บริษัทฯ มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมกระบวนการผลิตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลตอบแทน และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงการลดการปล่อยของเสียออกจากระบบ

ตัวอย่างนวัตกรรมกระบวนการผลิตมีดังต่อไปนี้

โครงการด้านดิจิทัลสำหรับบริหารจัดการเตาเผา

บริษัทฯ ได้พัฒนา Furnace Optimization Model โดยใช้หลักการของ Advance Analytic Model (AA) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแครกเกอร์ในกระบวนการผลิตโอเลฟินส์ โดยการปรับสภาวะของเตาเผาให้เหมาะสม พร้อมทั้งปรับวัตถุดิบ (Feedstock) และปรับพอร์ตของผลิตภัณฑ์ให้ได้กำไรสูงสุดตามสถานการณ์ตลาดปัจจุบัน และมีการต่อยอดโดยพัฒนา Furnace Run-length Optimization Model เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนการจัดเตา ซึ่งเปลี่ยนวิธีการจัดแผนเตาจากเดิมที่อ้างอิงตามเวลาและประสบการณ์ของวิศวกร ให้เป็นการอ้างอิงตามประสิทธิภาพของเตานั้นๆ ซึ่งจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง (High value product) เพิ่มมากขึ้น

โครงการเชิงวิเคราะห์ทางดิจิทัลชั้นสูงสำหรับการลดและป้องกันการเกิดตะกรันในระบบการลดอุณหภูมิ

บริษัทฯ ได้แก้ปัญหาการเกิดตะกรันในระบบการลดอุณหภูมิ (Quench System) ของโรงงานโอเลฟินส์ โดยใช้การวิเคราะห์ทางดิจิทัลระดับสูงในการทำนายและป้องกันการสะสมของตะกรันในกระบวนการผลิตดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่าบริษัทฯ สามารถลดความเสี่ยงต่อการหยุดเดินระบบ Quench System และสามารถลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตกว่า 7.3 ตันต่อปี

ทั้งนี้บริษัทสามารถลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิตนี้กว่า

ล้านบาท

ซึ่งบริษัทฯ คาดหวังว่าจะสามารถนำเสนอแนวคิดนี้ให้แก่สายการผลิตอื่นๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนโดยเทคโนโลยีการทำความสะอาดประเภทสารเคมี

บริษัทฯ นำสารเคมีทำความสะอาด (Chemical Cleaning) มาประยุกต์ใช้ในการทำความสะอาดเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ในโรงงานอะโรมาติกส์ แทนการทำความสะอาดแบบฉีดล้าง (Physical Cleaning) ซึ่งผลการดำเนินงานพบว่าการใช้สารเคมีทำความสะอาดสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนกว่าร้อยละ 15 และสามารถลดการใช้จ่ายในกระบวนการมากกว่า 5 ล้านบาทต่อปี นอกจากนี้บริษัทฯ อีกทั้งยังลดการสัมผัสสารเคมีจากผู้ปฏิบัติงานเนื่องจากนวัตกรรมนี้ลดการถอดและประกอบอุปกรณ์อีกด้วย

โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ LCB OLE สู่ Raw Pygas/Pygas

บริษัทฯ พัฒนากระบวนการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการกำจัดสารปนเปื้อน เช่น กำมะถันและสารเหนียว ออกจากแครกเกอร์เบาตกค้าง (Light Cracker Bottom: LCB) ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมี คล้ายคลึงกับวัตถุดิบไพโรไลซิสแก๊สโซลีน (Raw Pyrolysis Gasoline or Pygas) ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต สารอะโรมาติกส์ที่มีมูลค่าสูง บริษัทฯ จึงมีกระบวนการยกระดับและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์ ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มรายได้ 71 ล้านบาทต่อปี EBITDA ได้ 57 ล้านบาทต่อปี โดยจะเริ่มทดสอบนำร่องในปี 2567 ตามด้วยขั้นตอนวิศวกรรม จัดซื้อ และก่อสร้าง (Engineering, Procurement, and Construction: EPC) ในปี 2568 และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในปี 2569 พร้อมแผนขยายไปสู่ผลิตภัณฑ์อื่นๆ

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของหน่วยแตกโมเลกุลด้วยความร้อน ระยะที่ 3

บริษัทฯ ได้พัฒนาต่อยอดแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (Visbreaker Unit Optimization Model) ระยะที่ 3 เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมของหน่วยแตกโมเลกุลด้วยความร้อน (Visbreaker Unit Optimization Model) โดยใช้หลักการของ Machine Learning เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการแตกโมเลกลุด้วยความร้อน และหาสภาวะที่เหมาะสมในช่วงที่มีการเปลี่ยนน้ำมันดิบ สามารถเพิ่มผลผลิตของผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงได้ร้อยละ 0.1 ต่อปี พร้อมควบคุมอุณหภูมิขาออกของเตาเผาให้เหมาะสม ยืดอายุการใช้งานเตาเผา คาดว่าจะเพิ่ม EBITDA ได้ 11.4 ล้านบาทต่อปี แบบจำลองนี้เสร็จสมบูรณ์และเริ่มใช้งานในเดือนสิงหาคม 2567 และมีแผนพัฒนาต่อในอนาคตเพื่อเพิ่มผลผลิต

โครงการแตกตัวของสารประกอบใน BPA Tar เพื่อให้ได้ฟีนอลกลับเข้าสู่กระบวนการผลิต

บริษัทฯ ประยุกต์ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาในการปรับปรุงสภาวะการแตกตัวของ BPA Tar ซึ่งเป็นของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต BPA เพื่อให้ได้ปริมาณฟีนอลนำกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต BPA เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้บริษัทฯ ลดการใช้วัตถุดิบและลดการเกิดของเสียในกระบวนการผลิต โดยกระบวนการนี้ได้เริ่มใช้เชิงพาณิชย์ในปี 2567 และมีแผนที่จะศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับปรุงหน่วยการผลิตเพื่อเพิ่มผลผลิตฟีนอลในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้ 9.34 ล้านบาทต่อปี และเพิ่ม EBITDA 9.34 ล้านบาทต่อปี