การเสริมสร้างศักยภาพให้พนักงาน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับพนักงานซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า จึงได้วางแผนเส้นทางความก้าวหน้าตามสายอาชีพของพนักงานควบคู่กับการจัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพให้กับพนักงานทุกระดับ โดยกำหนดความสามารถที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานแต่ละตำแหน่ง ทั้งความเชี่ยวชาญตามลักษณะงานและภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละระดับ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของพนักงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายธุรกิจและกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากร ตลอดจนวางแผนการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งสำหรับคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นแบบอย่างที่ดีในด้านวัฒนธรรมองค์กร
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างศักยภาพอย่างหลากหลายให้กับพนักงาน อาทิ โครงการ ILP Program Phase II โครงการ dEX | SPARK - Data Science and Engineering Program โครงการ Data DIY by Alteryx โครงการ GC Data Science Super Users โครงการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเพิ่มผลผลิต โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (PI-ChEPS) และโครงการ GC Next Gen
ชื่อและรายละเอียดโครงการ
โครงการ dEX | SPARK - Data Science and Engineering Program เป็นโปรแกรมฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้นสำหรับพนักงานในด้านการวิเคราะห์ และจัดการข้อมูลขององค์กรในเชิงวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสามารถนำไปใช้กระบวนการทำงานและกระบวนการผลิต
เป้าหมายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับ True Digital Academy ตั้งแต่ปี 2564 ในการพัฒนาและจัดการเรียนการสอนหลักสูตร Data Science and Engineering Program เพื่อให้พนักงานสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้รับจากการอบรมมาเพิ่มศักยภาพด้านการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลขององค์กร ตลอดจนนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาต่อยอดเพื่อรองรับการวิจัยและพัฒนาของบริษัทฯ โดยโปรแกรมนี้สามารถช่วยเพิ่มรายได้และลดค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทฯ อีกด้วย
ตั้งแต่ปี 2564 - 2566 มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นกว่า 2,400 คน และมีโครงการที่สามารถนำไปต่อยอดปฏิบัติจริงทั้งสิ้นมากกว่า 20 โครงการ อาทิ โครงการ Electrical Reliability Machine Learning & Predictive Analytic คือ การพัฒนา Prediction Model เพื่อนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับแต่ละ Failure Mode ของอุปกรณ์ในระบบ Electrical Power Switchgear มาประเมิน Reliability & Health Index มาเชื่อมโยงกันและสามารถวางแผนในการตัดสินใจงานบำรุงรักษา อุปกรณ์เพื่อพิจารณาในเรื่องของ Risk & Cost และโครงการ Machine Learning Model (With Natural Language Processing (NLP) ที่ตรวจสอบและจำแนกเหตุการณ์ไม่มีความเสี่ยง ความเสี่ยงต่ำ ความเสี่ยงสูง และอุบัติการณ์ ในโรงงาน
ผลประโยชน์เชิงตัวเลขที่บริษัทฯ จะได้รับ
จากการดำเนินโครงการ Data Science and Engineering Program จะสามารถสร้างรายได้และลดค่าใช้จ่ายให้บริษัทฯ มูลค่า 86.98 ล้านบาทในปี 2567
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ร้อยละ 0.214
ชื่อและรายละเอียดโครงการ
โครงการ GC Inspirational Leadership Development Program (ILP) Phase II เพื่อเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำที่สำคัญเพื่อเพิ่มผลผลิตในฐานะบทบาทผู้นำในการมีส่วนร่วมในการบรรลุผลสำเร็จของผลการดำเนินงานทางธุรกิจตามเป้าหมายและความคิดริเริ่มการเปลี่ยนแปลงเป้าหมายผ่านแนวทางที่เป็นระบบสำหรับการขยายตัวของธุรกิจในอนาคต
เป้าหมายและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ
วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำของพนักงานระดับหัวหน้างานในกลุ่มงาน Operation ที่มีศักยภาพสูง
