การประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ
การประเมินประเด็นด้านความยั่งยืน (Materiality Assessment) GRI 3-1
กระบวนการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ (Process to Determine Material Topics)
บริษัทฯ จัดทำประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจเป็นประจำทุกปี ครอบคลุมมิติสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ (Environmental, Social, Governance: ESG) โดยพิจารณาผลกระทบใน 2 มิติ (Double Materiality) ได้แก่ (1) ผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ (Impact to Business) และ (2) ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact to Environmental and Social) ทั้งประเด็นที่เป็นโอกาสและความเสี่ยงของบริษัทฯ (Positive and Negative Impact) ในปัจจุบันและคาดการณ์ในอนาคต (Actual or Potential Impact) ซึ่งประเมินจากความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ตลอดจนพิจารณาแนวโน้มและทิศทางความยั่งยืนในกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี โดยมีการนำเสนอประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญต่อคณะกรรมการการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญกับบริบท เป้าหมาย และกลยุทธ์ของบริษัทฯ และนำเสนอต่อคณะบริหาร และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee-Board Level) ซึ่งเป็นผู้พิจารณากำหนด ทบทวน นโยบาย กลยุทธ์ และปรับปรุงเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการเปิดเผยข้อมูล โดยคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยังมีการดูแล ติดตาม ประเมินผลและเปิดเผยข้อมูลการดำเนินการด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้มี ความสมดุลและมีประสิทธิภาพ
บริษัทฯ ประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ โดยอ้างอิงกระบวนการประเมินตามหลักการ Double Materiality ของระเบียบว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนในภาคเอกชน (Corporate Sustainability Reporting Directive: CSRD) ของสหภาพยุโรป ตามชุดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนแห่งยุโรป (European Sustainability Reporting Standards: ESRS) ซึ่งพัฒนาโดยคณะที่ปรึกษาการรายงานข้อมูลทางการเงินแห่งยุโรป (European Financial Reporting Advisory Group: EFRAG) และมาตรฐานตัวชี้วัดความยั่งยืนอื่นๆ ได้แก่
- Global Reporting Initiative (GRI) Standards 2021
- มาตรฐาน AA1000 Account Ability Principles: AA1000AP (2018)
- การประเมินดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI)
- International Financial Reporting Standards S1 และ S2 (IFRS S1 and S2)
- เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)
ผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ จะถูกนำไปพิจารณาในการพัฒนากลยุทธ์องค์กรและบูรณาการเข้ากับกระบวนการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้มีการติดตามความเสี่ยงและโอกาสที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนผ่านกรอบการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบ โดยบริษัทฯ ได้กำหนดดัชนีชี้วัดผลปฏิบัติงาน (KPI) ในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีชี้วัดองค์กรปี 2560-2570 และเป็นเกณฑ์ในการประเมินผลปฏิบัติงานและผลตอบแทนทั้ง เงินเดือน โบนัส และผลประโยชน์อื่นๆ ของประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้บริหารระดับสูง เพื่อส่งเสริมให้มีความรับผิดชอบและเกิดความโปร่งใสในการกำหนดค่าตอบแทน และบรรลุเกณฑ์ด้านความยั่งยืนต่างๆ อาทิ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง รวมถึงผลลัพธ์ด้านความปลอดภัย เช่น ความปลอดภัยของกระบวนการผลิต (Process Safety) และอัตราการบาดเจ็บจากการทำงาน (TRIR) เป็นต้น ซึ่งเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการบรรลุเป้าหมายระยะยาวด้านความยั่งยืน
กระบวนการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ ยังได้รับการตรวจสอบและรับรองจากหน่วยงานอิสระ (บุคคลที่สาม) ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ และสามารถแบ่งออกได้ 4 ขั้นตอนดังนี้
กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
ทำความเข้าใจบริบทขององค์กร (Understand The Organization’s Context)
ขั้นตอนที่ 2
ระบุผลกระทบที่เกิดขึ้นและที่อาจเกิดขึ้น (Identify Actual and Potential Impacts)
ขั้นตอนที่ 3
ประเมินผลกระทบที่มีนัยสำคัญ (Assess the Significant of the Impacts)
ขั้นตอนที่ 4
จัดลำดับความสำคัญของผลกระทบที่มีนัยสำคัญสำหรับการรายงาน (Prioritize the Most Significant Impacts for Reporting)
ประเด็นที่สำคัญ (Material Topics) (GRI 3-2)
จากขั้นตอนการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ บริษัทฯ ได้ดำเนินการที่สอดคล้องกับมาตรฐาน GRI และหลักการ Double Materiality อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอน โดยสามารถสรุปประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ และผลกระทบจากการประเมิน Double Materiality ได้ดังนี้
ตารางแสดงระดับผลกระทบในแต่ละประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ
จากประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญ 7 ประเด็นดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ ได้พิจารณาจัดกลุ่มโดยรวมประเด็นความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์/ ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืน (Product Stewardship/Sustainable Product) และเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เข้าด้วยกัน เนื่องจาก ประเด็นด้านความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนของบริษัทฯ ได้บูรณาการหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนเข้าเป็นส่วนหนึ่ง ของการดำเนินงาน ดังนั้น ประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ ปี 2566 สรุป ได้ 6 ประเด็น ดังนี้
ตารางแสดงประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญเรียงตามลำดับความสำคัญ (Significant Material Topics)
การจัดการประเด็นที่สำคัญ (GC’s Double Materiality Assessment 2023) (GRI 3-3)
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญสูงสุด (Most Important Material Topics)
กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการบริหารจัดการพลังงาน (Climate Strategy and Energy Management)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
นักลงทุน ภาครัฐ คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ถือหุ้น ชุมชน |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
27. Right to an adequate standard of living (Housing, Food, Water & Sanitation): UDHR 25 31. Right to self-determination: UDHR 21 |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk): - ปัจจัยความเสี่ยงด้านการมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization Implementation) ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk): - ความล้มเหลวในการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Failure to Mitigate Climate Change) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
บริษัทฯ มุ่งเน้นการยกระดับกระบวนการผลิต การจัดการพลังงาน และการอนุรักษ์พลังงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการลดก๊าซเรือนกระจกทั้งในขอบเขตที่ 1 2 และ 3 โดยครอบคลุมการดำเนินการใน 3 ด้าน คือ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Efficiency-driven) 2) การปรับโครงสร้างธุรกิจระยะยาวสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ (Portfolio-driven) และ 3) การชดเชยคาร์บอน (Compensation-driven) ควบคู่ไปกับการสร้างความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย |
Corporate KPI |
|
Long Term Target |
|
Target Year |
|
Progress |
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขต 1 และ2) เท่ากับ 8.17 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ |
ความรับผิดชอบต่อผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน (Product Stewardship/Sustainable Product and Circular Economy)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ลูกค้า ชุมชน คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
เสื่อมเสียภาพลักษณ์และชื่อเสียง |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
28. Right to health: UDHR 25 31. Right to self-determination: UDHR 21 |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
Business as Usual Risk: - ปัจจัยความเสี่ยงด้านความผันผวนของตลาดและผลประกอบการ(Market Volatility and Business Performance) ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk):- ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ในอนาคตจากวิกฤตทรัพยากรธรรมชาติมาตรการภาครัฐ (Changing Consumer Trendfrom Natural Resource Crisisand Regulatory) |
Impact Level | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะลงทุนการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยยึดหลักการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-design) และกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาใช้ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนากระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และกำหนดเป็นแผนธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ลดการเกิดของเสีย และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม |
Corporate KPI |
Adjusted EBITDA ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Bio and Circularity |
Long Term Target |
Adjusted EBITDA ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Bio and Circularity ร้อยละ 7 |
Target Year |
2030 |
Progress |
Adjusted EBITDA ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ Bio and Circularity 673 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.68 ในปี 2566 |
การบริหารจัดการนวัตกรรม (Innovation Management)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
ชุมชน ลูกค้า พนักงาน คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ถือหุ้น นักลงทุน |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
31. Right to self-determination: UDHR 21 |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
Business as Usual Risk: - ปัจจัยความเสี่ยงด้านความผันผวนของตลาดและผลประกอบการ (Market Volatility and Business Performance) ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk): - ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ในอนาคตจากวิกฤตทรัพยากรธรรมชาติมาตรการภาครัฐ (Changing Consumer Trendfrom Natural Resource Crisisand Regulatory) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
บริษัทฯ มุ่งมั่นในการลงทุนและพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องตามกลยุทธ์การจัดการนวัตกรรม คือ 1) การเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Competitiveness & Decarbonization) 2) การพัฒนานวัตกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามความต้องการของตลาด (Market-Focused Innovation) 3) การพัฒนานวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเติบโตของธุรกิจใหม่ (Innovation Growth Platform) 4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหน่วยสนับสนุนและกำกับดูแล (Enabler) |
การกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณทางธุรกิจและการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Governance and Compliance)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
นักลงทุน พนักงาน ผู้ถือหุ้น ภาครัฐ ลูกค้า ชุมชน คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
