ความโปร่งใสด้านภาษี
บริษัทฯ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในเรื่องของความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลทางด้านภาษี โดยให้ความร่วมมือกับทุกหน่วยงานและสถาบันต่างๆ ในการสนับสนุนและพัฒนาระบบภาษีที่มีประสิทธิภาพในประเทศที่บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจ
ตามตารางด้านล่างแสดงข้อมูลรายได้รวมของกลุ่มบริษัทฯ แยกตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เสียภาษีประจำปี 2566
รายได้แยกตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เสียภาษีประจำปี 2566 | |
---|---|
ประเทศไทย | ร้อยละ 84 |
อเมริกา | ร้อยละ 3 |
จีน | ร้อยละ 2 |
เยอรมัน | ร้อยละ 2 |
ฝรั่งเศส | ร้อยละ 1 |
ประเทศอื่น ๆ | ร้อยละ 8 |
รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์หลักแยกตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของลูกค้า ประจำปี 2566
สัดส่วนรายได้จากการขายจากธุรกิจหลัก
ตามภูมิศาสตร์ปี 2566
- กราฟด้านบนนี้อธิบายถึงรายได้จากการขายของผลิตภัณฑ์ที่แยกแสดงตามสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของลูกค้า
- รายได้จากการขายมากกว่า 80% ที่รายงานในงบการเงินรวม มาจากการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย
รายได้จากการขายรวมของกลุ่มบริษัทฯ หากแยกตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่เสียภาษีส่วนใหญ่มาจากประเทศไทย ซึ่งในประเทศไทย รัฐบาลได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกับธุรกิจที่เข้ากฎเกณฑ์หรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่นเดียวกับในหลายๆ ประเทศ อาทิเช่น i) การยกเว้นภาษี (Tax Exemption) ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดในประเทศสิงคโปร์ และ ii) การยกเว้นภาษี (Tax Holiday) เป็นเวลาห้าถึงสิบปี ตามกฎหมายของรัฐบาลกลางในระดับภูมิภาคของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมการลงทุน ก่อให้เกิดการสร้างงานและการขยายโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนช่วยในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ
กลุ่มบริษัทฯ ดำเนินกิจการโดยส่วนใหญ่ในธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment: BOI) แห่งประเทศไทย สิทธิยกเว้นภาษีที่ได้รับจาก BOI แบ่งออกเป็นสามเรื่องหลัก อันได้แก่ (ข้อมูลเพิ่มเติม: https://www.boi.go.th/index.php?page=incentive&language=th)
- การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้
- ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี
- อนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นระยะเวลา 10 ปี
เมื่อเร็วๆ นี้ BOI ของประเทศไทย ได้ประกาศมาตรการใหม่สำหรับบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาษีขั้นต่ำทั่วโลกภายใต้โครงการ BEPS 2.0 Pillar 2 โดยอนุญาตให้บริษัทที่ได้รับการส่งเสริม BOI ที่มีคุณสมบัติตามเงื่อนไข สามารถเลือกใช้อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (CIT) ร้อยละ 50 ของอัตราปกติที่ร้อยละ 20 ดังนั้นทำให้อัตรา CIT เหลือร้อยละ 10 สำหรับระยะเวลายกเว้นภาษีที่เหลืออยู่ ซึ่งจำกัดไว้ไม่เกินสิบปี อีกทั้ง กรมสรรพากรไทยอยู่ระหว่างการร่างพระราชบัญญัติภาษีส่วนเพิ่ม (Pillar 2 - Global Anti-Base Erosion Rules) โดยมีกรอบเวลาการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้อนุมัติภายในปี 2566 และมีผลใช้บังคับในปี 2568 ดังนั้นกลุ่มบริษัท GC จึงคอยติดตามและประเมินผลกระทบจากกฎหมาย BEPS 2.0 Pillar 2 รวมถึงการพิจารณาตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ของ BOI ร่วมด้วย
สำหรับอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax: CIT) ของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิทางภาษี ในขณะที่อัตราภาษีที่แท้จริง (Effective Tax Rate: ETR) ของบาง Business Unit ในกลุ่มบริษัทฯ โดยทั่วไปจะต่ำกว่า เนื่องจากได้รับการยกเว้นและลดหย่อนภาษีจาก BOI ตามที่กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามอัตราภาษีที่แท้จริงจะแตกต่างกันไปในแต่ละปีขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่มีผลบังคับใช้ของสิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวและผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ
กลุ่มบริษัทฯ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลรายงานภาษีแยกรายประเทศ (Tax Reporting by Countries) และอัตราภาษีที่ได้รายงาน และอัตราภาษีที่จ่ายจริง (Reported Tax Rate and Cash Tax Rate) ซึ่งเป็นการรายงานที่อยู่นอกเหนือจากข้อกำหนดของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานราชการในประเทศไทย
รายงานภาษีแยกรายประเทศ สำหรับ ปี 2566
ตารางที่รายงานในไฟล์แนบด้านล่าง แสดงถึงรายได้จากการขายรวม กำไรจากการดำเนินธุรกิจ ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี (Income Tax Expense) ภาษีเงินได้ที่จ่ายออก (ได้รับคืน) (Income Tax Paid (Received)) จำนวนพนักงาน รายชื่อบริษัทในกลุ่ม และธุรกิจหลักในแต่ละประเทศที่กลุ่มบริษัทฯ มีการดำเนินกิจการ โดยข้อมูลทางด้านการเงินในตารางด้านล่างนั้นสอดคล้องกับงบการเงินรวม (Consolidated Financial Statement) ประจำปี 2566 ทั้งนี้อัตราภาษีเฉพาะอุตสาหกรรม (Sector-specific Taxes) ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และภาษีเงินได้อื่นๆ ที่นอกเหนือจากภาษีเงินได้นิติบุคคล จะไม่ถูกรวมแสดงในตารางดังกล่าว
สามารถดูรายละเอียดรายงานภาษีแยกรายประเทศเพิ่มเติมได้ที่: Tax Reporting by Countries for the Year 2023
เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ ในปี 2566 และ 2565 รายละเอียดมีดังนี้
- ผลประกอบการในปี 2566 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายรวมลดลงจากปีก่อนหน้า โดยมีปัจจัยหลักมาจากราคาผลิตภัณฑ์กลุ่มปิโตรเลียมและปิโตรเคมีปรับลดลงในทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์ สะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัวจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก อีกทั้งในปี 2565 มีสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซียและประเทศยูเครนซึ่งส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ราคาขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมในปี 2565 ปรับสูงขึ้นกว่าปกติ
- บริษัทฯ มีผลกำไรจากการดำเนินงาน ประมาณ 2,217 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปกติ ได้แก่ กำไรจากการขายหุ้น GCL จำนวนรวม 4,017 ล้านบาท กำไรจากการซื้อคืนหุ้นกู้จำนวน 1,890 ล้านบาท และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและกำไรจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงินรวม 790 ล้านบาท
- ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ลดลง เป็นผลมาจากการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ดังกล่าวสะท้อนการดำเนินงานของปีปัจจุบันเท่านั้น ไม่ได้รวมถึงภาษีเงินได้รอตัดบัญชีหรือเงินสำรองสำหรับหนี้สินทางภาษีที่ไม่แน่นอน ในขณะที่ภาษีเงินได้ที่จ่ายออกไปในปีนี้นั้น ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลค้างจ่ายจากปีก่อนซึ่งมีภาระผูกพันที่ต้องชำระในปีปัจจุบัน
