เป้าหมาย และผลการดำเนินงานด้านการจัดการของเสีย
เป้าหมาย
เพิ่มการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ เมื่อเทียบกับปี 2565 และลดปริมาณการนำของเสียไปฝังกลบ
เป็น 0
ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ
การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและปริมาณของเสียที่ลดลงแสดงถึงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตที่สูงขึ้น พร้อมทั้งช่วยลดความเสี่ยงการขาดแคลนทรัพยากร ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย
บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย และจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อลดปริมาณของเสียที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมการหยุดซ่อมบำรุงและการขยายกำลังผลิตของบริษัทฯ โดยมีเป้าหมายการนำของเสียไปฝังกลบเป็น 0 ตั้งแต่ในปี 2555 และเพิ่มการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด บริษัทฯ ยังนำหลักการเศรษฐกิจ หมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดการจัดการของเสียอย่างครบวงจร สร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าของเสียโดยประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ตระหนักดีว่าปัญหาการจัดการขยะเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือ บริษัทฯ จึงส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ รวมถึงประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงปัญหาขยะและมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการจัดการขยะ ทั้งการจัดเก็บ การคัดแยกขยะ และการรีไซเคิลขยะเพื่อลดปริมาณขยะ และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
แนวทางการบริหารจัดการ (Management Approach) GRI 3-3 (2021) 306-1 (2020) GRI 306-2 (2020)
กระบวนการจัดการของเสีย
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินงานตามนโยบายการจัดการของเสียโดยกำหนดกระบวนการประเมินตรวจสอบการเกิดของเสียจากการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพ และลดการเกิดของเสีย ซึ่งครอบคลุมการกำจัดของเสียแบบอันตรายและไม่อันตราย เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) พร้อมทั้งลดปริมาณการเกิดของเสียให้น้อยที่สุด (Minimize Waste) โดยมีแผนการมุ่งเน้นลดการสร้างของเสียจากการดำเนินงานโดยใช้หลัก 5Rs ซึ่งประกอบไปด้วย Reduce (การลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) Reuse (การใช้ซ้ำ) Recycle (การแปรรูปมาใช้ใหม่) Refuse (การปฏิเสธการใช้สารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) และ Renewable (การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน) บริษัทฯ ยังจัดทำระบบการจัดการติดตาม และป้องกันผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง และการกำจัด
ปัจจุบันของเสียที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต กิจกรรมซ่อมบำรุง และกิจกรรมอื่นๆ มีกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ทั้งยังมอบหมายให้ผู้รับกำจัดภายนอกที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เข้ามาดำเนินการในการกำจัดของเสีย ทั้งนี้บริษัทฯ จัดทำรายงานปริมาณของเสียที่บริษัทฯ ส่งกำจัดทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าของเสียได้รับการจัดการตามที่บริษัทฯ กำหนดและสอดคล้องกับกฎหมายอย่างเคร่งครัด
แนวทางการจัดการของเสีย (Waste Management Approach) GRI 306-2 (2020)
บริษัทฯ ได้นำแนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียน (Circular Economy Concept) มาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจ เพื่อลดปริมาณการใช้ทรัพยากร ปริมาณการเกิดของเสีย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า
บริษัทฯ ดำเนินงานเพื่อลดของเสียที่จะนำไปกำจัดอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายการนำของเสียในการดำเนินงานกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Operation Waste Recovery) ร้อยละ 26 จากปริมาณของเสียทั้งหมด ซึ่งในปีนี้บริษัทฯ บรรลุเป้าหมายโดยสามารถนำของเสียในการดำเนินงานกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ คิดเป็น ร้อยละ 28 จากปริมาณของเสียทั้งหมด
ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
จัดการขยะตามหลัก 5Rs
เชื้อเพลิงทางเลือกจากขยะ
ขยะฝังกลบเป็นศูนย์
แนวคิดเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนของบริษัทฯ
อ่านเพิ่มเติมการบริหารจัดการทรัพยากรและของเสีย
บริษัทฯ มีการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ วัตถุดิบ และพลังงานเชื้อเพลิงที่เหลือจากกระบวนการผลิต เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าระหว่างโรงงาน ตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ธุรกิจขั้นต้น กระบวนการผลิต จนถึงธุรกิจปลายทาง แนวทางและแผนงานการบริหารจัดการทรัพยากรและของเสีย มีเป้าหมายลดปริมาณการเกิดของเสียให้น้อยที่สุด และปริมาณการนำของเสียไปฝังกลบเป็น 0 ดำเนินการวิจัยโครงการต่างๆ ที่หลากหลายอย่างต่อเนื่อง โดยมีการลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี รวมถึงการจัดสรร และการวางแผนการลดของเสีย และใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้บริษัทฯ มีความสำเร็จในการบรรลุ Diversion rate ร้อยละ 100 จากการลดปริมาณการนำของเสียไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ ตั้งแต่ปี 2558 โดยได้รับการรับรองจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งมีการหมุนวนของเสียและน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์ผ่านกระบวนการ ลดการใช้ ใช้ซ้ำ นำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งมีการดำเนินการซ่อมบำรุงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Turnaround Management) อย่างต่อเนื่อง กำหนดมาตรการป้องกัน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์ของบริษัทฯ อาทิ โครงการบำบัดน้ำเสียที่เกิดจากการล้างอุปกรณ์และเครื่องจักรในช่วงหยุดซ่อมบำรุงในพื้นที่โรงงานทดแทนการส่งกำจัดน้ำทิ้งโดยวิธีเผาทำลาย และขยายผลการดำเนินการลดการฝังกลบไปสู่ขยะไม่อันตรายและขยะมูลฝอย โดยการนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel: RDF) เพื่อลดปริมาณการนำไปฝังกลบและนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด บริษัทฯ สร้างความตระหนักให้แก่พนักงาน ผ่านการฝึกอบรม และการปฏิบัติจริง รวมถึงการสื่อสารผ่านสื่อดิจิทัลถึงโครงการต่างๆ ที่บริษัทฯ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการหมุนเวียนของทรัพยากรและผลิตภัณฑ์ให้อยู่ในระบบของการนำมาใช้ใหม่และการรีไซเคิล เช่น โครงการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Basic SHE Training) และ โครงการอบรมสร้างเสริมวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม 5Rs (Environmental Culture by 5Rs Training) เป็นต้น การปลูกฝังแนวคิดการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การคัดแยกขยะ การลดการเกิดของเสีย การสร้างความร่วมมือกับพนักงาน ในแต่ละพื้นที่ปฏิบัติงาน ประเมินความเหมาะสมและแยกประเภทขยะไม่อันตรายและขยะมูลฝอยที่สามารถนำกลับมาใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ และมีการคัดแยกขยะแบ่งตามประเภททั้งที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตและจากอาคารสำนักงาน และรวบรวมส่งผู้รับกำจัดที่ได้มีการประสานความร่วมมือในการขนส่งและนำของเสียไปจัดการด้วยการนำกลับไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง
โครงการ นำฉนวนกันความร้อนกลับมาใช้ใหม่
บริษัทฯ ต่อยอดการดำเนินโครงการซ่อมบำรุงรักษาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Turnaround) มาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเกิดของเสียทั้งประเภทของเสียอันตรายและไม่อันตรายที่เกิดจากกิจกรรมซ่อมบำรุง มีการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยลดของเสียตั้งแต่แหล่งกำเนิด พร้อมทั้งนำของเสียเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ อันเป็นการช่วยลดภาระจากการกำจัดของเสีย ตัวอย่างกิจกรรม อาทิ การรักษาคุณภาพของฉนวนกันความร้อนให้สามารถนำไปใช้ใหม่ได้ ผ่านการบริหารจัดการและการดำเนินงานที่รัดกุม เช่น การรื้อฉนวนกันความร้อนให้เสียหายน้อยที่สุด การจัดเก็บฉนวนกันความร้อนในภาชนะที่เหมาะสม และการจัดเตรียมพื้นที่จัดเก็บให้อยู่ในสภาพดีไม่เปียกน้ำ เป็นต้น