6. Right to equality before the law, equal protection of the law, non-discrimination: UDHR 7 19. Right to freedom of opinion, information and expression: UDHR 19 24. Right to work: UDHR 23 25. Right to enjoy just and favorable conditions of work (including rest and leisure): UDHR 23 and 24 27. Right to an adequate standard of living (Housing, Food, Water & Sanitation): UDHR 25 |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) | |
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
Strategic Risk - ปัจจัยความเสี่ยงด้านบุคลากรและองค์กร (People and Organization) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) บริษัทฯ มีคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน (Nomination and Remuneration Committee) ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการบริษัทฯ (Directors) โดยรายชื่อบุคคลที่ถูกคัดเลือกจะนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ และ/หรือ ผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติแต่งตั้ง ซึ่งกระบวนการสรรหาคณะกรรมการจะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบและโปร่งใสตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยพิจารณาตามกฎหมายและข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ตลอดจนคำนึงถึงข้อบังคับของบริษัทฯ ตามแนวปฏิบัติของหลักการกำกับดูแลกิจการที่สำหรับบริษัทจดทะเบียนปี 2560 (CG Code) นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee) ซึ่งมีขอบเขตหน้าที่ในการพิจารณากำหนดแนวทาง และเสนอแนะนโยบายหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณ จริยธรรมทางธุรกิจ และมาตรการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันตามระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี พร้อมทั้งกำหนด ทบทวน และปรับปรุง นโยบาย กลยุทธ์ และเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมาตรฐานระดับประเทศและมาตรฐานสากล |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
พนักงาน คู่ค้า ชุมชน |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
1. Right to life: UDHR 3 23. Right to social security, including social insurance: UDHR 22 25. Right to enjoy just and favorable conditions of work (including rest and leisure): UDHR 23 and 24 28. Right to health: UDHR 25 |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
Business as Usual Risk: - ปัจจัยความเสี่ยงด้านปฏิบัติการและความปลอดภัย(Operational and Safety) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) บริษัทฯ จัดทำนโยบาย คุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Quality, Security, Safety, Occupational Health, Environment, and Business Continuity: QSHEB) และประยุกต์ใช้มาตรฐานต่างๆ อาทิ มาตรฐานความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (Process Safety Management: PSM) ระบบบริหารจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา (Contractor Safety Management: CSM) และ ISO 45001 นอกจากนี้บริษัทฯ ยังส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งด้านวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture) ให้แก่พนักงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร ครอบคลุมทุกกิจกรรมของพนักงาน ผู้รับเหมา และคู่ค้าที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง สร้างความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน (Operational Excellence) เพื่อยกระดับการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและบรรลุเป้าหมายสูงสุดในการเป็นองค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ เรื่องร้องเรียน และการหยุดผลิตอย่างกะทันหัน (Zero Incident, Zero Complaint, Zero Unplanned Shutdown: Zero ICU) |
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Corporate KPI) |
|
เป้าหมายระยะยาว (Long Term Target) |
|
ปีเป้าหมาย (Target Year) | 2570 |
ความคืบหน้าของการดำเนินงาน (Progress) | อัตราความถี่ของการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR) ของพนักงานไม่เกิน 0.00 กรณีต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน |
ตัวชี้วัดผลการดำเนินงานย้อนหลัง 4 ปี (Output Metric 4 Year Performance) | จำนวนเคสการเสียชีวิต |
ตัวชี้วัดผลกระทบ (Impact Metrics) | การหลีกเลี่ยงการสูญเสียรายได้ที่เกิดจากการป้องกันเคสเสียชีวิต (Avoided income loss from fatality case avoidance) |
การบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk and Crisis Management)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
นักลงทุน ภาครัฐ พนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ชุมชน คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
7. Right to freedom from war propaganda, and freedom from incitement to racial, religious or national hatred: UDHR 7 |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) | |
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk):- ปัจจัยความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการด้านการเงินและการลงทุน (Financial and Investment Management) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
บริษัทฯ มุ่งมั่นจัดการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นระบบทั่วทั้งองค์กรพร้อมทั้งปรับปรุงความคล่องตัวของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังดำเนินโครงการฝึกอบรมเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง เพื่อสร้างความตระหนักรู้และปรับปรุงการพัฒนาตนเองให้กับผู้บริหารและพนักงานทุกคน เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ จะสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามกลยุทธ์การดำเนินงานของบริษัทฯ |
ประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญพื้นฐาน (Foundation Material Topics)
การบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (Sustainable Environmental Management)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
ภาครัฐ/องค์กรไม่แสวงหากำไร คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน ชุมชน |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
1. Right to life 28. Right to health 31. Right to self-determination and natural resources |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk): - ปัจจัยความเสี่ยงด้านการมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization Implementation) ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk): - ความล้มเหลวในการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Failure to Mitigate Climate Change) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
บริษัทฯ กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านการจัดทำนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และความต่อเนื่องทางธุรกิจ (Quality, Security, Safety, Occupational Health, Environment, and Business Continuity: QSHEB) โดยมีการทบทวนความเหมาะสมของแผนให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบันทุกๆ ปี พร้อมทั้งวางแผนและพัฒนาระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานสากล อาทิ มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001 – Environmental Management System) มาตรฐานระบบการจัดการพลังงาน (ISO 50001 – Energy Management System) มาตรฐานการจัดการก๊าซเรือนกระจก (ISO 14064-1 – Greenhouse Gases) และมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (ISO 9001 – Quality Management System) เป็นต้น |
การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน (Sustainable Water Management)
สาเหตุของผลกระทบ (สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact)) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
ภาครัฐ/องค์กรไม่แสวงหากำไร คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ ชุมชน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า พนักงาน |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
23. Right to Adequate Living Standard 31. Right to self-determination: UDHR 21 |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) | |
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk): - ปัจจัยความเสี่ยงด้านการมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization Implementation) ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk): - ความล้มเหลวในการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Failure to Mitigate Climate Change) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
|
การดึงดูดและรักษาพนักงาน (Talent Attraction and Retention)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
พนักงาน คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
23. Right to Adequate Living Standard 25. Right to enjoy just and favorable conditions of work including rest and leisure |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) | |
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk): - ปัจจัยความเสี่ยงด้านบุคลากรและองค์กร (People and Organization) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
|
ความรับผิดชอบต่อสังคม (Contribution to Society)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
ชุมชน นักลงทุน ลูกค้า ภาครัฐ ผู้ถือหุ้น |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
23. Right to social security, including social insurance 27. Right to an adequate standard of living (housing, food, water and sanitation) |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk): - ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ในอนาคตจากวิกฤตทรัพยากรธรรมชาติมาตรการภาครัฐ (Changing Consumer Trendfrom Natural Resource Crisisand Regulatory) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
|
การบริหารจัดการห่วงโซ่ธุรกิจ (Supply Chain Management)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
ลูกค้า ภาครัฐ คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ถือหุ้น |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
2. Right to liberty and security (including freedom from arbitrary arrest, detention, or exile) 3. Right not to be subjected to slavery, servitude or forced labor 33. Right not to be subjected to imprisonment for inability to fulfil a contract |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk): - ปัจจัยความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของวัตถุดิบ (Sustainable Feedstock)- ปัจจัยความเสี่ยงด้านการมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Decarbonization Implementation) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
|
การเสริมสร้างศักยภาพให้พนักงาน (Human Capital Development)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
ผู้ถือหุ้น คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ พนักงาน |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
19. Right to education |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ (Strategic Risk): - ปัจจัยความเสี่ยงด้านบุคลากรและองค์กร (People and Organization) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
