ประเด็นความยั่งยืน
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ระดับผลกระทบ
ต่ำ
ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
ภาครัฐ

แนวทางการบริหารจัดการ (Management Approach) GRI 3-3 (2021)

มนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้โดยปราศจากความสมดุลของระบบนิเวศ ความหลากหลายทางชีวภาพและแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติเป็นส่วนประกอบสำคัญที่แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทุกชีวิตบนโลก อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และเผ่าพันธ์ต่างๆ บริษัทฯ ตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์และบริการทางระบบนิเวศ ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้ดำเนินการควบคุมและพัฒนามาตรการต่างๆ อย่างรอบคอบ ผ่านการประเมินความเสี่ยงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ของทุกพื้นที่ปฎิบัติงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้สามารถระบุระดับความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ อันนำไปสู่การบริหารจัดการการดำเนินธุรกิจได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งบริษัทฯ ได้ประยุกต์ใช้หลักการบรรเทาผลกระทบตามลำดับขั้น (Mitigation Hierarchy Principle) ในการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา ฟื้นฟู และชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า

หลักการบรรเทาผลกระทบตามลำดับขั้น
(Mitigation Hierarchy Principle)

  • หลีกเลี่ยง (Avoid) – บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะไม่ดำเนินกิจการในพื้นที่ที่มีความสำคัญทางความหลากหลายทางชีวภาพ (Critical Biodiversity Area) รวมถึงบริษัทฯ มีนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และความต่อเนื่องทางธุรกิจ (QSHEB Policy) ที่ระบุถึงการควบคุมและการกำกับการดำเนินธุรกิจอย่างเข้มงวด เพื่อดูแลและทำนุบำรุงความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย
  • ลดผลกระทบ (Minimize) - บริษัทฯ ดำเนินการและพัฒนาโครงการเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างหลากหลาย เช่น การนำหลักการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-design) มาประยุกต์ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน และการพัฒนาพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (Biodegradable Plastic) เป็นต้น
  • ฟื้นฟู (Restore) - บริษัทฯ ดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาระบบนิเวศอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการปลูกป่าที่หลากหลาย อาทิ โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด และโครงการป่านิเวศ ระยองวนารมย์
  • ชดเชย (Offset) - บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการขยายผลการดำเนินการงานด้านการบำรุงรักษาและฟื้นฟูระบบนิเวศ ไปสู่พื้นที่ที่มีความเสี่ยงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพต่างๆ ให้อุดมสมบูรณ์และยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

บริษัทฯ มุ่งมั่น ปฏิบัติตามข้อกำหนด และติดตามการดำเนินงานของตนเองและคู่ค้า เพื่อสร้างความมั่นใจว่าบริษัทฯ มีการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบูรณาการคุณค่า ทั้งนี้ บริษัทฯ คำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ และได้นำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจทางธุรกิจ ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้บูรณาการและสื่อสารเกี่ยวกับการบรรเทาการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและการตัดไม้ทำลายป่าทั้งภายในกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ และองค์กรภายนอก

ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No Net Loss – NNL) ภายใต้ขอบเขตที่สามารถจัดการได้ รวมถึงมีการส่งเสริมให้การดำเนินโครงการทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีการสร้างผลกระทบสุทธิเชิงบวก (Net Positive Impact) สำหรับกรณีที่เป็นไปได้ อีกทั้งยังสนับสนุนให้คู่ค้าทางตรง (Tier-1 Supplier) และหุ้นส่วนทางธุรกิจ (Business Partners) ดำเนินธุรกิจโดยปราศจากผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ (No Net Deforestation) และผลักดันให้บริษัทฯ ดำเนินกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า (No Gross Deforestation) เพื่อการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายสำหรับความมุ่งมั่นและการดำเนินงานทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพต่างๆ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนประจกสุทธิเป็นศูนย์หรือ Net Zero (Compensation-Driven) ในปีพ.ศ. 2593 ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รวบรวมประเด็นสำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ในนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และความต่อเนื่องทางธุรกิจ และคำแสดงเจตจำนงด้านการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของบริษัทฯ

ความร่วมมือกับเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ (Engagement and Collaboration with the Biodiversity Network)

