การบริหารจัดการสารเคมีอันตราย
บริษัทฯ ทบทวนกฎหมาย ข้อกำหนด และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยกเลิก หรือควบคุมการใช้สารเคมีทั้งในระดับประเทศและระดับสากล เช่น บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย ตามประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม สารทำลายบรรยากาศชั้นโอโซนตามพันธกรณีพิธีสารมอนทรีออล การขึ้นทะเบียน REACH (Registration Evaluation Authorization and Restriction of Chemicals) และ RoHs (The Restriction of Hazardous Substances) เป็นต้น เพื่อควบคุมการใช้สารเคมีตลอดวัฏจักรชีวิตการผลิตผลิตภัณฑ์ และจัดทำแผนการจัดการลด/เลิกการใช้สารเคมีอันตราย รวมทั้งใช้เป็นหลักเกณฑ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความปลอดภัย
บริษัทฯ มีเป้าหมายพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการลดสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ (ตามข้อกำหนดใน Annex XVII จาก Registration, Evaluation, Authorisation and Restriction of Chemicals (REACH) ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 3 ของรายได้จากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทฯ ซึ่งผลการดำเนินการในปี 2566 บริษัทฯ สามารถดำเนินการให้มีสารอันตรายในผลิตภัณฑ์เหลือเพียงร้อยละ 2 ของรายได้จากผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทฯ
นอกเหนือจากนี้ บริษัทฯ ยังมีเป้าหมายที่จะไม่ใช้สารเคมีจำพวก PFAS (Per-and Polyfluoroalkyl Substances) เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิต โพลิเอทิลีนชนิดความหนาแน่นต่ำเชิงเส้นจากเมทัลโลซีน (Metallocene Linear Density Polyethylene: mLLDPE) ในกลุ่ม Flexible Plastic ภายในปี 2568 เนื่องจากในหลายประเทศได้พิจารณาว่าสาร PFAS อาจเป็นสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เริ่มมีการพิจารณาควบคุมและกำหนดกฎระเบียบในการห้ามนำสาร PFAS มาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ เช่น สำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (US EPA) เพิ่งประกาศผ่านกฎหมายว่าด้วยการควบคุมสารพิษ (Toxic Substance Control Act: TSCA) ให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าสาร PFAS รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่มีสารเป็นส่วนประกอบ มีการรายงานข้อมูลการใช้งาน การกำจัด รวมถึงระดับความอันตรายต่างๆ เป็นต้น โดยบริษัทฯ ได้เริ่มมีการคิดค้นและทดลองผลิตผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ปราศจากสาร PFAS เป็นส่วนประกอบแล้วตั้งแต่ปี 2566 ซึ่งคาดว่าในปี 2567 บริษัทฯ จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์สำหรับการพานิชและนำขายออกสู่ตลาด
ทั้งนี้ บริษัทฯ จัดทำรายการสารเคมีด้านความปลอดภัยและความเป็นพิษของผลิตภัณฑ์ (Product Safety and Toxicity Disclosure) พร้อมทั้งสื่อสารข้อมูลสารเคมีดังกล่าวให้พนักงาน และคู่ค้ารับทราบ อีกทั้งบริษัทฯ ได้ติดฉลากบนผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน GHS (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals) ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อสื่อสารความเป็นอันตราย ตลอดจนมีการตรวจสอบและติดตามการจัดการผลิตภัณฑ์ รวมถึงให้คำแนะนำด้านการจัดการผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัยแก่ลูกค้า เช่น การใช้งาน การเก็บ การขนส่ง การกำจัด เป็นต้น
เอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (SDS)
