GRI 303-1 (2018) 303-2 (2018)

บริษัทฯ มีการทบทวน และวิเคราะห์กระบวนการดำเนินงานที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ ติดตามประมาณการใช้น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงเปิดเผยการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำ และความเป็นไปได้ของผลกระทบทางน้ำอย่างโปร่งใสสอดคล้องกับตามแนวทางของมาตรฐานสากล CEO Water Mandate ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และมาตรฐานระดับชาติ ได้แก่ มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Factory) ซึ่งมีแนวทางในการจัดการน้ำ อาทิ การจัดทำบัญชีรายการและปริมาณการใช้น้ำและปริมาณน้ำเสีย รวมทั้งสมดุลน้ำ (Water balance) การระบุกิจกรรมที่ใช้น้ำกับปริมาณน้ำเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการผลิตและกิจกรรมสนับสนุนอื่นๆ ขององค์กร รวมถึงการจัดทำแผนการดำเนินงาน และดำเนินมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการน้ำและน้ำเสียให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร เพื่อบริหารจัดการการใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในกระบวนการผลิต นำน้ำกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ และสร้างความร่วมมือตลอดโซ่อุปทาน โดยมุ่งเน้นการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า การใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำ และความรับผิดชอบต่อการใช้น้ำตลอดห่วงโซ่การผลิต เช่น การนำน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ การเพิ่มจำนวนรอบหมุนเวียนน้ำในระบบหล่อเย็น เป็นต้น

บริษัทฯ ยังได้ประเมินการใช้น้ำ ทั้งทางตรงและทางอ้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Water Footprint of Product: WF) ตามมาตรฐาน ISO 14046 และวิเคราะห์หาขั้นตอนที่มีการใช้น้ำอย่างมีนัยสำคัญ (Hotspot) เพื่อใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการใช้น้ำในกระบวนการผลิต ลดการดึงน้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติ และลดผลกระทบต่อการใช้น้ำจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังกำหนดมาตรการ และผลักดันให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง และส่งเสริมการจัดหาแหล่งน้ำทางเลือก เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีทรัพยากรน้ำเพียงพอต่อการเดินเครื่องของโรงงาน ไม่มีการหยุดชะงักของกระบวนการผลิต สอดคล้องกับการดำเนินการด้านการบริหารจัดการน้ำที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ทรัพยากรน้ำที่เหลือใช้มากขึ้น จะสามารถรองรับโครงการที่อาจมีการขยายเพิ่มเติมในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

บริษัทฯ กำหนดแผนการดำเนินงานเพื่อลดการใช้น้ำ ในระยะสั้น และระยะยาว โดยมีแผนการดำเนินงาน ดังนี้ 1) กำหนดกระบวนการในการระบุโอกาสในการลดการใช้น้ำโดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ 2) ติดตาม และพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และ 3) ทบทวนและประเมินพื้นที่อนุรักษ์น้ำอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้ง บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการผลิต โดยการนำน้ำกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ ผ่านโครงการปรับปรุงระบบน้ำภายในโรงงาน อาทิ โครงการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งผ่านระบบ Wastewater Reverse Omission (WWRO) และโครงการติดตั้ง Seawater Reverse Osmosis (SWRO)

การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ (Water Risk Management Programs)

บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงด้านน้ำของพื้นที่ปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ครอบคลุมทั้งกระบวนการผลิต ห่วงโซ่อุปทาน และผลิตภัณฑ์ โดยใช้เครื่องมือประเมินความเสี่ยง หรือ WWF Water Risk Filter Tool

Type of Site:

Own Operations (incl. subsidiaries)

(27 Sites)

Location:

  • Rayong, Thailand

    (26 Sites)

  • Chon Buri, Thailand

    (1 Site)

Type of Site:

Supply Chain

(7 Sites)

Location:

  • Rayong, Thailand

    (7 Sites)

Type of Site:

Customer

(2 Sites)

Location:

  • Rayong, Thailand

    (1 Site)

  • Samut Sakhon, Thailand

    (1 Site)

การประเมินความเสี่ยงด้านการพึ่งพาน้ำและผลกระทบ (Dependency-Related and Impact-Related Water Risk Assessment)

บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงด้านการพึ่งพาน้ำและผลกระทบโดยใช้เครื่องมือ WWF Water Risk Filter Tool ซึ่งพิจารณาใน 2 มิติ คือ ความเสี่ยงเชิงพื้นที่ (สภาพน้ำบริเวณรอบพื้นที่ตั้ง) และความเสี่ยงเชิงการดำเนินงาน (การใช้น้ำในพื้นที่ดำเนินงาน) เพื่อนำผลการประเมินมากำหนดแผนปฏิบัติการที่เฉพาะเจาะจงต่อไป

จากผลการประเมินพบว่าบริษัทฯ ไม่มีพื้นที่ปฏิบัติงานที่ตั้งในอยู่ในพื้นที่น้ำตึงเครียด (Water-stressed Area) และเมื่อพิจารณาและวิเคราะห์ผลการประเมินความเสี่ยงทั้ง 3 ประเภท อันประกอบด้วย ความเสี่ยงเชิงกายภาพ (Physical Risk) ความเสี่ยงเชิงการกำกับดูแล (Regulatory Risk) และความเสี่ยงเชิงชื่อเสี่ยง (Reputational Risk) ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญภายในและที่ปรึกษาภายนอก พบว่าไม่มีฐานการผลิตใดที่ได้รับการประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง (ระดับผลกระทบเกินระดับ 4) ในทั้ง 3 ประเภทความเสี่ยงนี้

การประเมินความเสี่ยงด้านปริมาณและคุณภาพน้ำในอนาคต (Future Water Quantities and Quality-Related Risk Assessment)

บริษัทฯ ประเมินปริมาณน้ำในอนาคตโดยวิเคราะห์ภาวะขาดแคลนน้ำ (อัตราส่วนระหว่างความต้องการใช้น้ำต่อปริมาณน้ำที่มีในแต่ละพื้นที่) และประเมินคุณภาพน้ำผ่านการตรวจวัดค่าความขุ่นและค่าการนำไฟฟ้ารายเดือนใน 14 จุด ประกอบด้วยจังหวัดระยอง 7 จุด ชลบุรี 2 จุด และฉะเชิงเทรา 5 จุด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังร่วมมือกับกรมชลประทานและการประปาส่วนภูมิภาคในการวางแผนพัฒนาแหล่งน้ำและอ่างเก็บน้ำสำหรับภาคตะวันออกที่เป็นแหล่งน้ำหลักของการผลิตของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าพื้นที่ดังกล่าวมีการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในอนาคต

การประเมินความเสี่ยงด้านผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสีย (Impacts on Local Stakeholders Risk Assessment)

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในท้องถิ่น โดยติดตามผลกระทบด้านน้ำจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ต่อสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ สามารถระบุสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นและเตรียมแผนการลดผลกระทบที่เหมาะสม อีกทั้งยังติดตามคุณภาพน้ำในพื้นที่ให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน ตลอดจนติดตามสื่อระดับท้องถิ่น (Media Scrutiny) เพื่อติดตามประเด็นที่ผู้มีส่วนได้เสียท้องถิ่นกังวลเกี่ยวกับด้านน้ำ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเข้าร่วมเป็นตัวแทนคณะกรรมการด้านน้ำ เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองและเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกกับทางภาครัฐ และเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างกลไกความร่วมมือทั้งในระดับท้องถิ่นและนโยบายระดับประเทศ

การประเมินความเสี่ยงจากจากกฎระเบียบท้องถิ่นที่อาจเปลี่ยนแปลงในอนาคต (Future Potential Regulatory Changes Risk Assessment)

บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตในระดับท้องถิ่น โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอก อาทิ สถาบันน้ำ ผู้ใช้น้ำรายใหญ่ และท้องถิ่นศูนย์ปฏิบัติการน้ำภาคตะวันออก (Keyman Water War Room) เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบที่เปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถติดตามและประเมินศักยภาพในอนาคตที่อาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจได้

การเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้ง (Drought and Water Scarcity Preparedness)

บริษัทฯ จัดตั้งคณะทำงานเตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้ง (Water Management Task Force) เพื่อบริหารจัดการน้ำ ติดตามสถานการณ์และวางแผนดำเนินการผลักดันมาตรการต่างๆ และบริหารจัดการวิกฤตน้ำในระยะยาว โดยมีแนวทางในการบริหารจัดการน้ำ 3 ประเด็นใหญ่ๆ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะสามารถลดต้นทุนการใช้น้ำได้จากแผนลดปริมาณการใช้น้ำและลดต้นทุนราคาน้ำประมาณ 90 ล้านบาทภายในปี 2568