ผู้นำที่ดีจะสามารถสร้างวัฒนธรรมในการทำงานที่มีประสิทธิภาพ (Increased Productivity) และลดกิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า (Decreased Non-Value-Added Activities :NVA) ซึ่งจากผลการศึกษาพบว่าหัวหน้างานที่มีภาวะผู้นำสามารถส่งเสริมให้พนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรและสามารถสร้างกำไรได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 21[ที่มา: Gallup] อันเนื่องมาจาก ผู้นำที่มีศักยภาพจะสามารถขับเคลื่อนการทำงาน โดยกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน และสร้างแรงจูงใจให้กับทีม รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น [ที่มา: Queens University] ซึ่งบริษัทฯ มีการดำเนินโครงการพัฒนาผู้นำอย่างต่อเนื่อง และมีโครงการที่สำเร็จแล้ว ได้แก่ การจัดทำคู่มือผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ (GC Inspirational Leader Guidebook Case Study) และ การพัฒนากลุ่มวิทยากรภายในของบริษัทฯ (Developing GC Internal Instructor Pool) เพื่อสร้างผลกำไร และรองรับการดำเนินงานในอนาคตของบริษัทฯ ได้มากขึ้น
ผลประโยชน์เชิงตัวเลขที่บริษัทฯ จะได้รับ
จากการเสริมสร้างทักษะความเป็นผู้นำของพนักงานระดับหัวหน้างานในกลุ่มงาน operation พบว่าหน่วยงานที่มีหัวหน้างานหรือพนักงานเข้าร่วมในโครงการสามารถลดกิจกรรมที่ไม่เพิ่มมูลค่า (Decreased Non-Value-Added Activities: NVA) ส่งผลให้มี Productivity ในงานสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าสามารถเพิ่มการมีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Engagement) และยังสามารถลดค่าใช้จ่ายของบริษัทฯได้ 16 ล้านบาทต่อปี จากการสร้างและพัฒนาผู้สอนภายในองค์กร (Internal Trainer)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ร้อยละ 0.049
โครงการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเพิ่มผลผลิต โดยจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา (PI-ChEPS)
โครงการ PI-ChEPS เป็นโครงการที่พัฒนาองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเคมีและเพิ่มทักษะการคิดแบบวิพากษ์ให้แก่พนักงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ ของทั้งบริษัทฯ ให้ดีขึ้น ตลอดจนตอบสนองเป้าหมายของบริษัทฯ ในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทั้งนี้ พนักงานที่เข้าร่วมโครงการ PI-ChEPs จะได้รับการพิจารณาด้านการพัฒนาอาชีพเป็นพิเศษ
สำหรับกระบวนการเรียนรู้ของโครงการ PI-ChEP เป็นไปตามแนวคิดของทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 3 แนวคิด ดังนี้
- แนวคิดที่ 1 คือ ทักษะการเรียนรู้และการคิด ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การทำสมาธิ MicroWorlds GOGO Board การค้นหาข้อมูล ภาษาอังกฤษและการคำนวณ เป็นต้น
- แนวคิดที่ 2 คือ การพัฒนาทักษะและความรู้ด้านวิศวกรรมเคมีในแขนงด้าน ๆ เช่น Process Science & Calculation, Mass & Energy Balance, Fluid Transport, Heat Transfer, Unit Operation and Measurement & Control เป็นต้น
- แนวคิดที่ 3 คือ การเรียนรู้การทำโครงการที่เป็นการนำปัญหาภายในโรงงานมาเป็นโจทย์ (Project Base Learning) เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวางแผนงาน การวิเคราะห์ และการนำเสนอ จากการทำโครงงานเดี่ยวและกลุ่ม
โครงการ PI-ChEPS ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2556 มาจนถึงปัจจุบัน และได้มีการประยุกต์ความรู้จากโครงการนี้ ซึ่งก่อให้เกิดโครงการต่างๆ ภายใต้โครงการ PI-ChEPS จำนวนมากและได้ดำเนินการจนเป็นผลสำเร็จ รวมถึงสามารถประหยัดต้นทุนการผลิตให้แก่บริษัทฯ ได้อย่างต่อเนื่อง
จากโครงการพัฒนาศักยภาพพนักงานข้างต้น บริษัทฯ ได้ประเมินและวัดผลการดำเนินโครงการฯ โดยใช้การคำนวณผลตอบแทนจากการฝึกอบรมตาม Kirkpatrick Model และหลักเกณฑ์ของ Philips’ ROI Methodology ในส่วนของ Kirkpatrick Model ใช้สำหรับการประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1) การตอบสนอง (Reaction) 2) การเรียนรู้ (Learning) 3) พฤติกรรม (Behavior) และ 4) ผลลัพธ์ (Results) สำหรับโครงการฯ ที่อยู่ในระดับที่ 4 ตาม Kirkpatrick Model จะถูกนำมาคำนวณผลตอบแทนจากการฝึกอบรม (Training ROI) ตามหลักเกณฑ์ของ Philips’ ROI Methodology ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) การวางแผนการประเมินเพื่อการจัดทำแผนและจัดทำข้อมูลพื้นฐาน 2) การรวบรวมข้อมูล 3) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจำแนกผลประโยชน์ที่ได้รับจากการอบรม และแปลงค่าเป็นตัวเงินเพื่อใช้ในการคำนวนหาผลตอบแทนจากโครงการ และ 4) การรายงานผลเป็นรูปแบบรายงานและถ่ายทอดผลลัพธ์ โดยข้อมูลที่ใช้ในการคำนวณผลตอบแทนจากการฝึกอบรม คือ ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการฝึกอบรม และเงินลงทุนในการทำโครงการฯ
