คุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงาน
บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะเป็นองค์กรที่มีความสุข และปราศจากอุบัติเหตุ จึงได้จัดให้มีสภาพแวดล้อมและพื้นที่การทำงานที่ปลอดภัยมากกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ตลอดจนจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อยกระดับความสุขและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานบนพื้นฐานของความยั่งยืน (Sustainability) รวมถึงมีความเป็นอยู่ที่ดีระหว่างการทำงานร่วมกับบริษัทฯ ตลอดจนหลังเกษียณอายุ
บริษัทฯ ได้นำหลักกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2553) และหลักสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลเข้ามาเป็นแนวทางการดูแลพนักงาน โดยยึดถือคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานเป็นหัวใจสำคัญ โดยพิจารณาครอบคลุมในด้านต่างๆ ได้แก่ การจ่ายค่าตอบแทนที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ (Living Wage) ของพนักงานและครอบครัว และการให้ค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ที่เท่าเทียมกันระหว่างพนักงานชายและหญิง นอกจากนี้ เพื่อส่งเสริมให้พนักงานสามารถบริหารจัดการเวลาการปฏิบัติงานและการดำเนินงานชีวิตได้อย่างสมดุล บริษัทฯ กำหนดเวลาทำงานในแต่ละวันไม่เกิน 8 ชั่วโมง และหลีกเลี่ยงการทำงานล่วงเวลาเว้นแต่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง พร้อมจัดให้มีวันลาพักร้อนประจำปีโดยได้รับค่าจ้างตามที่กฎหมายกำหนดอย่างเหมาะสม และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องเลิกจ้าง บริษัทฯ จะดำเนินการแจ้งวันเลิกจ้างและชี้แจงเหตุผลให้พนักงานทราบอย่างชัดเจนในทุกกรณี
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้นำหลักกฎหมายคุ้มครองแรงงานตามมาตรฐานแรงงานไทย (มรท. 8001-2553) และหลักสิทธิมนุษยชนตามมาตรฐานสากลเข้ามาเป็นแนวทางการดูแลพนักงาน โดยจัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบกิจการ หรือ คสส. เพื่อดูแลเรื่องสิทธิแรงงาน สวัสดิการ และสภาพการทำงานของพนักงาน ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ ของพนักงาน
ทั้งนี้ บริษัทฯ แสดงเจตจำนงในการนำความมุ่งมั่นดังกล่าวไปใช้ในการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมต่างๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้คู่ค้า ผู้รับเหมา และหุ้นส่วนทางธุรกิจที่สำคัญ มีความตระหนักและความมุ่งมั่นในการดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงาน เพื่อให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน
ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ เล็งเห็นถึงการดูแลรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน โดยดำเนินกิจกรรมผ่านโครงการดูแลรักษาสุขภาพต่างๆ เพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน เช่น โครงการประเมินความเสี่ยงด้านการยศาสตร์ และโครงการบริหารจัดการความเครียดของพนักงาน เป็นต้น

โครงการส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน (Employee Health & Well-Being Program)
บริษัทฯ ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในปัจจุบัน นอกจากมุ่งพัฒนาทักษะ และความสามารของพนักงานทุกระดับ บริษัทฯ ยังใส่ใจความเป็นอยู่และประสบการณ์ที่ดีในการทำงาน โดยบริษัทฯ ได้จัดทำโครงการและกิจกรรมมากมาย เพื่อสนับสนุนสิทธิพิเศษและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด และนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด อาทิ ด้านประกันชีวิต ด้านสุขอนามัย ด้านผู้พิการ ด้านการลาคลอด ด้านแผนเกษียณงาน ด้านการถือครองหุ้น รวมถึงด้านการสามารถปฏิบัติงานได้ทุกสถานที่ (Work From Anywhere) นอกจากนี้บริษัทฯ ยังปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน ให้มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สอดคล้องการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ อย่างยั่งยืน