บริษัทฯ ได้ดำเนินความร่วมมือด้านความหลากหลายทางชีวภาพกับองค์กรภายนอกต่าง ๆ เช่น ชุมชน หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ร่วมอนุรักษ์และปลูกป่าชายเลนบนพื้นที่กว่า 10,000 ไร่ ร่วมกับ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และชุมชนท้องถิ่น เพื่อลดผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาและชีวภาพ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) และชมรมคนรักษ์ป่า ชากลูกหญ้า-ห้วยมะหาด เพื่อฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพครอบคลุมพื้นที่ 2,500 ไร่บนเขาห้วยมะหาดในจังหวัดระยอง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ร่วมมือกับชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อดำเนินโครงการปลูกป่า ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพและความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนได้ รวมถึงบริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการปลูกป่า ช่วยกักเก็บ คาร์บอนไดออกไซด์ 25 ไร่ ณ พื้นที่สำนักงานระยอง GC Chemical Experience Campus เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero โดยใช้พื้นที่ 25 ไร่ จากพื้นที่สีเขียวทั้งหมด 65 ไร่ ในการปลูกไม้พันธุ์ต่างๆ อาทิ ต้นกระถินเทพา ต้นเหลืองเชียงราย และต้นกระทิงหรือสารภีทะเล ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดระยอง โดยเมื่อต้นไม้มีอายุครบ 5 ปี จะสามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 74 ตันต่อปี (นับว่ามีอัตราการดูดซับฯ ที่สูงกว่าการปลูกป่าบกทั่วไป) ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนการปลูกป่าเพิ่มเติมในอนาคต ทั้งป่าบก และป่าชายเลน ซึ่งจะดำเนินการในปีต่อไป

ความร่วมมือกับเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ


องค์กร / หน่วยงานภายนอก ความร่วมมือกับเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สนับสนุนและให้ความร่วมมือในการใช้พื้นที่ชายฝั่งและจัดกิจกรรมร่วมกับชุมชนท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.)

ชมรมคนรักษ์ป่า ชากลูกหญ้า-ห้วยมะหาด

ร่วมลงนามความร่วมมือในการฟื้นฟูและพัฒนาพื้นที่ป่าเขาห้วยมะหาดระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2556 – 2566) โดยมีพื้นที่ ดำเนินโครงการ 2,500 ไร่
ชุมชนท้องถิ่นบ้านฉาง ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ ปลูกป่านิเวศ ระยองวนารมย์ ภายใต้การดูแลของบริษัทฯ
ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช กรุงเทพมหานคร
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ร่วมพัฒนาพื้นที่บริเวณศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช บนพื้นที่ 55 ไร่ ให้เป็นพื้นที่สีเขียว ภายใต้โครงการปลูกต้นไม้ “ยิ่งปลูก ยิ่งดี”

โครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่โดดเด่น

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้อนุรักษ์และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพผ่านโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย ตัวอย่างโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ได้แก่ โครงการยิ่งปลูก ยิ่งดี โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด โครงการป่านิเวศ ระยองวนารมย์ และโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลตลอดแนวชายฝั่งระยอง

โครงการยิ่งปลูก ยิ่งดี

เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับ กรุงเทพมหานคร เปิดโครงการ “ยิ่งปลูก ยิ่งดี” ซึ่งเป็นโครงการปลูกป่าเพื่อดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์แบบธรรมชาติ ครอบคลุมทั้งรูปแบบป่านิเวศ ป่าชายเลน ในหลายจังหวัดทั่วประเทศรวมถึงพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยโครงการเริ่มต้นดำเนินการร่วมกับกรุงเทพมหานครเป็นที่แรก บนพื้นที่บ่อขยะเดิมในบริเวณศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ด้วยขนาดพื้นที่ 55 ไร่ โดยนับเป็นความท้าทายในการปลูกต้นไม้ในบริเวณนี้ เนื่องจากถูกใช้เป็นพื้นที่ฝังกลบขยะมาเป็นเวลานาน ซึ่งมีสภาพพื้นที่และสภาพดินที่เสื่อมโทรม

นอกจากเป็นการเพิ่มพื้นที่เพื่อฟอกปอดให้คนกรุงเทพฯ แล้ว ต้นไม้ยังช่วยลดมลพิษจากฝุ่น PM2.5 พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และการสร้างสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น อันสอดคล้องกับนโยบายของกรุงเทพมหานครในการเพิ่มพื้นที่ป่าในเมือง