เตรียมความพร้อมรับมือภัยแล้ง (Water Management Task Force)

ลดปริมาณการใช้น้ำ (Optimize Volume)

บริษัทฯ ประเมินกระบวนการผลิตทั้งระบบเพื่อระบุโอกาสในการลดการใช้น้ำ โดยไม่กระทบต่อคุณภาพสินค้า ผ่านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้น้ำและหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ภายในโรงงาน เพื่อให้มั่นใจว่าน้ำจะมีปริมาณเพียงพอต่อการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งบริษัทฯ ทบทวนการดำเนินงานและสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มความสามารถในการอนุรักษ์น้ำอย่างสม่ำเสมอ

ลดต้นทุนราคาน้ำ (Optimize Cost)

บริษัทฯ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรแหล่งน้ำ (Water Resource Portfolio) เพื่อลดต้นทุน และสร้างความมั่นคง รวมถึงการทำสัญญาระยะยาวกับคู่ค้าด้านการบริการน้ำ ด้วยเงื่อนไขที่เหมาะสมทั้งทางด้านราคาและปริมาณซื้อขาย พิจารณาคู่ค้าที่ให้บริการน้ำที่มีคุณภาพที่ดีกว่า และราคาเหมาะสม เป็นทางเลือกเสริม รวมถึงช่วยเพื่อความมั่นคงในการจัดหาน้ำ

ติดตามสถานการณ์น้ำเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ำ (Monitor External Factors/Water Situations)

บริษัทฯ ติดตามสถานการณ์น้ำทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ กฎระเบียบ ปริมาณน้ำ คุณภาพน้ำ รวมถึงนโยบายด้านน้ำ ตลอดจนดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดการอุปสงค์และอุปทานของน้ำอย่างใกล้ชิด ส่งเสริมให้มีแนวทางบริหารจัดการอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน พร้อมทั้งสื่อสารผลการดำเนินงานด้านน้ำ และความสำเร็จเรื่องการบริหารจัดการน้ำให้กับผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทั้งหมด

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในกระบวนการผลิต โดยการนำน้ำกลับมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์ ผ่านโครงการปรับปรุงระบบน้ำภายในโรงงาน อาทิ โครงการนำน้ำทิ้งที่ผ่านระบบบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้เทคโนโลยี Wastewater Reverse Osmosis (WWRO) และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพหน่วยผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (Sea Water Reverse Osmosis: SWRO)

การจัดการน้ำทิ้ง (Effluent Management)

บริษัทฯ ติดตามและเฝ้าระวังการปล่อยน้ำเสียตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยกำหนดและใช้นโยบาย QSHEB หรือแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทฯ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัทฯ มีการระบายน้ำทิ้งตามข้อกำหนดหรือข้อบังคับทางกฎหมาย อาทิ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และข้อกำหนดการระบายน้ำทิ้งเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางในนิคมอุตสาหกรรมของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และเป็นไปตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบที่ระบุไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยน้ำทิ้งที่ปนเปื้อนจะได้รับการบำบัดในระบบบำบัดน้ำเสียเพื่อให้มั่นใจว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของน้ำทิ้งเสมอ โดยมีพารามิเตอร์ในการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้ง อาทิ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) อุณหภูมิ ค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand: COD) ค่าบีโอดี (Biological Oxygen Demand: BOD) ค่าของแข็งแขวนลอยทั้งหมด (Total Suspended Solid: TSS) น้ำมันและไขมัน โลหะหนัก เช่น ปรอท (Hg) สารหนู (As) เป็นต้น อีกทั้งบริษัทฯ มีการตรวจวัดคุณภาพของการระบายน้ำทิ้งทุกวันผ่านระบบออนไลน์และมีการรายงานต่อคณะทำงานภายในเพื่อติดตามและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน เพื่อให้มั่นใจว่าคุณภาพของน้ำเสียที่ปล่อยออกสู่แหล่งน้ำ อยู่ในระดับมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตรวจสอบคุณภาพน้ำภายนอกโรงงานทุกๆ สองสัปดาห์ เพื่อให้มั่นใจว่าแหล่งน้ำโดยรอบพื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทฯ มีคุณภาพดีและไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศโดยรวมอีกด้วย ซึ่งจากผลการติดตามคุณภาพน้ำในปี 2567 พบว่าไม่มีกรณีปัญหาคุณภาพน้ำเกินค่าตามข้อกำหนดมาตรฐาน