การประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ ได้นำผลการประเมินเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน มาพิจารณาในการคัดเลือกและดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเชิงลึก (Human Rights Impact Assessment) เพื่อศึกษาถึงระดับผลกระทบของประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เหลืออยู่ โดยมีการเก็บข้อมูลผ่านการสำรวจและการสัมภาษณ์กับผู้ถือครองสิทธิ (Right Holders)
ซึ่งเป็นบุคคลที่อาจได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ พนักงานบริษัทฯ คู่ค้าและชุมชนท้องถิ่น โดยผลที่ได้จากการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ทำให้บริษัทฯ เข้าใจในประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดจากกิจกรรมทางธุรกิจ และสามารถกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบ รวมถึงการเยียวยาผู้ที่อาจได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนและการลดผลกระทบ (Human Rights Impacts and Mitigation Measures)
ผลกระทบ
- สภาพการจ้างงาน ภาระงาน และค่าตอบแทน
- ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ มลพิษ สารเคมีร้ายแรง และอุปกรณ์นิรภัยที่อาจไม่เพียงพอ
- การปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม และการเลือกปฏิบัติ
- เสรีภาพในการเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เสรีภาพในการเจรจาต่อรอง และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
- ความเสี่ยงในการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน
- มาตรการรักษาความปลอดภัยไม่เพียงพอ เช่น การตรวจยานพาหนะไม่ทั่วถึง และอุปกรณ์ชำรุด เป็นต้น
มาตรการลดผลกระทบ
- นโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิ นโยบายทางด้านสิทธิมนุษยชน นโยบายป้องกันการถูกล่วงละเมิดทางเพศ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัท ฯ รวมถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณธุรกิจ และจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต จัดหาสินค้า วัตถุดิบ และการบริการ
- ส่งเสริมเรื่องสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ผ่าน QSE Direction and Plan, QSE Direction and Plan, GC Management System (GCMS), Safety Talks, B-CAREs, Zero ICU and other standards (อาทิ PSM, OEMS, BCMS, IMS, SWO, ISO 45001, ISO 14001) รวมถึงช่องทางการแจ้งเบาะแส
- กำหนดมาตรการการรับมือวิกฤตโควิด-19 อาทิ Work From Home และ Online Learning Management System
- จัดให้มีคณะกรรมการสวัสดิการที่ส่งเสริมอำนาจการต่อรองของพนักงาน
- ให้ค่าชดเชยผ่านประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และเงินช่วยเหลือกรณีสูญเสียจากการปฏิบัติงาน
- จัดอบรมความปลอดภัย ตรวจสอบก่อนเริ่มงาน และให้สิทธิหยุดงานเมื่อพบความเสี่ยง
- ประเมินความเสี่ยงภาคสนาม เดินตรวจพื้นที่ และฝึกอบรมผู้ให้บริการขนส่ง
- ตรวจสอบแสงสว่างและดำเนินการซ่อมแซมเมื่อพบข้อบกพร่อง
ผลกระทบ
- ผลกระทบจากมลพิษและอุบัติเหตุจากการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ
- ชุมชนบางแห่งแสดงความกังวลเรื่องมลพิษทางอากาศ
มาตรการลดผลกระทบ
- นโยบายที่เกี่ยวข้อง อาทิ นโยบายทางด้านสิทธิมนุษยชน นโยบายและแผนการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน รวมถึงมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ISO 39001
- จัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System)
- ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่ระบุไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
- ดำเนินการมีส่วนร่วมกับชุมชนผ่านโครงการเพื่อสังคม / ดำเนินการสำรวจความพึงพอใจของชุมชน
- ดำเนินการตามมาตรการความรับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม และสำรวจความพึงพอใจของชุมชน
ผลกระทบ
- สภาพการทำงาน
- การจ้างแรงงานผิดกฎหมาย
- อาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน
- การเลือกปฏิบัติและการคุกคาม
มาตรการลดผลกระทบ
- การลงนามการรับทราบจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของผู้ผลิต จัดหาสินค้า วัตถุดิบ และการบริการ
- ปฏิบัติตามระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
- ติดตามผลการดำเนินงานของคู่ค้า ผ่านการประเมินตนเองของคู่ค้า
- ดำเนินการสำรวจคู่ค้า (Supplier Survey)
- ตรวจประเมินผลการดำเนินงานตามแบบประเมินศักยภาพด้านความยั่งยืนของคู่ค้า
- ชี้แจงให้ผู้ค้าในระดับปฏิบัติการรับทราบ และปฏิบัติตามแนวทางการกำกับดูแลการดำเนินงานให้มีความสอดคล้องตามข้อกำหนด และมาตรฐานของบริษัท และกฎหมายแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ว่าด้วยเรื่องสิทธิแรงงาน
- จัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกที่เพียงพอสำหรับจำนวนผู้รับเหมาที่ทำงานในพื้นที่ เช่น พื้นที่พักผ่อน พื้นที่ทานอาหารเต็นท์พัก และที่จอดรถ เป็นต้น
- ส่งเสริมเรื่องเพศทางเลือก (LGBTQ+) และการปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อพนักงานและคู่ค้ามากขึ้น
หมายเหตุ ช่องทางการแจ้งเบาะแส เช่น อีเมล เว็บไซต์ จดหมาย และคณะกรรมการสวัสดิการ เป็นต้น ได้ถูกจัดไว้สำหรับผู้ถือครองสิทธิที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
การติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ มีกระบวนการติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำ โดยกำหนดเป้าหมายและดัชนีชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators: KPIs) ด้านสิทธิมนุษยชนให้กับหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยมีหัวข้อการประเมิน อาทิ การอบบรมทางด้านนโยบายสิทธิมนุษยชน รวมถึงมีการตรวจประเมินด้านสิทธิมนุษยชนจากหน่วยงานภายนอก นอกจากนี้ บริษัทฯ กำหนดให้คู่ค้ามีการตรวจประเมินด้านสิทธิมนุษยชนของตนเอง ตลอดจนบริษัทฯ ได้ติดตามผลการดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลองค์กร (Environment, Social, Governance: ESG) ของคู่ค้าที่ครอบคลุมประเมินผลกระทบด้านแรงงาน สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน และสังคมชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดเตรียมช่องทางรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานและบุคคลภายนอก เพื่อนำความคิดเห็นมาทบทวนแก้ไข ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถป้องกันและลดความเสี่ยงที่อาจจะนำไปสู่การละเมิดสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ จัดทำนโยบายและช่องทางการแจ้งเบาะแส เพื่อรับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก ครอบคลุมการฝ่าฝืนนโยบาย จรรยาบรรณ การทุจริต และการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเน้นการคุ้มครองผู้ร้องเรียนและผู้ถูกร้องเรียน การสอบสวน การเยียวยา และการติดตามผล
ช่องทางการรายงาน
รายงานถึง: ประธานกรรมการคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและความยั่งยืน, หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบภายใน, เลขานุการบริษัทฯ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 555/1 อาคารพลังงาน ชั้น 18 อาคาร A ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
อีเมล: whistleblower@pttgcgroup.com, corporatecompliance@pttgcgroup.com
ข้อมูลผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2024
(จากการประเมินความเสี่ยงและช่องทางรับเรื่องร้องเรียน)
0 กรณี การละเมิดสภาพการจ้างงาน ในการดำเนินงานของบริษัทฯ
0 กรณี การคุกคามทางเพศ
0 กรณี การเลือกปฏิบัติ
0 กรณี การคุกคามที่ไม่ใช่ทางเพศ
0 กรณี การจ่ายค่าจ้างไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ ในการดำเนินงานของบริษัทฯ
0 กรณี การจ้างแรงงานผิดกฎหมาย (การบังคับใช้แรงงาน การค้ามนุษย์ แรงงานเด็ก) ในการดำเนินงานของบริษัทฯ
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยเปิดเผยผลการดำเนินงานผ่านรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการและเว็บไซต์ของบริษัทฯ ซึ่งรวมถึงกระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ครอบคลุมการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (HRRA) และการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (HRIA) พร้อมผลการประเมินและแนวทางการแก้ไขในประเด็นสำคัญ
ในกรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง บริษัทฯ จะเปิดเผยเหตุการณ์ ผลกระทบ มาตรการเยียวยา และช่องทางการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียที่ได้รับผลกระทบผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ อย่างโปร่งใสและตรงไปตรงมา
การสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน (Raising Awareness on Human Rights)
ผู้บริหารและพนักงานทุกคนในบริษัทฯ และบริษัทร่วมทุน ต้องผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักสากลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน เช่น ความมั่นคงปลอดภัยของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และการเคารพสิทธิมนุษยชนของพนักงานฝ่ายบุคคล เป็นต้น เพื่อให้เข้าใจถึงสิทธิมนุษยชนพื้นฐานที่ตนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานพึงได้รับ รวมถึงร่วมกันป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนไม่ให้เกิดขึ้นตลอดการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ครอบคลุมไปถึงห่วงโซ่คุณค่าของบริษัทฯ อีกทั้งบริษัทฯ ได้ดำเนินการจัดทำระบบการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน หรือ E-learning เพื่อให้พนักงานทุกคนได้รับความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการสื่อสารและให้ความรู้ทางด้านสิทธิมนุษยชนแก่คู่ค้า ผ่านการจัดประชุมคู่ค้าประจำปี (Annual Supplier Conference) เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าของบริษัทฯ มีความตระหนักและเคารพเรื่องสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร เช่น นโยบายสิทธิมนุษยชน การประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน กิจกรรมของธุรกิจที่มีความเสี่ยง จำนวนพื้นที่ปฏิบัติงานที่มีแผนการบรรเทาความเสี่ยง ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเปราะบาง อาทิ เด็ก ชุมชนท้องถิ่น ผู้อพยพ สิทธิในการมีความปลอดภัยในการทำงาน และสิทธิในการเข้าร่วมสหภาพแรงงานหรือคณะกรรมการสวัสดิการ เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงและลดผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นจากคู่ค้า