โดยภายในงานนี้ มีนายชัชชาติ สิทธิพันธ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC เข้าร่วมพิธี ณ พื้นที่บ่อขยะ บริเวณศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยอ่อนนุช แขวงประเวศ กรุงเทพฯ

การปลูกป่าครั้งนี้ สามารถช่วยดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เฉลี่ยปีละ 165 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และจะปลดปล่อยออกซิเจนให้กับบรรยากาศได้โดยเฉลี่ยปีละ 120 ตัน ออกซิเจน


โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด

โครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมนี้เป็นความร่วมมือของ 4 องค์กร ได้แก่ GC มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) และชมรมคนรักษ์ป่า ชากลูกหญ้า-ห้วยมะหาด

โดยร่วมกันฟื้นฟูและรักษาระบบนิเวศบนพื้นที่

ไร่บนเขาห้วยมะหาด

จังหวัดระยอง ทั้งนี้ มีเป้าหมายร่วมกัน คือ ฟื้นฟูระบบนิเวศให้ผืนป่าเขาห้วยมะหาด เพื่อให้กลายเป็นพื้นที่ป่าต้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการและอย่างยั่งยืน

โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด

โครงการป่านิเวศ ระยองวนารมย์

บริษัทฯ โดยบริษัท จีซี เอสเตท จำกัด เข้าร่วมโครงการป่านิเวศ ระยองวนารมย์ เพื่อการปลูกป่าอย่างยั่งยืนและเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนบริเวณนิคมอุตสาหกรรมเอเชีย ตำบลบ้างฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ทั้งนี้ จากการสำรวจ พบว่า

พื้นที่ปลูกป่าดังกล่าว ซึ่งมีขนาดพื้นที่

ไร่


สามารถกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ได้

ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

โครงการป่านิเวศ ระยองวนารมย์

โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลตลอดแนวชายฝั่งระยอง

GC เห็นความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล จึงริเริ่มโครงการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลตลอดแนวชายฝั่งระยอง เพื่อคืนความสมบูรณ์ และสมดุลของระบบนิเวศ สร้างความยั่งยืนแก่ท้องทะเลระยอง เนื่องจากสำหรับคนพื้นเพระยองแล้ว การทำประมงเรือเล็กพื้นบ้าน คือ อาชีพดั้งเดิมที่สอดคล้องกับภูมิประเทศที่มีชายฝั่งทะเลอันอุดมสมบูรณ์ บริษัทฯ จึงจัดกิจกรรมของโครงการฯ ให้ครอบคลุมในหลายมิติ เพื่อเป็นการสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบกและทางทะเล โดยการดำเนินงานและผลลัพธ์จากการดำเนินงานในเชิงปริมาณและคุณภาพที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศทางทะเล ประกอบด้วย


สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล ด้วยซั้งกอ

สร้างแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลชายฝั่ง ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดระยอง โดยทำซั้งกอ และแนวกั้นเขตอนุรักษ์ทรัพยากรประมง ซึ่งสอดคล้องเป้าหมายการพัฒนายั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ เป้าหมายที่ 14 รักษ์ชีวิตใต้น้ำ (Life below water)

การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์: จัดทำซั้งกอ

+ กอ


ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ

บริษัทฯ ร่วมกับกลุ่มปตท. ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ทะเลระยอง เช่น ปลากะพง หอยหวาน หมึกหอม กุ้งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย เป็นต้น

การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์: ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำกว่า

ตัวต่อปี


ปลูกป่าชายเลน

ปลูกและขยายพันธุ์ต้นโกงกางและต้นโปรงแดง ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบมากในพื้นที่ป่าชายเลนจังหวัดระยอง ตลอดแนวป่าชายเลนคลองท่าถ่านและปากน้ำก้นปึก เพื่อพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรประมงชายฝั่ง

การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์: ปลูกต้นโกงกางไปแล้วกว่า

ต้น


โครงการธนาคารน้ำมันเครื่องมือสอง

รณรงค์ให้มีการจัดการน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการจัดการน้ำมันเครื่องใช้แล้วไม่ถูกต้อง เพิ่มรายได้แก่กองทุนส่งเสริมกลุ่มอาชีพประมง โดยมีกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านในจังหวัดระยอง

การดำเนินโครงการและผลสัมฤทธิ์:

จัดเก็บน้ำมันได้ ลิตรต่อปี

สร้างรายได้เฉลี่ยรวม บาทต่อปี