การเชื่อมโยงทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทฯ ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนตลอดห่วง โซ่คุณค่า เพื่อขยายผลสำเร็จและเชื่อมต่อธุรกิจให้ครบวงจรในการพัฒนาและต่อยอดการดำเนินโครงการ ซึ่งนอกจากจะเป็นการยกระดับการมีความรับผิดชอบต่อสังคมแล้ว ยังเป็นการสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจให้แข็งแกร่ง โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าลดการเกิดของเสีย ตลอดจนนำของเสียมาแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ในปี 2563 โครงการที่สอดคล้องกับ Loop Connecting ได้แก่
YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม
YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม เป็นระบบบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจรที่สนับสนุนกระบวนการ Loop Connecting (Ecosystem) ผ่านการมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนตลอดห่วงโซ่คุณค่าในการบริหารจัดการพลาสติกใช้แล้วอย่างเป็นระบบ ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยมีจุดรับพลาสติกสะอาดแบบถังรับ (Physical Drop Point) และตู้ดิจิทัล (Digital Drop Point) กว่า 120 จุด เพื่อนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบและนำไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรืออัพไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณค่าหรือนำกลับมาใช้ได้อีกครั้ง ปัจจุบันบริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนา Mobile Application เพื่อใช้งานร่วมกับตู้ดิจิทัล โดยในปีที่ผ่านมาสามารถรวบรวมพลาสติกแข็ง และพลาสติกยืดได้ 343,148.34 กิโลกรัม และ 96,744 กิโลกรัม ตามลำดับลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 1,034,000 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
นอกจากนี้ ภายใต้ YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม บริษัทฯ ได้จัดตั้งโครงการต้นแบบศูนย์บริหารจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า จังหวัดระยอง ชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรจากต้นทางถึงปลายทาง (End to End Waste Management) แห่งแรกในจังหวัดระยอง ซึ่งสามารถรวบรวมขยะรีไซเคิลได้ปริมาณมากกว่า 50,000 กิโลกรัมต่อปี และยังสนับสนุนการจ้างงาน สร้างอาชีพให้กับชุมชน ทำให้วิสาหกิจชุมชนมีรายได้มากกว่า 440,000 บาทต่อปี โดยมีแผนที่จะขยายผลโครงการฯ ไปยังชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

ข้อมูลเพิ่มเติม: โครงการความรับผิดชอบต่อสังคม ‘Community Waste Model’
อ่านเพิ่มเติมข้อมูลเพิ่มเติม: Portfolio Driven
อ่านเพิ่มเติมโครงการความร่วมมือภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคประชาสังคม เพื่อจัดการพลาสติกและ ขยะอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ ร่วมมือกับภาครัฐ ภาคเอกชนและสังคม จัดการปัญหาขยะและส่งเสริมการใช้พลาสติกอย่างยั่งยืนตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกในทะเลไทยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 ภายในปี 2570 บนพื้นฐานของการจัดการขยะอย่างยั่งยืน
ซึ่งบริษัทฯ มุ่งลดปริมาณขยะพลาสติกด้วยการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้ง่าย คงทน ปลอดภัย รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทดแทนบรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single-Use Plastic) ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกที่สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง และการนำขยะพลาสติกมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการสามารถจัดการขยะพลาสติกได้กว่า 750 ตัน
สร้างรายได้ให้กับชุมชนในจังหวัดระยองมากกว่า
ล้านบาท

โครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า
บริษัทฯ ได้นำแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า เพื่อลดปัญหาขยะ รวมถึงสร้างจิตสำนึกในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง ซึ่งโครงการนี้ มีการนำนวัตกรรมการแปรรูปขวดพลาสติกชนิดใสหรือโพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ที่ใช้แล้ว มาผลิตเป็นเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เพื่อนำมาผสมกับเส้นใยโพลีเอสเตอร์ซิงค์ และเส้นใยฝ้ายสำหรับถักทอเป็นผ้าจีวร สำหรับตัดเย็บที่วัดจากแดงโดยชุมชนในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า ยิ่งไปกว่านั้น ในปี 2564 บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการ “แยกขวดสู้ภัยโควิด” โดยการรวบรวม ขวดพลาสติกมาแปรรูปเป็นผ้า เพื่อตัดเย็บเป็นชุด PPE มอบให้สัปเหร่อ ซาเล้ง พนักงานเก็บขยะ รวม 8,000 ชุด รวมถึงมีการนำขวดมาแปรรูปเป็นผ้าเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น จีวร ผ้าห่ม ผ้าพิมพ์ลายไทย รองเท้า เป็นต้น โดยสามารถตัดเย็บจีวรได้ 86 ชุด และ ผ้าห่มจำนวน 6,500 ผืน อีกทั้งโครงการนี้ยังมีการนำขยะอินทรีย์ มาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ตราใบจาก ผลิตและจำหน่ายได้กว่า 50,000 กิโลกรัม โครงการนี้สามารถสร้างรายได้จากยอดขายรวมจากทุกผลิตภัณฑ์ 2,863,762 บาท ซึ่งโครงการนี้ นอกจากจะเป็นการแปรรูปขวดพลาสติกที่ผ่านการใช้งานให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น การจัดการขยะอินทรีย์อย่างเป็นระบบเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยที่มีคุณภาพแล้ว ยังเป็นอีกหนึ่งช่องทางการสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับชุมชนในพื้นที่ด้วย
โครงการธนาคารทิ้ง-ไซเคิล
(ThinkCycle Bank)
บริษัทฯ ต่อยอดโครงการ ThinkCycle Bank เพื่อเปลี่ยนขยะให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ด้วยระบบธนาคารขยะรีไซเคิลออนไลน์ โดยมุ่งแก้ปัญหาขยะตั้งแต่ต้นทาง ปลูกจิตสำนึกการคัดแยกขยะ และนำขยะกลับมาใช้ใหม่ตามหลัก Circular Economy พร้อมสร้างเครือข่ายการจัดการขยะจากระดับครัวเรือนสู่ระดับจังหวัด ซึ่งช่วยสร้างความตระหนักถึงปัญหาขยะในชุมชนแก่เยาวชน เสริมความรู้ความเข้าใจกระบวนการบริหารจัดการขยะ นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะในชุมชนของตน และมีรายได้จากการนำขยะมารีไซเคิล โดยตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการมีเยาวชนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 10,000 คน จาก 21 สถาบันการศึกษา และในปี 2564 โครงการสามารถรวบรวมขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ 11,427 กิโลกรัม สร้างรายได้ให้กับโรงเรียนเครือข่ายเป็นเงิน 28,797 บาท