แนวทางการปฏิบัติงานได้ทุกสถานที่ (Work From Anywhere)
เพื่อให้พนักงานสามารถยืดหยุ่นในการทำงานมากขึ้นสอดคล้องกับรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงาน จึงกำหนดให้มี WFA เป็นรูปแบบหนึ่งในการทำงานของบริษัทฯ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 สำหรับพนักงานที่มีลักษณะงานที่สามารถส่งมอบผลลัพธ์การปฏิบัติงานได้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้จัดการฝ่ายขึ้นไป และต้องสามารถกลับมาถึงสำนักงานที่พนักงานสังกัด (กรุงเทพฯ หรือระยอง) ได้ภายใน 2 ชั่วโมง
แนวทางการปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่น (Flexible Working Operations)
บริษัทฯ มีนโยบายสนับสนุนให้เกิดชั่วโมงการทำงานที่ยืดหยุ่น และอนุญาตให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานที่บ้านได้ สอดคล้องกับความต้องการของพนักงานกลุ่มต่างๆ และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
สวัสดิการครอบครัว (Family/Parent Support)
บริษัทฯ มีนโยบายและสวัสดิการครอบคลุมความเป็นอยู่ที่ดีของครอบครัวพนักงาน ดังนี้
- บริษัทฯ จัดห้องให้นมบุตร 10 ห้อง ในพื้นที่ทั้งหมดของบริษัทฯ เพื่อสนับสนุนพนักงานที่ตั้งครรภ์หรือเพิ่งมีบุตร
- บริษัทฯ จัดให้มีสวัสดิการทางเลือกการรักษาพยาบาลให้พนักงานและครอบครัว โดยพนักงานสามารถเลือกการรักษาพยาบาลให้คู่สมรส บุตร หรือ บิดา มารดา
- บริษัทฯ พิจารณาขยายความคุ้มครองวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก วัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรต้าไวรัส (ROTA) เป็นต้น
- นอกเหนือจากด้านสุขภาพแล้ว บริษัทฯ ยังสนับสนุนค่าเล่าเรียนสำหรับบุตรของพนักงานตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย (อายุไม่เกิน 22 ปี)
สิทธิการลาคลอดและการลางานเพื่อไปดูแลครอบครัว (Paid Parental Leave)
- พนักงานหญิงมีสิทธิลาคลอดได้ไม่เกิน 98 วัน และได้รับค่าจ้างในช่วงลาคลอดแต่ไม่เกิน 70 วัน ซึ่งเกินกว่ากฎหมายแรงงานของประเทศไทย หากพนักงานที่ตั้งครรภ์ได้รับใบรับรองแพทย์ชั้นหนึ่ง ที่แสดงว่าพนักงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ พนักงานมีสิทธิขอให้นายจ้างเปลี่ยนงานชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอด
- พนักงานชายมีสิทธิลางานเพื่อไปดูแลครอบครัวในกรณีที่ภรรยาลาคลอดได้ไม่เกิน 3 วัน โดยได้รับค่าจ้าง ซึ่งเกินกว่ากฎหมายแรงงานของประเทศไทย
- พนักงานสามารถยื่นขออนุมัติวันลากิจ (Personal Leave) หรือวันลาพักร้อน (Annual Leave) เพื่อดูแลสมาชิกในครอบครัว (อาทิ บุตร คู่สมรส บิดา มารดา) เพิ่มเติมได้ โดยบริษัทฯ จะพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายกรณี พนักงานมีสิทธิได้รับวันลาพักร้อนประจำปีจำนวน 15 วัน โดยในระหว่างการลาพักร้อน พนักงานยังคงได้รับค่าจ้างตามปกติ ทั้งนี้ วันลาพักร้อนดังกล่าวถือเป็นสิทธิแยกต่างหากจากวันลาป่วยตามที่กฎหมายกำหนด
การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ
บริษัทฯ มีนโยบายการจ่ายค่าตอบแทน และสวัสดิการให้สามารถแข่งขันได้เมื่อเทียบกับบริษัทชั้นนำในกลุ่มธุรกิจใกล้เคียง โดยบริษัทฯ ได้เข้าร่วมสำรวจการจ่ายค่าตอบแทนและสวัสดิการ (Remuneration Survey) โดยเฉพาะบริษัทในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีคอล ที่เป็นกลุ่มคู่เทียบ (Benchmark) ของบริษัทฯ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวทำโดยที่ปรึกษาด้านสิทธิประโยชน์และค่าตอบแทนเป็นประจำทุกปี โดยบริษัทฯ นำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาใช้ประกอบการคิดค่าตอบแทนพนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าค่าตอบแทนของพนักงานทุกคนเท่ากับหรือสูงกว่าค่าครองชีพหรือเกณฑ์มาตรฐาน ต่อการดำรงชีพ (Living Wage) ของพนักงานและครอบครัว
