การยกระดับการบริหารและดำเนินงานอย่างยั่งยืน
บริษัทฯ นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ พัฒนา และปรับปรุงกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ควบคู่ไปกับการใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนเพิ่มเสถียรภาพในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังยกระดับความร่วมมือด้านความยั่งยืน ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ดำเนินงานหรือโครงการที่สอดคล้องกับ Smart Operating ดังนี้
โครงการอนุรักษ์พลังงาน
โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพหอกลั่น ผ่านการปรับอัตราการป้อนกลับ (Reflux Ratio) ของหอกลั่นให้อยู่ในจุดที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ส่งผลให้ลดการใช้พลังงาน และยังคงได้ปริมาณและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ก๊าซที่เท่าเดิมหรือดีขึ้น
ลดการใช้พลังงาน
กิกะจูลต่อปี
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต
ล้านบาทต่อปี
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานในกระบวนการผลิตไอน้ำ บริษัทฯ ศึกษาและวางแผนการขยายกำลังการผลิตไอน้ำให้สอดรับกับปริมาณพลังงานที่ผลิตได้ในอนาคต ส่งผลให้ลดอัตราการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไอน้ำ
ลดการใช้พลังงาน
กิกะจูลต่อปี
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการผลิต
ล้านบาทต่อปี
โครงการอนุรักษ์พลังงาน
อ่านเพิ่มเติมโครงการพลังงานทดแทน
ตัวอย่างโครงการ
บริษัทฯ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Rooftop) บนหลังคาของโรงงาน 5 แห่งของบริษัทฯ และยังพัฒนาระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบลอยน้ำ (Solar Floating) รวมถึงพัฒนาระบบกักเก็บพลังงานให้ทำงานร่วมกับระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (Energy Storage System: ESS) เพื่อผลิตไฟฟ้าสำหรับการใช้ประโยชน์ภายในบริษัทฯ สามารถผลิตพลังงานได้ 10,148 เมกะวัตต์ชั่วโมง
ผลิตไฟฟ้าได้สูงสุด
กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อวัน
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
ลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อพลังงาน
ล้านบาทต่อปี
โครงการพลังงานทางเลือก
อ่านเพิ่มเติมโครงการลดปริมาณมลพิษและของเสียต่อสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่างโครงการ
บริษัทฯ มุ่งมั่นบริหารจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดปริมาณของเสียที่อาจจะเกิดขึ้นให้เหลือน้อยที่สุด และนำวัสดุที่ใช้แล้วหรือไม่ได้ใช้กลับมาใช้ประโยชน์ทั้งในกระบวนการผลิตและพื้นที่สำนักงาน จึงได้นำกลยุทธ์การเสริมสร้างวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมผ่าน 5Rs (Reduce, Reuse, Recycle, Refuse, Renewable) มาใช้ในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม และสร้างสมดุลระหว่างการจัดการทรัพยากรควบคู่กับการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน ผ่านหลักการ ประสิทธิภาพนิเวศเศรษฐกิจ (Operational Eco-efficiency) โดยในปี 2566 บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการด้านการจัดการของเสีย อาทิ โครงการ นำฉนวนกันความร้อนกลับมาใช้ใหม่
โครงการ นำฉนวนกันความร้อนกลับมาใช้ใหม่
บริษัทฯ ต่อยอดการดำเนินโครงการซ่อมบำรุงรักษาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Turnaround) มาอย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเกิดของเสียทั้งประเภทของเสียอันตรายและไม่อันตรายที่เกิดจากกิจกรรมซ่อมบำรุง มีการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยลดของเสียตั้งแต่แหล่งกำเนิด พร้อมทั้งนำของเสียเหล่านั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ อันเป็นการช่วยลดภาระจากการกำจัดของเสีย ตัวอย่างกิจกรรม อาทิ การรักษาคุณภาพของฉนวนกันความร้อนให้สามารถนำไปใช้ใหม่ได้ ผ่านการบริหารจัดการและการดำเนินงานที่รัดกุม เช่น การรื้อฉนวนกันความร้อนให้เสียหายน้อยที่สุด การจัดเก็บฉนวนกันความร้อนในภาชนะที่เหมาะสม และการจัดเตรียมพื้นที่จัดเก็บให้อยู่ในสภาพดีไม่เปียกน้ำ เป็นต้น
สามารถนำฉนวนกันความร้อนนำกลับมาใช้ได้เฉลี่ย มากกว่าร้อยละ
* หมายเหตุ: ตัวเลขผลการดำเนินงานในปี 2566
การนำของเสียไปใช้เป็นวัตถุดิบทดแทนของโรงงานอื่น
ตัวอย่างโครงการ
- โครงการบริหารจัดการ Mercury Waste จากโรงงานอะโรเมติกส์และโรงกลั่น เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเครื่องมือทางการแพทย์
- โครงการคัดแยกขยะภายในอาคารสำนักงาน เช่น การคัดแยกขยะพลาสติก แก้ว กระดาษที่ใช้แล้ว เพื่อนำกลับไปผลิตใหม่ การคัดแยกเศษอาหารเพื่อให้ชุมชนไปทำอาหารเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
- การนำเทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล (Seawater Reverse Osmosis: SWRO) และการปรับปรุงคุณภาพน้ำทิ้งจากระบบบำบัดน้ำเสีย ให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ (Wastewater Reverse Osmosis: WWRO) และช่วยในการบริหารจัดการน้ำได้ดียิ่งขึ้น
- การนำก๊าซที่ไหลออกจากระบบ (Off Gas) จากโรงงานอะโรเมติกส์ ได้แก่ ก๊าซอีเทน โพรเพน และบิวเทน ไปใช้เป็นสารตั้งต้นให้กับโรงงานโอเลฟินส์ แทนการเผาทิ้ง กว่า 157,000 ตัน/ปี
- การนำ Fine polymer กลับมาเป็นวัตถุดิบในกระบวนการผลิต ส่งผลให้ลดการใช้วัตถุดิบหลัก Styrene monomer ในกระบวนการผลิตและเพิ่ม Yield ได้มากกว่าร้อยละ 96
- การเพิ่มมูลค่า Tail Gas กลับมาใช้เป็นวัตถุดิบของ Cracking Heaters และ Oleflex Heaters ที่ Olefins Plant ซึ่งสามารถลด Flare Loss ได้ถึง 648,000 Nm3
- เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พลอยได้จากพื้นที่ปฏิบัติงาน OLE4 โดยนำ Export Raw Pygas (Pyrolysis Gasoline) เป็นสารตั้งต้นให้กับโรงอะโรเมติกส์ นอกจากนั้นยังได้ผลิตภัณฑ์พลอยได้เป็น C9A ส่งไปเป็นสารตั้งต้นและผลิตภัณฑ์ให้กับโรงกลั่นน้ำมัน ส่งผลให้เพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้ของบริษัทฯ
การบริหารและจัดการของเสีย
อ่านเพิ่มเติมการลดการพึ่งพาทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
บริษัทฯ ใช้นวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำ โดยการนำเอาน้ำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ รวมถึงสร้างความร่วมมือตลอดโซ่อุปทาน ส่งเสริมการลงทุนในเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อลดการปล่อยของเสียและลดการใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