ประเด็นความยั่งยืน
เศรษฐกิจหมุนเวียน
ระดับผลกระทบ
สูง
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
ภาครัฐ
นักลงทุน
ลูกค้า
ชุมชน

เป้าหมาย

เพิ่มการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ เมื่อเทียบกับปี 2565 และลดปริมาณการนำของเสียไปฝังกลบ

เป็น 0

ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ

การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและปริมาณของเสียที่ลดลงแสดงถึงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตที่สูงขึ้น พร้อมทั้งช่วยลดความเสี่ยงการขาดแคลนทรัพยากร ลดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม และลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย

บริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย และจัดทำโครงการต่างๆ เพื่อลดปริมาณของเสียที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมการหยุดซ่อมบำรุงและการขยายกำลังผลิตของบริษัทฯ โดยมีเป้าหมายการนำของเสียไปฝังกลบเป็น 0 ตั้งแต่ในปี 2555 และเพิ่มการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด บริษัทฯ ยังนำหลักการเศรษฐกิจ หมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดการจัดการของเสียอย่างครบวงจร สร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าของเสียโดยประยุกต์ใช้นวัตกรรมเพื่อตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ตระหนักดีว่าปัญหาการจัดการขยะเป็นประเด็นที่ทุกภาคส่วนต้องให้ความร่วมมือ บริษัทฯ จึงส่งเสริมให้ภาคส่วนต่างๆ รวมถึงประชาชนทั่วไป ตระหนักถึงปัญหาขยะและมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการจัดการขยะ ทั้งการจัดเก็บ การคัดแยกขยะ และการรีไซเคิลขยะเพื่อลดปริมาณขยะ และใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แนวทางการบริหารจัดการ (Management Approach) GRI 3-3 (2021) 306-1 (2020) GRI 306-2 (2020)

กระบวนการจัดการของเสีย

บริษัทฯ มุ่งมั่นในการดำเนินงานตามนโยบายการจัดการของเสียโดยกำหนดกระบวนการประเมินตรวจสอบการเกิดของเสียจากการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงประสิทธิภาพ และลดการเกิดของเสีย ซึ่งครอบคลุมการกำจัดของเสียแบบอันตรายและไม่อันตราย เพื่อใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตลอดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) พร้อมทั้งลดปริมาณการเกิดของเสียให้น้อยที่สุด (Minimize Waste) โดยมีแผนการมุ่งเน้นลดการสร้างของเสียจากการดำเนินงานโดยใช้หลัก 5Rs ซึ่งประกอบไปด้วย Reduce (การลดการใช้หรือใช้น้อยเท่าที่จำเป็น) Reuse (การใช้ซ้ำ) Recycle (การแปรรูปมาใช้ใหม่) Refuse (การปฏิเสธการใช้สารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม) และ Renewable (การใช้ทรัพยากรหมุนเวียน) บริษัทฯ ยังจัดทำระบบการจัดการติดตาม และป้องกันผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขั้นตอนการคัดแยก การจัดเก็บ การขนส่ง และการกำจัด

ปัจจุบันของเสียที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการผลิต กิจกรรมซ่อมบำรุง และกิจกรรมอื่นๆ มีกระบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ทั้งยังมอบหมายให้ผู้รับกำจัดภายนอกที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม เข้ามาดำเนินการในการกำจัดของเสีย ทั้งนี้บริษัทฯ จัดทำรายงานปริมาณของเสียที่บริษัทฯ ส่งกำจัดทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าของเสียได้รับการจัดการตามที่บริษัทฯ กำหนดและสอดคล้องกับกฎหมายอย่างเคร่งครัด

โครงการ นำฉนวนกันความร้อนกลับมาใช้ใหม่

บริษัทฯ ต่อยอดการดำเนินโครงการซ่อมบำรุงรักษาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Turnaround) มาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเกิดของเสียทั้งประเภทของเสียอันตรายและไม่อันตรายที่เกิดจากกิจกรรมซ่อมบำรุง มีการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยลดของเสียตั้งแต่แหล่งกำเนิด พร้อมทั้งนำของเสียเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ อันเป็นการช่วยลดภาระจากการกำจัดของเสีย ตัวอย่างกิจกรรม อาทิ การรักษาคุณภาพของฉนวนกันความร้อนให้สามารถนำไปใช้ใหม่ได้ ผ่านการบริหารจัดการและการดำเนินงานที่รัดกุม เช่น การรื้อฉนวนกันความร้อนให้เสียหายน้อยที่สุด การจัดเก็บฉนวนกันความร้อนในภาชนะที่เหมาะสม และการจัดเตรียมพื้นที่จัดเก็บให้อยู่ในสภาพดีไม่เปียกน้ำ เป็นต้น