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เชื่อมโยงการจ่ายค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคน เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดแก่บริษัทฯและพนักงาน ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดและติดตามโครงสร้างเงินเดือนตามระดับงานและตำแหน่งงาน โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมในการจ่ายค่าตอบแทนโดยไม่จำกัดว่าเป็นพนักงานเพศใด
แนวปฏิบัติเรื่องชั่วโมงการทำงาน
บริษัทฯ กำกับดูแลเวลาการทำงานของพนักงานให้เป็นไปตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมาย โดยกำหนดชั่วโมงการทำงานไม่เกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน และเมื่อรวมเวลาทำงานทั้งสิ้นแล้วต้องไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยคำนึงถึงสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเป็นหลัก
ทั้งนี้ บริษัทฯ ไม่ส่งเสริมการทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด และการทำงานล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่ในกรณีจำเป็น ซึ่งการทำงานล่วงเวลาดังกล่าวต้องไม่ทำให้เวลาการทำงานรวมกันเกินกว่า 36 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และบริษัทฯ รับรองว่าพนักงานจะได้รับค่าตอบแทนอย่างยุติธรรมตามจำนวนชั่วโมงจริงที่ได้มีการบันทึกไว้อย่างถูกต้องในระบบ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีโครงการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ดีในการทำงานไปพร้อมๆ เพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตที่ดี (Well-Being) ส่งเสริมการทำงานของพนักงานอย่างมีความสุข โดยมุ่งเน้นด้านสุขภาพ จิตใจ และการบริหารการเงินที่ดี (Health, Mindfulness and Wealth) เช่น โครงการ Go Fit Together 2024 โครงการ สายด่วนสุขภาพใจ โครงการ Well being โครงการความช่วยเหลือด้านการแพทย์ และโครงการรักษ์หัวใจ เป็นต้น
โครงการ Go Fit Together 2024
บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ Go Fit Together เพื่อส่งเสริมสุขภาพกายและใจของพนักงาน เนื่องจากสุขภาพที่ดีไม่เพียงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของพนักงาน เสริมสร้างความแข็งแรง ลดความเครียด และลดความเสี่ยงของโรคต่างๆ ในระยะยาว แต่ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานและความสำเร็จต่อองค์กร โครงการ Go Fit Together มีกิจกรรมที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้พนักงานออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยมีกิจกรรมการจัดแข่งขันนับแคลอรี่ ซึ่งไม่เพียงแต่กระตุ้นให้พนักงานใส่ใจในสุขภาพตนเอง แต่ยังสร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมภายในทีม และช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงาน และสนับสนุนการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ มีความมุ่งหวังในการเสริมสร้างพื้นฐานที่มั่นคง ส่งสริมให้พนักงานมีสุขภาพดีและมีความสุขในชีวิต


โครงการ สายด่วนสุขภาพใจเพื่อพนักงานและครอบครัว (Happy Life)
บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ Happy Life ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการบริหารจัดการความเครียดในที่ทำงาน เพื่อให้คำปรึกษาแก่พนักงานที่มีปัญหาต่างๆ เช่น ความท้อใจ ความตึงเครียด ปัญหาในการทำงาน ปัญหาครอบครัว เป็นต้น โดยพนักงานจะได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้านการให้คำปรึกษาจากหน่วยงานภายนอกผ่านทางโทรศัพท์ตลอด 24 ชั่วโมง หรือการนัดหมายล่วงหน้าเพื่อเข้าพบเป็นการส่วนตัว พร้อมทั้งให้คำแนะนำถึงกิจกรรมและโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการความเครียดให้แก่พนักงาน อาทิ โครงการทำความรู้จักกับความเครียด และโครงการการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมประจำปีเพื่อให้พนักงานตระหนักรู้ถึงสภาวะจิตใจของตนเอง
