โครงการลดก๊าซเรือนกระจก
บริษัทฯ จัดทำโครงการต่างๆ ที่สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขต 1 และ 2) เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการปรับปรุงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่ออนุรักษ์พลังงาน การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และการลงทุนและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธุรกิจกลุ่ม High Value Business (HVB) และลงทุนในธุรกิจกลุ่ม Bio & Circularity ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน
นอกจากนี้ บริษัทฯ มีการลงทุนเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บพลังงานโดยใช้แบตเตอรี่ศักยภาพสูง ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถของเทคโนโลยีพลังงานสะอาด โดยบริษัทฯ ได้เข้าร่วมลงทุนในบริษัท ESS inc. ซึ่งเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จในการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ New York Stock Exchange (NYSE) ภายใต้ชื่อย่อ GWH
โครงการ ติดตั้ง Gas Turbine Generator (GTG-J) และ Heat Recovery Steam Generator ที่ Utilities Plant
บริษัทฯ ดำเนินโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของโรงไฟฟ้า (U-P1) โดยใช้เครื่องจักรใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วยลดการใช้เชื้อเพลิงและลดอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ จากการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
เงินลงทุน (ล้านบาท) | 2,990 |
ลดการใช้พลังงาน (จิกะจูลต่อปี) | 752,066 |
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) | 42,202 |
ประหยัดค่าใช้จ่าย (ล้านบาทต่อปี) | 167.5 |
โครงการ Maptaphut Integration (MTPi)
บริษัทฯ ดำเนินโครงการ Maptaphut Integration (MTPi) เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการพลังงานและระบบสาธารณูปโภคให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งยังเป็นการบริหารจัดการของเสียแบบบูรณาการ ซึ่งช่วยลดการสูญเสียระหว่างการขนส่ง ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และบริหารจัดการของเสียให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิผล
หนึ่งในเป้าหมายของโครงการนี้ คือ การสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งสอดคล้องตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน และแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กร เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลกและสภาพภูมิอากาศ โดยจัดทำโครงการที่หลากหลาย อาทิ โครงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบลอยน้ำและโครงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารในโรงงาน โดยกำหนดแผนงานติดตั้งในแต่ละพื้นที่ตามเงื่อนไขและระยะเวลากับคู่สัญญา ปัจจุบันบริษัทฯ ดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาอาคารในโรงงานทั้งหมด 14 โรงงาน และหลังคาสำนักงานทั้งหมด 3 สำนักงาน โดยมีกำลังการผลิตรวม 19 เมกกะวัตต์ เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2563 แล้วเสร็จในปี 2570 และโครงการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์รูปแบบลอยน้ำแล้วเสร็จปี 2565
โครงการพัฒนาแบบจำลองสำหรับควบคุมถังปฏิกรณ์ในกระบวนการผลิต
บริษัทฯ ปรับปรุงเทคโนโลยีกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยศึกษา พัฒนา และประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Advance Analysis ในการสร้างแบบจำลองสำหรับควบคุมถังปฏิกรณ์กระบวนการผลิต ให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้ผลิตผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มขึ้น แต่ใช้สารตั้งต้นและพลังงานลดลง รวมถึงลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทั้งนี้บริษัทฯ มีแผนที่จะศึกษาต่อยอดรูปแบบการพัฒนาถังปฏิกรณ์ดังกล่าวไปยังกระบวนการผลิตอื่น ๆ ต่อไป
เงินลงทุน (ล้านบาท) | 0* |
ลดการใช้พลังงาน (จิกะจูลต่อปี) | 20,000 |
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี) | 1,700 |
ประหยัดค่าใช้จ่าย (ล้านบาทต่อปี) | 26.2 |
* Internal Development
โครงการศึกษาและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเมมเบรนในการแยกสารตัวทำละลายอินทรีย์
บริษัทฯ ศึกษาและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีเมมเบรน เพื่อทดแทนการใช้การกลั่นแยกสารตัวทำละลายอินทรีย์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตสารอะโรมาติกส์ (Aromatics) ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานในกระบวนผลิต และลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ โดยบริษัทฯ มีแผนที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ในหน่วยการผลิตอื่น ๆ ในบริษัทต่อไป
เงินลงทุน (ล้านบาท) | 100* |
ลดการใช้พลังงาน (จิกะจูลต่อปี) | 60,000* |
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี) | 4,500* |
ประหยัดค่าใช้จ่าย (ล้านบาทต่อปี) | 22.0* |
* ข้อมูลจากการประเมินเบื้องต้น
โครงการ PDH Optimization Model
โครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาแบบจำลอง เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยศึกษา พัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Advance Analysis ในการสร้างแบบจำลองสำหรับควบคุมถังปฏิกรณ์กระบวนการผลิตให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งทำให้ได้ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นและลดการใช้สารตั้งต้นรวมถึงลดการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งนี้บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะศึกษาต่อยอดรูปแบบการพัฒนาถังปฏิกรณ์ดังกล่าวไปยังกระบวนการผลิต อื่นๆ ต่อไป