สามารถนำฉนวนกันความร้อนนำกลับมาใช้ได้เฉลี่ย มากกว่าร้อยละ

50*
*หมายเหตุ: ตัวเลขผลการดำเนินงานในปี 2566

การนำของเสียไปใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนของโรงงานอื่น (Reusing Waste as Alternative Raw Material)

ตัวอย่างโครงการ
  • โครงการบริหารจัดการ Mercury Waste จากโรงงานอะโรเมติกส์และโรงกลั่น เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องมือทางการแพทย์
  • โครงการคัดแยกขยะภายในอาคารสำนักงาน เช่น การคัดแยกขยะพลาสติก แก้ว กระดาษที่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับไปผลิตใหม่ การคัดแยกเศษอาหารเพื่อให้ชุมชนไปทำอาหารเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
  • โครงการนำของเสียอุตสาหกรรมไปฝังกลบให้เป็นศูนย์ (Zero Industrial Waste to Landfill) ตั้งแต่ปี 2558 และขยายผลมาสู่ลดการฝังกลบขยะมูลฝอยของพื้นที่อาคารสำนักงาน เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel : RDF)
  • โครงการ Waste Optimization ตัวอย่างกิจกรรรม เช่น การลดน้ำเสียส่งกำจัดตั้งแต่แหล่งกำเนิดจากกิจกรรมล้างทำความสะอาดถังเก็บ (Tank Cleaning) ของพื้นที่โรงกลั่นน้ำมัน โดยการทบทวนขั้นตอนวิธีการจัดการน้ำเสียและคุณภาพน้ำเสีย เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการโดยนำน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมเข้าระบบบำบัดน้ำเสียทดแทนการส่งกำจัดภายนอก ซึ่งส่งผลให้บริษัทฯ สามารถลดการส่งกำจัดน้ำเสียได้กว่า 140 ตัน
  • เพิ่มมูลค่า Mixed Heavy Oil (MHO) โดยใช้เทคโนโลยี Hydrogenation ของ OLE4 เปลี่ยนเป็น Pyrolysis Gasoline ส่งไปเป็นเป็นสารตั้งต้นให้กับโรงอะโรเมติกส์ นอกจากนั้นยังได้ C9A ส่งไปเป็นสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ให้กับโรงกลั่นน้ำมัน ส่งผลให้เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้ของบริษัทฯ

โครงการฝึกอบรมพนักงานด้านการจัดการของเสีย

  • โครงการอบรมหลักสูตรความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Basic SHE Training) บริษัทฯ สร้างความตระหนัก จัดอบรมด้านการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงเรื่องการบริหารจัดการเพื่อลดการเกิดของเสียในองค์กร และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกำหนดการอบรมสำหรับพนักงานและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ โดยมีพนักงานเข้าร่วมร้อยละ 100
  • โครงการอบรมสร้างเสริมวันฒนธรรมสิ่งแวดล้อม 5Rs (Environmental Culture by 5Rs Training) บริษัทฯ ส่งเสริมวัฒนธรรม สร้างความตระหนักด้านสิ่งแวดล้อมให้กับพนักงาน รวมถึงแนวทางการลดของเสีย โดยส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้หลักการ 5Rs (Reduce, Reuse, Recycle, Refuse, Renewable) เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งในพื้นที่กระบวนการผลิตสร้างสมดุลระหว่างการจัดการทรัพยากรควบคู่กับการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน เกิดเป็นโครงการ Operational Eco-Efficiency และยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

จากการมุ่งพัฒนาการดำเนินงานด้านจัดการของเสียของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง สามารถสรุปผลการดำเนินงานในปี 2566 ได้ดังนี้

ปริมาณของเสียอันตรายที่เกิดขึ้น (Total Hazardous Waste Generated)

ผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน เป้าหมาย
2563 2564 2565 2566 2566
ปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น (ตัน) 32,404 109,752 98,591 88,499 86,000

ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่นำไปกำจัด (Total Weight of Non-Hazardous Waste Directed to Disposal)

ผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน เป้าหมาย
2563 2564 2565 2566 2566
ปริมาณของเสียไม่อันตรายที่นำไปกำจัด (ตัน) 42,323 26,300 11,445 6,600 6,700
สามารถดูรายละเอียดผลการดำเนินงานการจัดการของเสียเพิ่มเติมได้ที่ Sustainability Performance Data 2566
ดาวน์โหลด