โครงการ Well Being
บริษัทฯ จัดทำโครงการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจของพนักงานมากมาย ผ่านการให้สิทธิประโยชน์พิเศษ การจัดกิจกรรมพูดคุยกับบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการสร้างพื้นที่ออกกำลังกายอย่างฟิตเนสให้กับพนักงาน ทั้งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และพื้นที่จังหวัดระยอง เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานจะได้รับความสุขและมีความเป็นอยู่ที่ดีระหว่างทำงานภายในองค์กร โดยตัวอย่างการดำเนินโครงการในปีที่ผ่านมา ได้แก่

โครงการสวัสดิการทางเลือก (Flexible Benefits)
พนักงานสามารถแลกวันลาหยุดเป็นคะแนนได้ โดยคะแนนดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นสิทธิประโยชน์ได้หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของพนักงานแต่ละบุคคล อาทิ ค่ารักษาพยาบาลที่อยู่เหนือความคุ้มครองของบริษัทฯ ค่าส่งเสริมสุขพลานามัย ค่าสาธารณูปโภคและสนับสนุนกรณีทำงานที่บ้าน และค่าพัฒนาความรู้และส่งเสริมคุณภาพชีวิต เป็นต้น และยังขยายทางเลือกเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานนอกสำนักงาน และสนับสนุน Generations ที่แตกต่าง

กิจกรรม Health Talks
จัดการอบรมความรู้เรื่องโรคภัยยอดฮิตในสังคมปัจจุบัน อาทิ การดูแลสุขภาพหัวใจ การดูแลสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยนแปลงและมลพิษฝุ่น PM2.5 ให้กับพนักงาน โดยได้เชิญบุคลกรทางการแพทย์ มาบรรยาย รวมถึงแนะแนววิธีการดำเนินชีวิตให้เหมาะสม ห่างไกลโรคร้าย

กิจกรรม Growth Mindset for Success
จัดกิจกรรมให้ความรู้และ Workshop เพื่อส่งเสริมให้พนักงานได้เรียนรู้และเข้าใจตนเองมากขึ้น ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องรับมือด้วยการพัฒนาและปรับเปลี่ยนตนเอง พร้อมสร้างอุปนิสัยใหม่ที่เอื้อต่อการปรับตัวและเติบโตอย่างยั่งยืนท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง

GC Well Being Day 2024
จัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารและพนักงาน ผ่านการพบปะและทำกิจกรรมร่วมกัน พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานได้รับความรู้ด้านสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งสุขภาพกาย (Health) สุขภาพใจ (Mindfulness) และสุขภาพทางการเงิน (Wealth) โดยมุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านการบริโภค การออกกำลังกายเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ การจัดการความเครียด และการบริหารจัดการด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ
โครงการความช่วยเหลือด้านการแพทย์ (Medical Treatment Support)
บริษัทฯ จัดทำโครงการความช่วยเหลือทางการแพทย์ควบคู่ไปกับการตรวจสุขภาพพนักงานประจำปี พร้อมทั้งดูแลพนักงานให้ได้รับการรักษาที่เหมาะสมเพื่อช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ตลอดจนลดภาระค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการรักษาพยาบาลของพนักงาน โดยบริษัทฯ ดำเนินการช่วยเหลือพนักงานในขั้นตอนต่างๆ ดังนี้
โครงการรักษ์หัวใจ
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพพนักงานอย่างต่อเนื่อง พบว่าแนวโน้มสุขภาพพนักงานมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดเพิ่มสูงขึ้นทุกปี บริษัทฯ จึงดำเนินการประเมินความเสี่ยงของพนักงานทุกคนและจัดระดับความเสี่ยงของพนักงาน จัดทำโครงการดูแลสุขภาพเชิงลึกในแต่ละระดับความเสี่ยง เพื่อที่จะจัดสรรมาตรการการดูแลสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พนักงานได้รับการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มความเสี่ยงสูง กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง กลุ่มความเสี่ยงน้อย
กลุ่มความเสี่ยง | มาตรการดูแล |
---|---|
กลุ่มความเสี่ยงสูง |
|
กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง |
|
กลุ่มความเสี่ยงน้อย |
|



ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน
นอกเหนือจากการดำเนินโครงการดูแลรักษาความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานอย่างต่อเนื่องแล้ว บริษัทฯ ยังได้ติดตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการด้านความเป็นอยู่ที่ดีของพนักงาน ผ่านการจัดทำแบบสำรวจเพื่อประเมินความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน โดยแบบสำรวจดังกล่าวได้จัดทำและพัฒนาขึ้นตาม Kincentric Model ซึ่งเป็นโมเดลการประเมินที่ครอบคลุมหลายมิติ โดยโมเดลดังกล่าวสามารถวัดปัจจัยของการสร้างความผูกพันของพนักงานใน 7 ประสบการณ์หลัก (7 Core Experience Elements) ได้แก่ ปัจจัยด้าน การสนับสนุนเครื่องมือและกระบวนการทำงาน (Enabling) การบริหารจัดการและการสนับสนุนจากหัวหน้างาน (Managing) การพัฒนาบุคลากร (Developing) ความสัมพันธ์ภายในองค์กร (Connecting) การประเมินผลและการให้รางวัลยกย่องชมเชย (Recognizing) การนำองค์กรของผู้บริหารระดับสูง (Leading) การบริหารประสิทธิภาพของบริษัท (Performing) /Life Balance)
บริษัทฯ ได้ดำเนินการการประเมินความพึงพอใจและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานเป็นประจำทุกปี โดยตัวอย่างชุดคำถามที่ใช้เป็นตัวชี้วัด ความผูกพันของพนักงานภายในองค์กร รวมถึงตัวอย่างของผลลัพธ์การประเมินฯ ในบางมิติ มีรายละเอียดดังนี้
มิติ | ความพึงพอใจโดยรวมของการทำงาน (Job Satisfaction) |
---|---|
ตัวอย่างคำถาม |
|
ผลลัพธ์ของการประเมิน | ร้อยละ 88 ของพนักงานที่ตอบแบบสำรวจ มีความพึงพอใจในการทำงาน |
การดำเนินงานเพื่อพัฒนาความพึงพอใจโดยรวมของการทำงาน | การสื่อสารโดยผู้บริหารระดับสูงผ่านกิจกรรม CEO Townhall เพื่อสื่อสารทิศทางและอธิบายกลยุทธ์ของบริษัท ทำให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการขับเคลื่อนการดำเนินงานไปสู่เป้าหมายขององค์กร |
มิติ | ความรู้สึกเติมเต็มในการทำงาน (Purpose) |
---|---|
ตัวอย่างคำถาม |
|
ผลลัพธ์ของการประเมิน | ร้อยละ 74 ของพนักงานที่ตอบแบบสำรวจ รู้สึกเติมเต็มในการทำงาน |
การดำเนินงานเพื่อพัฒนาความรู้สึกเติมเต็มในการทำงาน | โครงการส่งเสริมด้านวัฒนธรรมองค์กร ที่มุ่งเน้นให้การทำงานร่วมกันระหว่างพนักงานเป็นไปอย่างมืออาชีพ เติบโตพร้อมกับองค์กรอย่างยั่งยืน โครงการย่อยๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ Leadership Showcase โดยผู้บริหารระดับสูงเป็นแบบอย่างที่ดีในการผลักดันให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรทั้งภายในและข้ามสายงาน โครงการ GC Culture Camp สำหรับพนักงานใหม่เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรมองค์กร เพื่อให้พนักงานได้เกิดการ reconnect กันแบบ onsite โครงการ Change Agent Showcase โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ที่ได้รับรางวัล GC SPIRIT Award |
มิติ | ความสุขในการทำงาน (Happiness) |
---|---|
ตัวอย่างคำถาม |
|
ผลลัพธ์ของการประเมิน | ร้อยละ 78 ของพนักงานที่ตอบแบบสำรวจ รู้สึกมีความสุขในการทำงาน |
การดำเนินงานเพื่อพัฒนาความสุขในการทำงาน |
|
มิติ | ความเครียดในการทำงาน (Stress) |
---|---|
ตัวอย่างคำถาม |
|
ผลลัพธ์ของการประเมิน | ร้อยละ 73 ของพนักงานที่ตอบแบบสำรวจ รู้สึกว่าสามารถบริหารจัดการความเครียดในการทำงานได้ |
การดำเนินงานเพื่อป้องกันความเครียดในการทำงาน |
|
ผลการดำเนินการ (Performance Summary)
จากการดำเนินงานและประเมินผลฯ ข้างต้น ส่งผลให้ในปี 2567 พนักงานมีระดับความผูกพันองค์กรอยู่ที่ร้อยละ 77
ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน | เป้าหมาย 2567 |
||||
---|---|---|---|---|---|
2564 | 2565 | 2566 | 2567 | ||
ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน (ร้อยละ) | 72 | 65 | 65 | 77 | 68 |
สัดส่วนของพนักงานที่ตอบการประเมินฯ (ร้อยละ) | 98 | 97 | 98 | 99 |
(ร้อยละ)