สามารถนำฉนวนกันความร้อนนำกลับมาใช้ได้เฉลี่ย มากกว่าร้อยละ
การนำของเสียไปใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนของโรงงานอื่น (Reusing Waste as Alternative Raw Material)
ตัวอย่างโครงการ
- โครงการบริหารจัดการ Mercury Waste จากโรงงานอะโรเมติกส์และโรงกลั่น เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องมือทางการแพทย์
- โครงการคัดแยกขยะภายในอาคารสำนักงาน เช่น การคัดแยกขยะพลาสติก แก้ว กระดาษที่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับไปผลิตใหม่ การคัดแยกเศษอาหารเพื่อให้ชุมชนไปทำอาหารเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
- โครงการนำของเสียอุตสาหกรรมไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Industrial Waste to Landfill) ตั้งแต่ปี 2558 และขยายผลมาสู่ลดการฝังกลบขยะมูลฝอยของพื้นที่อาคารสำนักงาน เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel : RDF)
โครงการ Waste Optimization ตัวอย่างกิจกรรรม เช่น การลดน้ำเสียส่งกำจัดตั้งแต่แหล่งกำเนิดจากกิจกรรมล้างทำความสะอาดถังเก็บ (Tank Cleaning) ของพื้นที่โรงกลั่นน้ำมัน โดยการทบทวนขั้นตอนวิธีการจัดการน้ำเสียและคุณภาพน้ำเสีย เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการโดยนำน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมเข้าระบบบำบัดน้ำเสียทดแทนการส่งกำจัดภายนอก ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถลดการส่งกำจัดน้ำเสียได้กว่า 140 ตัน- เพิ่มมูลค่า Mixed Heavy Oil (MHO) โดยใช้เทคโนโลยี Hydrogenation ของ OLE4 เปลี่ยนเป็น Pyrolysis Gasoline ส่งไปเป็นเป็นสารตั้งต้นให้กับโรงอะโรเมติกส์ นอกจากนั้นยังได้ C9A ส่งไปเป็นสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ให้กับโรงกลั่นน้ำมัน ส่งผลให้เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้ของบริษัทฯ
โครงการฝึกอบรมพนักงานด้านการจัดการของเสีย
- โครงการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Basic SHE Training) บริษัทฯ สร้างความตระหนัก จัดอบรมด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงเรื่องการบริหารจัดการเพื่อลดการเกิดของเสียในองค์กร และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกำหนดการอบรมสำหรับพนักงานและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ โดยมีพนักงานเข้าร่วมร้อยละ 100
- โครงการอบรมสร้างเสริมวันฒนธรรมสิ่งแวดล้อม 5Rs (Environmental Culture by 5Rs Training) บริษัทฯ ส่งเสริมวัฒนธรรม สร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงาน รวมถึงแนวทางการลดของเสีย โดยส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้หลักการ 5Rs (Reduce, Reuse, Recycle, Refuse, Renewable) เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นที่กระบวนการผลิตสร้างสมดุลระหว่างการจัดการทรัพยากรควบคู่กับการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน เกิดเป็นโครงการ Operational Eco-Efficiency และยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
จากการมุ่งพัฒนาการดำเนินงานด้านจัดการของเสียของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง สามารถสรุปผลการดำเนินงานในปี 2566 ได้ดังนี้
ปริมาณของเสียอันตรายที่นำไปกำจัด (Total Weight of Hazardous Waste Directed to Disposal)
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน | เป้าหมาย | ||||
---|---|---|---|---|---|
2563 | 2564 | 2565 | 2566 | 2566 | |
ปริมาณของเสียอันตรายที่นำไปกำจัด (ตัน) | 27,410 | 89,409 | 86,606 | 81,490 | 86,000 |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่นำไปกำจัด (Total Weight of Non-Hazardous Waste Directed to Disposal)
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน | เป้าหมาย | ||||
---|---|---|---|---|---|
2563 | 2564 | 2565 | 2566 | 2566 | |
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่นำไปกำจัด (ตัน) | 42,323 | 26,300 | 11,445 | 6,600 | 6,700 |