อัตราภาษีที่ได้รายงาน และอัตราภาษีที่จ่ายจริงในปี 2565 และ 2566 (Reported Tax Rate and Cash Tax Rate for the Year 2022 and 2023)
หน่วย: ล้านบาท
2565 | 2566 | อัตราเฉลี่ย | |
---|---|---|---|
กำไรก่อนภาษี (Earnings (Loss) before Tax) |
(9,909)
|
2,217
|
-
|
ภาษีที่ได้รายงาน (Reported Taxes) |
(2,273)
|
1,352
|
-
|
อัตราภาษีที่ได้รายงาน (ร้อยละ) (Reported Tax Rate) |
0.0%
|
61.0%
|
12.0%
|
ภาษีที่จ่ายจริง (Cash Taxes Paid) |
2,754
|
1,450
|
-
|
อัตราภาษีที่จ่ายจริง (ร้อยละ) (Cash Tax Rate) |
(27.8)%
|
65.4%
|
(54.7%)
|
ถึงแม้ว่า ในปี 2566 กลุ่มบริษัทฯ มีผลขาดทุน แต่ในปีปัจจุบัน กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรก่อนภาษีเงินได้จำนวน 2,217 ล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญจากปีก่อนหน้า สาเหตุหลักมาจากรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปกติ ได้แก่ i)กำไรจากการขายหุ้น GCL ii) กำไรจากการซื้อคืนหุ้นกู้ และ iii) กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและกำไรจากตราสารอนุพันธ์ทางการเงิน
จากผลประกอบการที่กำไรดังกล่าว ส่งผลให้อัตราภาษีที่ได้รายงาน (Reported Tax Rate) ของกลุ่มบริษัทฯ ในปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 61.0 และอัตราภาษีที่จ่ายจริง (Cash Tax Rate) อยู่ที่ร้อยละ 65.4 ซึ่งเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากผลจากการดำเนินงานของธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ
โดยทั่วไป ผลแตกต่างระหว่างอัตราภาษีที่ได้รายงาน (Reported Tax Rate) กับภาษีที่จ่ายจริง (Cash Tax Rate) มีสาเหตุหลักมาจากปัจจัยดังต่อไปนี้
- ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี; ผลแตกต่างชั่วคราวระหว่างภาษีและบัญชี
- ระยะเวลาการจ่ายชำระภาษีเงินได้; การจ่ายชำระหนี้สินภาษีเงินได้ประจำปี ส่วนหนึ่งจะดำเนินการชำระภายในปี และส่วนที่เหลือจะชำระในปีถัดไป
การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริง
การกระทบยอดเพื่อหาอัตราภาษีที่แท้จริงของกลุ่มบริษัทฯ สามารถอธิบายได้ ดังนี้
รายละเอียด | อัตรา (ร้อยละ) | 2565 (ล้านบาท) |
อัตรา (ร้อยละ) | 2566 (ล้านบาท) |
---|---|---|---|---|
กำไรก่อนภาษีเงินได้ (Profit (loss) before income tax expense) |
(9,909)
|
2,217
|
||
ภาษีเงินได้ โดยคำนวณจากอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของประเทศไทย (Income tax using the Thai corporation tax rate) |
20%
|
(1,982)
|
20%
|
443
|
ผลกระทบของอัตราภาษีตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของต่างประเทศ (Effect of different tax rates in foreign jurisdictions) |
(317)
|
(239)
|
||
รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษี (Income not subject to tax) |
(425)
|
(202)
|
||
ค่าใช้จ่ายที่ถือเป็นรายจ่ายทางภาษีไม่ได้ (Expense not deductible for tax purposes) |
2,486
|
1,746
|
||
ค่าใช้จ่ายที่มีสิทธิหักได้เพิ่ม (Expenses deductible at a greater amount) |
(2,121)
|
(487)
|
||
ผลขาดทุนทางภาษียกไป (Tax losses Carried forward) |
(12)
|
38
|
||
ภาษีปีก่อน ๆ ที่บันทึกสูงไป (Under (over) provided in prior years) |
249
|
(68)
|
||
ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในกิจการร่วมค้าและบริษัทร่วม (Share of profit of Joint Ventures and Associates accounted for using equity method) |
(511)
|
77
|
||
อื่น ๆ (Others) |
360
|
44
|
||
รวม |
0.0%
|
(2,273)
|
61.0%
|
1,352
|