แนวทางการบริหารจัดการ (Management Approach) GRI 3-3 (2021)

การดึงดูดและรักษาพนักงานเป็นหนึ่งในตัวแปรที่สำคัญสำหรับการประสบความสำเร็จของบริษัทฯ การบริหารจัดการพนักงานให้อยู่กับองค์กรได้ในระยะยาว จะส่งผลให้เกิดความต่อเนื่องทั้งการดำเนินงานและการเติบโตของบริษัทฯ ในขณะเดียวกัน การบริหารจัดการที่ไม่เหมาะสมหรือการไม่ใส่ใจความต้องการของพนักงาน อาจเพิ่มแนวโน้มของการเปลี่ยนงานของพนักงานภายในองค์กร ซึ่งอาจส่งผลทั้งในเรื่องของการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และการสร้างกำไรในระยะยาว อันเป็นผลมาจากการใช้ทรัพยากรทั้งเงินทุนและเวลา เพื่อการสรรหาและอบรมพนักงานใหม่ ตลอดจนถึงการปรับตัวของพนักงานใหม่กับวัฒนธรรมองค์กร เพื่อตอบโจทย์กลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กร (Organization Transformation Strategy) ปี 2566-2570 บริษัทพัฒนาแผนงานกำลังคนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Workforce Planning Model) ด้วยการปรับปรุงแนวทางการสรรหาพนักงาน (Recruitment)

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการการพัฒนาทักษะ และขีดความสามารถของพนักงานทุกระดับ เพื่อสนับสนุนกลยุทธ์ และการเติบโตของบริษัทฯ พร้อมรองรับ การเปลี่ยนแปลงในโลกธุรกิจยุคปัจจุบันที่มีอัตราการแข่งขัน และความท้าทายสูง รวมถึง บริษัทฯ ยังใส่ใจความเป็นอยู่ที่ดี (Well-Being) ของพนักงานทุกคน ทุกระดับอย่างสม่ำเสมอ

บริษัทฯ วางแผนอัตรากำลังคนเพื่อเตรียมทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับกลยุทธ์การเติบโตทางธุรกิจ พร้อมทั้งจัดทำระบบฐานข้อมูลพนักงานที่มีศักยภาพ (Talent Pool) ได้แก่ ความสามารถ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน และการมีพฤติกรรมที่สอดคล้องกับ พฤติกรรมหลัก GC SPIRIT 4 Core Behaviors ขององค์กร อีกทั้งมุ่งสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร ผ่านสื่อต่างๆ เพื่อดึงดูดพนักงานที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมงานกับบริษัทฯ ตั้งแต่ปี 2565 บริษัทฯ ได้ปรับกระบวนการสรรหาเพื่อให้สอดรับกับ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พร้อมทั้งมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การยื่นขอตรวจสอบประวัติอาชญากรรมผ่านระบบออนไลน์ เป็นต้น

บริษัทฯ ยังได้ติดตามและจัดเก็บข้อมูลผลการรักษาและดึงดูดพนักงานอย่างต่อเนื่อง ผ่านตัวชี้วัดต่างๆ อาทิ อัตราการว่าจ้างงานใหม่ อัตราการลาออกของพนักงาน และระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน นอกจากนี้บริษัทฯ ยังดำเนินการส่งแบบสอบถามให้กับพนักงานเพื่อรับฟังความคิดเห็น (Feedback) และความต้องการจากพนักงาน เพื่อนำมาปรับปรุงกลยุทธ์และโครงการสนับสนุนหรือระบบการทำงานต่างๆ ให้ตอบโจทย์มากที่สุด

GC SPIRIT

“GC SPIRIT” เป็นค่านิยมอันเป็นแนวทางให้แก่พนักงานทุกคน ซึ่งสนับสนุนภารกิจและวิสัยทัศน์ของบริษัท ที่จะช่วยให้ทุกคนปฏิบัติงานร่วมกันภายใต้ 4 พฤติกรรมหลัก ตามค่านิยม GC SPIRIT เพื่อบรรลุเป้าหมายขององค์กร

4 พฤติกรรมหลัก

กล้าคิด กล้าทำ สร้างสรรค์สิ่งที่ดีกว่า
พัฒนาตน ทำงานเป็นทีม
ทำงานเชิงรุก สนองตอบความต้องการของลูกค้า
มุ่งปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

OGO GC SPIRIT 4 Core Behaviors

นอกเหนือจากการดำเนินงานด้านการดึงดูดและรักษาพนักงานข้างต้น บริษัทฯ ยังติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความถนัด จุดแข็ง จุดอ่อน ของพนักงานภายในองค์กร ซึ่งนำไปสู่การวางแผนและปรับปรุงกลยุทธการ พัฒนาศักยภาพของพนักงาน รวมถึงโครงการด้านการพัฒนาทักษะและด้านความเป็นอยู่ที่ดีต่างๆ ให้ตอบโจทย์ความต้องการและความคาดหวังในการทำงานมากขึ้น โดยบริษัทฯ ได้กำหนดเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างรอบด้าน ครอบคลุมมิติต่างๆ ดังต่อไปนี้

