รวมถึงสร้าง BCM all-in-one Plantform เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร และ เอกสารที่เกี่ยวข้องด้าน BCM เพื่อให้พนักงานมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ และส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่งขององค์กร ทั้งนี้ในปี 2567 บริษัทฯ ให้ความสำคัญเรื่องภัยคุกคามทางไซเบอร์จึงมีการส่งพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมอบรมหลักสูตร Cyber Security leadership กับสถาบันผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำองค์ความรู้มาต่อยอดในการซ้อมแผนฯ และ ยังได้มีการจัดทำ Newsletter สื่อสารและให้ความรู้กับพนักงานทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้พนักงานมีตระหนักถึงความสำคัญ และ มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

อีกทั้งบริษัทฯ มีช่องทางการสื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงและระบบควบคุมภายใน รวมถึงการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่หลากหลาย อาทิ การสื่อสารผ่านระบบอินทราเน็ต จดหมายข่าว รวมทั้งมีการนำระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เป็นช่องทางการรายงานข้อมูลเหตุฉุกเฉินและเป็นศูนย์รวมข้อมูล เช่น ระบบจัดการข้อมูลกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน (Incident Management System: IMS) เป็นต้น

ช่องทางการสื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงและการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ

บริษัทฯ จัดตั้งโครงสร้างคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง (Business Continuity Steering committee: BCS) และ เกณฑ์ในการพิจารณาระดับความรุนแรงของเหตุการณ์ รวมถึง กระบวนการในการพิจารณาประกาศใช้แผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ (BCP) เพื่อบริหารจัดการอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นและขยายความรุนแรงเป็นภาวะวิกฤตได้อย่างทันท่วงที และ เพื่อให้ผู้บริหารร่วมกันตัดสินใจและสั่งการได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้แต่ละหน่วยงานยังมีการจัดทำ call tree เพื่อใช้สื่อสารแจ้งเหตุฉุกเฉินภายในหน่วยงานให้ครบถ้วน

ทั้งนี้บริษัทฯ มีช่องทางการสื่อสารการบริหารจัดการความเสี่ยงและระบบควบคุมภายใน รวมถึงการบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจที่หลากหลายโดยมีการนำระบบดิจิทัลมาประยุกต์ใช้เป็นช่องทางการรายงานข้อมูลเหตุฉุกเฉินและเป็นศูนย์รวมข้อมูล อาทิ การสื่อสารผ่านระบบอินทราเน็ต จดหมายข่าว SMS การประชุมแบบออนไลน์ (เช่น Microsoft Teams) เป็นต้น