ลดการใช้พลังงาน (จิกะจูลต่อปี) | 48,004 |
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) | 2,115 |
ประหยัดค่าใช้จ่าย (ล้านบาทต่อปี) | 26.2 |
โครงการพัฒนาเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์พลอยได้และของเสียจากกระบวนการผลิต
บริษัทฯ ศึกษาและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อกำจัดสารปนเปื้อน ทำให้สามารถเพิ่มมูลค่าของของเสียและผลิตภัณฑ์ได้สูงสุดจากกระบวนการผลิตสารโอเลฟินส์ (Olefins) ซึ่งช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ จากปริมาณของเสียที่ส่งไปกำจัดที่ลดลง และการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์พลอยให้เป็นกลุ่มเคมีภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในหน่วยการผลิตอื่นๆ ในบริษัทต่อไป
เงินลงทุน (ล้านบาท) | 43 (Internal development) |
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี) | 10,000* * ข้อมูลจากการประเมินเบื้องต้น (scope 3) |
ประหยัดค่าใช้จ่าย (ล้านบาทต่อปี) | 30.0* * ข้อมูลจากการประเมินเบื้องต้น |
โครงการความร่วมมือด้าน Carbon Capture Utilization and Storage (CCUS)
บริษัทฯ สร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Capture and Storage: CCS) โดย CCS นั้นเป็นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพในการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากกระบวนการผลิตได้ในระดับหลายล้านตันต่อปี และนำไปกักเก็บในชั้นธรณีที่มีศักยภาพและเหมาะสมแบบปลอดภัยและถาวร (Permanent Geological Storage) ในขณะเดียวกัน บริษัทฯยังได้ศึกษาความเป็นไปได้ของการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ (CO2 utilization) เพิ่มโอกาสทางธุรกิจอีกทางหนึ่งด้วย
ทั้งนี้บริษัทฯยังมีแผนการลงทุนในบริษัท Startup ด้าน CCUS ผ่าน Corporate Venture Capital (CVC) เพื่อแสวงหาเทคโนโลยีใหม่ ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงต้นทุนที่ต่ำลง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจก โดยมีเป้าหมายในการดักจับคาร์บอน ด้วยเทคโนโลยี CCUS 6.30 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ในปี 2593
โครงการความร่วมมือศึกษาเทคโนโลยีการพัฒนาโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่
บริษัทฯ ลงนามความร่วมมือกับ บริษัท มิตซูบิชิ ฮีวี่ อินดัสทรี เอเชียแปซิฟิก จำกัด หรือ MHI-AP เพื่อร่วมศึกษาเทคโนโลยีการพัฒนาโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ (Petrochemical Complex) ก้าวสู่การเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่าง GC และ MHI-AP ในครั้งนี้ ครอบคลุมการศึกษาการใช้ไฮโดรคาร์บอนและแอมโมเนีย ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่มีระดับคาร์บอนต่ำ และเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ซึ่งสนับสนุนเป้าหมายความยั่งยืนของ GC เรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ร้อยละ 20 ภายในปี 2573 และการมุ่งสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2593
โครงการความร่วมมือเพื่อใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ร่วมกับสถาบันวิทยสิริเมธี
บริษัทฯ ร่วมมือกับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) ดำเนินการวิจัยและพัฒนาการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิตมาใช้ประโยชน์ โดยริเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2559 ทำให้บริษัทฯ สามารถนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และโอเลฟินส์มาผ่านตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า เช่น แลคโตน (Lactone) กรดคาร์บอกซิลิกที่ไม่อิ่มตัว (Unsaturated Carboxylic Acid) โพลียูเรเทนที่สามารถซ่อมแซมตัวเองได้ (Self-Healing Polyurethane) และคาร์บอเนตไซคลิก (Cyclic Carbonate) ทั้งนี้ ผลงานวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปยื่นจดสิทธิบัตรได้ถึง 5 ฉบับ และในปีที่ผ่านมา เพื่อให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินการธุรกิจใหม่ในกลุ่ม High Value Business (HVB) บริษัทฯ จึงขยายความร่วมมือด้านการสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ชนิดพิเศษ (Specialty Polymer) เพื่อใช้งานเฉพาะด้าน ตัวอย่างเช่น พอลิคาร์บอเนตที่มีสายโซ่ตรง (Aliphatic Polycarbonate) สำหรับงานเคลือบผิว
โครงการผลิตไฟฟ้า จากพลังงานไฮโดรเจน
บริษัทฯ ร่วมกับบริษัท ซีเมนส์ เอนเนอร์ยี่ จำกัด หรือ Siemens Energy ลงนามความร่วมมือในการศึกษาและพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานไฮโดรเจน (Future Hydrogen Society) เป็นการมุ่งมั่นพัฒนาและใช้พลังงานที่สะอาดในกระบวนการผลิตทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมามีคาร์บอนต่ำ ส่งผลต่อเนื่องไปถึงลูกค้าที่ได้ใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัทฯ ในฐานะผู้บริโภค มีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน การร่วมมือกันในครั้งนี้ เพื่อช่วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
จากการดำเนินงานผ่านโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่หลากหลายส่งผลให้บริษัทฯ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสมได้ดังนี้
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสะสม 2563 - 2566
ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า