ตัวอย่าง ผลตอบแทนจากการฝึกอบรมของโครงการ PI-ChEPS แสดงดังต่อไปนี้
ผลตอบแทนจากการจัดฝึกอบรมโครงการ PI-ChEPs
(ร้อยละ)
บริษัทฯ ดำเนินโครงการ GC Data Science Super Users เพื่อพัฒนาทักษะด้านการวิเคราะห์และประมวลข้อมูล (Data Science and Engineering Program) ซึ่งจัดขึ้นให้แก่พนักงานที่เป็นตัวแทนจากสายงานต่าง ๆ ภายในองค์กรเพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัล เนื่องจากปัจจุบันบริษัทฯ มีพนักงานที่มีความรู้ด้าน Advanced Analytics ไม่เพียงพอต่อการรองรับโครงการดิจิทัลจากแต่ละสายงาน
โดยโครงการนี้ใช้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนมูลค่าทางธุรกิจ โดยมีฝ่ายบุคคลส่วนกลาง Digital Academy และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) เป็นผู้ดำเนินการออกแบบโครงการ จัดการเรียนการสอน และจัด Workshop ให้พนักงานที่ได้รับการเสนอชื่อมาให้ทำหน้าที่เป็น Data Science Super Users จำนวนทั้งหมด 80 คน จาก 20 สายงาน พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดวัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยคาดหวังว่าจะ Upskill ให้พนักงานกลุ่มนี้แล้วเสร็จ เพื่อพร้อมทำหน้าที่เป็น Data Science Super Users ประจำสายงานของตนเองได้ภายในปี 2568 หน้าที่ของพนักงานกลุ่มนี้คือ มีความรู้ความเข้าใจในโครงการดิจิทัลที่มาจากสายงานของตนเอง สามารถคิดริเริ่มโครงการดิจิทัลใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาปรับปรุงกระบวนการทำงานและสร้างมูลค่าให้แก่บริษัทฯ ได้ นอกเหนือจากนี้ยังสามารถให้คำปรึกษาแก่เพื่อนร่วมงานท่านอื่นที่ต้องการคำแนะนำในการทำโครงการดิจิทัลได้ด้วย
ซึ่งผลผลิตจากโครงการนี้สามารถสร้าง Digital super users ได้ 84 คน สามารถสร้างโครงการดิจิทัล 69 โครงการ และมี Initiatives ที่กำลังเริ่มดำเนินการอีก 570 โครงการ สร้างมูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 33.41 ล้านบาท ทั้งนี้คาดว่าเห็นผลสัมฤทธิ์ที่เป็นเชิงตัวเลขที่ชัดเจนได้ในปี 2569
นอกจากนี้ ในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อพัฒนาความสามารถและศักยภาพของพนักงาน เช่น การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมของพนักงานให้เกิดประสิทธิภาพผ่านระบบออนไลน์ที่เรียกว่า ระบบการบริหารจัดการเรียนรู้ (Learning Management System: LMS) หลักสูตรการฝึกอบรมให้แก่พนักงานบนในหัวข้อ เช่น GC Voxy English และ MS Teams และการดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity) เป็นต้น รวมถึง Up Learning Platform ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ที่พนักงานสามารถเลือกเรียนหลักสูตรได้อย่างอิสระ ตามความสนใจของแต่ละบุคคล โดยหลักสูตรดังกล่าวได้รับการคัดเลือกมาเป็นอย่างดี โดยพิจารณาถึงทักษะและความสามารถทางวิชาการที่จำเป็นในโลกปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้พนักงานที่ต้องการจะเปลี่ยนผ่านหรือต้องการพัฒนาตนเองให้เท่าทันถึงทักษะและความรู้สมัยใหม่ ได้มีโอกาสเรียนรู้และนำไปใช้ในงานของตน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี 2566 บริษัทฯ มีผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของพนักงานในภาพรวม สามารถสรุปได้ดังนี้
ผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาพนักงาน
(Employee Development Performance)
ประเภทของการฝึกอบรม (Types of Training)
ประเภท | ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยของพนักงานบริษัทฯ (ชั่วโมง/คน/ปี) |
เงินลงทุนด้านการฝึกอบรมเฉลี่ย (บาท/คน/ปี) |
---|---|---|
ด้านเทคนิค (Technical) | 25.56 | 2,616.68 |
ด้านความเป็นผู้นำ (Leadership) | 44.98 | 5,049.09 |
ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety) | 200.96 | 1,795.37 |
ด้านการสนับสนุนและขยายธุรกิจ (Support for Business for Expansion) | 14.01 | 867.48 |
อื่นๆ (Others) | 200.39 | 1,462.38 |
ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ย (Average Training Hours)
ประเภท | ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ย (ชั่วโมง/คน/ปี) |
เงินลงทุนด้านการฝึกอบรมเฉลี่ย (บาท/คน/ปี) |
---|---|---|
ผู้หญิง | 33.4 | 13,241 |
ผู้ชาย | 40.8 | |
ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ย | 33.68 |