บริษัทฯ วางแผนเส้นทางความก้าวหน้าตามสายอาชีพของพนักงานควบคู่กับการจัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพให้กับพนักงานทุกระดับ โดยกำหนดความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานแต่ละตำแหน่ง ทั้งความเชี่ยวชาญตามลักษณะงานและภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละระดับ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจและกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากร ตลอดจนวางแผนการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งสำหรับคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านวัฒนธรรมองค์กร |
การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (Customer Relationship Management)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
ลูกค้า คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ถือหุ้น |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
19. Right to freedom of opinion, information, and expression |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
Business as Usual Risk: - ปัจจัยความเสี่ยงด้านความผันผวนของตลาดและผลประกอบการ (Market Volatility and Business Performance) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
จัดทำแผนการตลาดเชิงรุกเพื่อรักษาความสัมพันธ์ของลูกค้าเดิมและสร้างฐานลูกค้าใหม่ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และตอบสนองความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า พร้อมทั้งมีแนวทางการบริหารลูกค้าสัมพันธ์หลากหลายรูปแบบ เช่น การจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การรับข้อเสนอแนะและข้อร้องเรียนจากลูกค้าผ่านระบบ Voice of Customer (VoC) ในหลากหลายช่องทาง อาทิ เว็บไซต์ของบริษัทฯ การสำรวจความพึงพอใจลูกค้าประจำปี และผ่านพนักงานที่เป็นตัวแทนของบริษัทฯ ตลอดจน บริษัทฯ มีช่องทางและกระบวนการในการตอบสนองต่อข้อเสนอแนะของลูกค้าอย่างทันท่วงที เพื่อดำเนินการตรวจสอบ วิเคราะห์สาเหตุและหาแนวทางการแก้ไขปัญหา รวมถึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหากับลูกค้า แก้ไขปัญหา และติดตามผลเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิมขึ้นอีกในอนาคต |
ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
ภาครัฐ/องค์กรไม่แสวงหากำไร ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ชุมชนและสังคม |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
|
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
31. Right to self-determination and natural resources |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
ปัจจัยความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk): - การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการล่มสลายของระบบนิเวศ (Biodiversity Lossand Ecosystem Collapse) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) บริษัทฯ ตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์และบริการทางระบบนิเวศ ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการควบคุมและพัฒนามาตรการต่างๆ อย่างรอบคอบ ผ่านการประเมินความเสี่ยงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity Risk Assessment) ของทุกพื้นที่ปฏิบัติงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้สามารถระบุระดับความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ อันนำไปสู่การบริหารจัดการการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งบริษัทฯ ได้ประยุกต์ใช้หลักการบรรเทาผลกระทบตามลำดับขั้น (Mitigation Hierarchy Principle) ในการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา ฟื้นฟู และชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า |
การกำกับดูแลความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและไซเบอร์ (Information and Cyber Security)
สาเหตุของผลกระทบ (Cause of Impact) |
ส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่เกี่ยวข้อง
|
---|---|
ผู้มีส่วนได้เสียหลัก (Key Stakeholders) |
พนักงาน คู่ค้าและหุ้นส่วนธุรกิจ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า |
ผลกระทบ และประเภทของผลกระทบ (Main impact and Type of impact) | |
ช่วงเวลาที่ผลกระทบคาดว่าจะเกิด (Impact Period) |
|
ผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน* (Human Rights Impacts) |
11. Rights to Privacy |
SDGs ที่สอดคล้อง (Main Reference SDGs) |
|
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง (Risk Factor) |
Business as Usual Risk: - ปัจจัยความเสี่ยงด้านภัยคุกคามไซเบอร์ (Cyber Threat) |
ระดับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม (Impact Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบต่อบริษัทฯ (Financial Materiality Level) | |
ระดับผลกระทบของ Double Materially (Double Materiality Level) | |
การบริหารจัดการประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของบริษัทฯ (Response Plan) |
|
* หมายเหตุ
1การดำเนินงานภายในขอบเขตบริษัทฯ ครอบคลุมทั้ง ปิโตรเคมีขั้นต้น (Upstream) ปิโตรเคมีขั้นกลาง (Intermediates) และปิโตรเคมีขั้นปลาย (Downstream)
2ผลิตภัณฑ์/การบริการปลายทาง ครอบคลุมธุรกิจปลายทาง อาทิ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงเพื่อการคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์
3ห่วงโซ่อุปทาน ครอบคลุมธุรกิจต้นทาง อาทิ วัตถุดิบ (Feedstock)
จากข้อมูลสรุปการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญข้างต้น กิจกรรมที่ดำเนินภายใต้การควบคุมและการกำกับดูแลโดยตรงจากบริษัทฯ นับเป็นภาคส่วนในห่วงโซ่คุณค่าที่มีความเกี่ยวข้องและได้รับผลกระทบจากความเสี่ยงและโอกาสด้านความยั่งยืนมากที่สุด โดยกิจกรรมของบริษัทฯ โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดระยอง ซึ่งดำเนินการตามมาตรการควบคุมที่รัดกุมอย่างเข้มงวดและสม่ำเสมอ
ข้อมูลเพิ่มเติม: การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย: การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย
ข้อมูลเพิ่มเติม: การประเมินผลกระทบภายนอกในปี 2566