เกณฑ์การประเมินผลการปฎิบัติงานอย่างรอบด้าน

การบรรลุงานตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย

ระบบการประเมินผลฯ ที่ส่งเสริมให้กำหนดตัวชี้วัดผลการทำงานให้มีความเหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงาน หรือ เป้าหมายขององค์กร หรือภารกิจที่แต่ละบุคคลได้รับมอบหมาย ทำให้เกิดความชัดเจนในการประเมินผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งการกำหนดตัวชี้วัดที่ดีจะสามารถสร้างความมุ่งมั่นให้กับการทำงาน โดยจะมีการประเมินทุกๆ ปี

การประเมินพฤติกรรมหลัก 4 ประการแบบ 360 องศา

ระบบการประเมินผลฯ ที่เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นๆ อาทิ เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาโดยตรง ลูกค้า และผู้มีส่วนได้เสียภายนอกหน่วยงาน ได้มีส่วนร่วมในการให้คะแนนผลการปฏิบัติงาน โดยการประเมินพฤติกรรมหลัก GC SPIRIT 4 Core Behaviors นั้นจะมุ่งเน้นเรื่องของความสามารถในการทำงานร่วมกันเป็นทีม และการทำงานอย่างสร้างสรรค์ สอดคล้องกับวัฒนธรรมองค์กร โดยจะมีการประเมินทุกๆ ปี

การประเมินผลการปฏิบัติงานของทั้งทีม

มีระบบการประเมินผลฯ ที่ส่งเสริมการให้รางวัลและการยกย่อง (Rewards & Recognition) สำหรับพนักงาน ปฏิบัติงานมอบหมายพิเศษเพิ่มหรือ Special Assignment ที่เป็นโครงการที่เป็น Corporate Agenda ที่สำคัญ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการขับเคลื่อนโครงการให้สำเร็จ หรือเป็นโครงการที่บริษัทฯ ต้องการพลังร่วมในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยมีการปรับปรุงระบบเพื่อให้ Project Leader/Project Manager เป็นผู้ประเมินคะแนนโดยตรงได้เพื่อส่งเสริมการทำงานรูปแบบ Agile

การสนทนาแบบ Agile

นอกเหนือจากการประเมินผลโดยปกติแล้ว บริษัทฯ ยังกำหนดให้พนักงานต้องมีการพูดคุยหรือ Check-in ระหว่างพนักงาน โดยเป็นการแบ่งปันข้อคิดเห็น (Feedback) ทั้งในด้านของเนื้องาน เป้าหมาย และพฤติกรรมหลัก GC SPIRIT 4 Core Behaviors) เพื่อทั้งติดตามความก้าวหน้าและผลสำเร็จของงานตามเป้าหมายที่กำหนด รวมถึงเป็นโอกาสในการหารือแนวทางการพัฒนาตนเองต่างๆ โดยมีส่งเสริมให้มีการพบปะกันเป็นประจำหรืออย่างน้อยทุกๆ 3 เดือน

ผลการดำเนินการ (Performance Summary)

จากการดำเนินการข้างต้น ส่งผลให้ในปี 2566 บริษัทฯ มีอัตราการว่าจ้างงานใหม่อยู่ที่ร้อยละ 4.04 และ อัตราการลาออกของพนักงานอยู่ที่ร้อยละ 5.43

อัตราการว่าจ้างงานใหม่

2566
อัตราการว่าจ้างงานใหม่ (ร้อยละ) 4.04
จำนวนและอัตราของพนักงานใหม่ จำแนกตามเพศ

เพศหญิงร้อยละ 1.66

เพศชายร้อยละ 2.38

เพศหญิง

123

คน

เพศชาย

177

คน

อัตราการลาออก

ผลการดำเนินงาน
2563 2564 2565 2566
อัตราการลาออกของพนักงาน (ร้อยละ) 6.31 3.83 5.65 5.43
จำนวนและอัตราการลาออกของพนักงาน จำแนกตามเพศ

เพศหญิงร้อยละ 1.99

เพศชายร้อยละ 3.43

เพศหญิง

148

คน

เพศชาย

255

คน

อัตราการลาออกของพนักงานโดยสมัครใจ

ผลการดำเนินงาน
2563 2564 2565 2566
อัตราการลาออกของพนักงานโดยสมัครใจ (ร้อยละ) 2.34 2.97 4.74 4.26