ความปลอดภัยส่วนบุคคล
บริษัทฯ ส่งเสริมการดำเนินงานของพนักงานและผู้รับเหมาให้เป็นไปตามกฎระเบียบด้านความปลอดภัยและการสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทฯ ได้ตั้งเป้าหมายการบริหารงานด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลและติดตามวัดผลผ่านตัวชี้วัดที่ชัดเจน คือ อัตราการเกิดอุบัติการณ์ (Total Recordable Injury Rate: TRIR) และอัตราความถี่ของการบาดเจ็บจาการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (Lost-Time Injuries Frequency Rate: LTIFR) โดยเป้าหมายของ TRIR คือ ไม่เกิน 0.5 กรณีต่อหนึ่งล้านชั่วโมง และเป้าหมายของ LTIFR คือ 0 กรณีต่อหนึ่งล้านชั่วโมง
บริษัทฯ วิเคราะห์ข้อมูลสถิติย้อนหลังและเทียบเคียงกับมาตรฐานระดับโลก เพื่อหาแนวทางการยกระดับวัฒนธรรมความปลอดภัยให้ครอบคลุมพนักงานทุกระดับ โดยกำหนดเป็นกฎเหล็กความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับชีวิต หรือ Life Saving Rules
กฎพิทักษ์ชีวิต
ใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง (Safety Harness)
ปฏิบัติตามระบบใบอนุญาต ทำงาน (Work Permit) เสมอ
ตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตัดแยก (Energy Isolation) ก่อนเริ่มงานเสมอ
ปฏิบัติตามระบบใบอนุญาต ทำงานที่อับอากาศเสมอ
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลที่หลากหลาย อาทิ โครงการ Near Miss Terminator โครงการ Management Safety Walk และโครงการ Supervisor Skill workshop
นอกเหนือจาก โครงการด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลสำหรับพนักงาน บริษัทฯ ยังจัดทำโครงการด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลให้กับผู้รับเหมา อาทิ โครงการคิดค้นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ป้องกันการบาดเจ็บที่มือ (Hand Injury Protective Tools Project)
โครงการคิดค้นเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ป้องกันการบาดเจ็บที่มือ
(Hand Injury Protective Tools Project)
ผลจากการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน รวมถึงสถิติการเกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ พบว่า อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดกับบริเวณมือและนิ้วของผู้ปฏิบัติงาน บริษัทฯ จึงจัดทำโครงการรักษ์มือ ( Hand Injuries Awareness Program) ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อลดอัตราการบาดเจ็บของพนักงานและผู้รับเหมา โดยในปีนี้ บริษัทฯ มีการพัฒนาอุปกรณ์ลดความเสี่ยงและอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับมือและนิ้ว อาทิ ประแจคล้องสาย และประแจตีที่มีด้ามจับแบบสปริง อีกทั้งจัดทำคู่มือการใช้อุปกรณ์ให้กับผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานและการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละลักษณะงานอีกด้วย
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังกำหนดให้ประเด็นการป้องกันอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับมือและนิ้ว เป็นหนึ่งในเกณฑ์สำหรับการประเมินคู่ค้าทางธุรกิจและผู้รับเหมา อีกทั้งยังระบุให้คู่ค้าและผู้รับเหมาใช้อุปกรณ์ลดความเสี่ยงและอุบัติเหตุที่ได้รับการยอมรับจากบริษัทฯ ในขณะปฏิบัติงานอีกด้วย
ทบทวนสถิติเพื่อหาสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุของผู้ปฏิบัติงานตั้งแต่ 2555 – 2559 ซึ่งพบว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นกับมือและนิ้ว จึงริเริ่ม “โครงการรักษ์มือ” เพื่อระบุความเสี่ยงในการบาดเจ็บที่มือและนิ้วจากการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งหาแนวทางป้องกันและลดการบาดเจ็บ
ต่อยอด “โครงการรักษ์มือ” เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ลดความเสี่ยงที่ลดการใช้มือขณะปฏิบัติงาน
ขยายขอบเขตของ “โครงการรักษ์มือ” โดยพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ลดความเสี่ยงโดยไม่ใช้มือจับ จากประสบการณ์จริงของผู้รับเหมาและคู่ค้าทางธุรกิจ
-
2564
สานต่อการเพิ่มประสิทธิภาพของอุปกรณ์ลดความเสี่ยงด้วยหลักวิศวกรรม และกำหนดข้อบังคับให้ผู้รับเหมาและคู่ค้าทางธุรกิจ ใช้เครื่องมือลดความเสี่ยงขณะปฏิบัติงานอย่างเคร่งครัด
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้เพิ่มข้อกำหนดของข้อตกลงระดับการให้บริการ (Service Level Agreement) ด้านคุณภาพและความปลอดภัยในการปฏิบัติงานสำหรับคู่ค้า โดยกำหนดให้คู่ค้าต้องมีใบอนุญาตการปฏิบัติงานและมีระบบการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย รวมถึงต้องเตรียมความพร้อมด้านความปลอดภัยให้บุคลากรของตนเอง เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยและเพิ่มความเชื่อมั่นในพื้นที่ปฏิบัติงาน
อีกทั้งบริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า ด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของคู่ค้าผ่านการประเมินคู่ค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อวัดผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยขณะปฏิบัติงานของคู่ค้าเป็นเกณฑ์หลัก ตลอดจนตรวจประเมินคู่ค้าที่สำคัญด้าน ESG อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งคู่ค้าและผู้รับเหมาที่มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานความปลอดภัย
จากการดำเนินงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของบริษัทฯ พบว่าในปี 2564 มีอัตราการบาดเจ็บจากการทำงาน (Total Recordable Injury Rate: TRIR) 0.41 ต่อ 1 ล้านชั่วโมงทำงาน มีแนวโน้มสูงขึ้น แต่ทั้งนี้อัตราความถี่ของการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR) 0.05 ต่อ 1 ล้านชั่วโมงทำงาน มีแนวโน้มลดลง
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้มุ่งมั่นพัฒนาและมีเป้าหมายไปสู่การเป็นต้นแบบด้านความปลอดภัย (Safety Leadership) ที่ดีในองค์กร
อัตราการบาดเจ็บจากการทำงาน (Total Recordable Injury Rate: TRIR)
(กรณีต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน)
เป้าหมาย
ปี | เป้าหมาย | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2564 | 2565 | |
พนักงาน | 0.33 | 0.22 | 0.22 | 0.41 | 0.45 | 0.50 |
ผู้รับเหมา | 0.72 | 0.18 | 0.42 | 1.04 | 0.45 | 0.50 |
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR)
(กรณีต่อ 1 ล้านชั่วโมงการทำงาน)
เป้าหมาย
ปี | เป้าหมาย | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
2561 | 2562 | 2563 | 2564 | 2564 | 2565 | |
พนักงาน | 0.13 | 0.11 | 0.06 | 0.00 | 0.00 | 0.00 |
ผู้รับเหมา | 0.07 | 0.07 | 0.47 | 0.00 | 0.00 | 0.00 |