บริษัทฯ มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการจัดกลุ่มสารเคมี การติดฉลาก และการแสดงรายละเอียดบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในหมวดสารอันตรายด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมตาม Globally Harmonised System for Classification and labeling of Chemicals (GHS) ร้อยละ 23 ของจำนวนผลิตภัณฑ์ทั้งหมด โดยได้จัดทำเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet: SDS) ตามระบบการจัดกลุ่ม GHS และเปิดเผยเอกสาร SDS ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษบนเว็บไซต์ ในมุมมองแบบ One Page และบนแอปพลิเคชันสำหรับผู้รับเหมา เพื่อสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัยของสารเคมีต่าง ๆ ต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก ไม่ว่าจะเป็น ผู้ปฏิบัติงาน ลูกค้า ชุมชน คู่ค้า กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม และหน่วยงานภาครัฐ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนของกระบวนการรักษาและการติดตามระยะยาวทางการแพทย์สำหรับผู้ที่ได้รับความเสี่ยงจากสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ใน SDS อีกด้วย
รายการเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet: SDS)นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ตระหนักและคำนึงถึงความเสี่ยงอันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจากการใช้สารเคมีอันตราย โดยมุ่งมั่นที่จะลด จำกัด และยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายที่อาจส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านสุขภาพของพนักงานและผู้บริโภค อีกทั้งได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสลดการใช้สารเคมีอันตราย หรือเปลี่ยนเป็นสารเคมีที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งจัดอันดับและกำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพให้น้อยที่สุด
แผนดำเนินงานในการควบคุมการใช้สารเคมีอันตรายตลอดวัฏจักรผลิตภัณฑ์ (Action Plan to Control the Use of Hazardous Substances throughout the Product Life Cycle)
2016-2017
ทบทวนรายการสารเคมีที่ห้ามใช้/สารเคมีควบคุมที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ เกินร้อยละ 0.1 โดยน้ำหนักกับรายการสารเคมีห้ามใช้/สารเคมีควบคุมตรมกฎหมาย และข้อกำหนดในระดับประเทศ และระดับสากล
2018
วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ที่มีโอกาสลดการใช้สารเคมีที่ห้ามใช้/สารเคมีควบคุม หรือเปลี่ยนไปใช้สารเคมีที่ปลอดภัย
2019
จัดอันดับสารเคมีที่ห้ามใช้/สารเคมีควบคุมเพื่อยกเลิก หรือควบคุมการใช้งาน
วางแผน และกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ เพื่อยกเลิกและควบคุมสารเคมีที่ห้ามใช้/ สารเคมีควบคุมในผลิตภัณฑ์
2020-2021
ดำเนินการตามแผนงาน เพื่อยกเลิก หรือควบคุมการใช้งานสารเคมีที่ห้ามใช้/สารเคมีควบคุมในผลิตภัณฑ์
2022-2023
พัฒนาซอฟท์แวร์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการติดตามข้อมูลตั้งแต่นำเข้าสารเคมีมาใช้ การยกเลิกการใช้สารเคมี รวมถึงการป้องกันความปลอดภัยของผู้ใช้ทั้งในส่วนของพนักงานและผู้รับเหมา ตัวระบบยังได้พัฒนาไปถึงการติดตามทางการแพทย์ในกรณีที่เกิดอันตรายขึ้น
การประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ (Risk Assessment of Hazardous Substances in Products)
บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในทุกผลิตภัณฑ์ โดยแบ่งการประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ ออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ การประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน และการประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้รวบรวมข้อมูลสำหรับการประเมินความเสี่ยงของสารอันตรายจากข้อมูลด้านพิษวิทยาและนิเวศพิษวิทยาที่เกี่ยวข้องกับสารอันตราย โดยมีแหล่งที่มาของข้อมูลทั้งจากการทดลองภายในองค์กรและข้อมูลการทดลองที่ถูกเผยแพร่ในระดับประเทศและระดับนานาชาติ รวมถึงข้อมูลสารเคมีจากมาตรฐานสากล หรือข้อมูลที่ถูกรวบรวมจากการใช้งานสารเคมี (คุณสมบัติทางเคมีฟิสิกส์ และสภาพแวดล้อมในการถูกใช้งาน)
การประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน (Human Health Risk Assessment of Hazardous Substances in Products)
บริษัทฯ ประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ ๔๔๓๙ (พ.ศ. ๒๕๕๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. ๒๕๑๑เรื่อง กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมการประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งได้จัดทำระบบประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพพร้อมคู่มือการใช้งาน เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงสารอันตราย และตารางแสดงความรุนต่อผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
ทั้งนี้ ขั้นตอนนการประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน แบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การระบุความเป็นอันตราย (Hazard Identification) 2) การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพ หรือความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอันตรายที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกาย (Does-Response Assessment) 3) การประเมินการสัมผัส (Exposure Assessment) 4) การระบุลักษณะความเสี่ยง (Risk Characterization) และ 5) การควบคุมความเสี่ยง (Risk Control)
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน
บริษัทฯ กำหนดเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน โดยพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ระดับความเข้มข้นของสารเคมี และระดับความถี่ของการสัมผัส ซึ่งสารเคมีจะถูกจำแนกตามตารางแสดงความรุนแรงของผลกระทบต่อสุขภาพ ระดับความเข้มข้นสารเคมีเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน ระดับความถี่การได้รับสัมผัส ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ได้แก่ ระดับ 0: ระดับความเสี่ยงยอมรับได้ ระดับ 1:ระดับความเสี่ยงต่ำ ระดับ 2: ระดับความเสี่ยงปานกลาง ระดับ 3: ระดับความเสี่ยงสูง และระดับ 4: ระดับความเสี่ยงสูงมาก
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง: ความรุนแรงของผลกระทบต่อสุขภาพ
ระดับ | ความรุนแรง | ผลกระทบต่อสุขภาพ | |
---|---|---|---|
1 | ไม่มี | การสัมผัสที่ระดับดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ | |
2 | เล็กน้อย | มีผลกระทบต่อสุขภาพเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องรักษา ไม่มีการป่วยจนต้องลางาน ไม่มีผลต่อการปฏิบัติงานหรือเป็นสาเหตุของการทุพพลภาพ หายได้โดยไม่จำเป็นต้องรักษาทางการแพทย์ | |
3 | ปานกลาง | มีผลกระทบต่อสุขภาพรุนแรงที่หายได้ แต่ต้องได้รับการรักษา มักขาดงานหรือลาป่วย หรือมีผลกระทบสะสมจากการสัมผัสในลักษณะซ้ำๆ หรือเป็นระยะเวลานาน โดยไม่มีอันตรายถึงชีวิต | |
4 | รุนแรง | มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างถาวร บาดเจ็บอย่างรุนแรง ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ต้องปรับตัวเพื่อให้ดำเนินชีวิตอยู่กับความเจ็บป่วยหรือผลกระทบนั้น | |
5 | รุนแรงมาก | เสียชีวิต หรือพิการ หรือป่วยโดยช่วยเหลือตนเองไม่ได้ |
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง: ระดับความเข้มข้นสารเคมีเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงาน
ระดับความเข้มข้น | ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นสารเคมีที่ผู้ปฏิบัติงานสัมผัส |
---|---|
1 | ต่ำกว่า 10% ของ OEL-TWA |
2 | ต่ำกว่า 50% ของ OEL-TWA |
3 | ต่ำกว่า 75% ของOEL-TWA |
4 | เท่ากับ 75% - 100% ของ OEL-TWA |
5 | สูงกว่า 100% ของ OEL-TWA |
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง: ระดับความถี่การได้รับสัมผัส
ระดับ | ความถี่ | ความถี่การได้รับสัมผัส | กะการทำงาน (12 ชั่วโมง) |
---|---|---|---|
1 | นานครั้ง | สัมผัส 1 ครั้งต่อปี | ปีละครั้ง |
2 | ไม่บ่อย | สัมผัส 2 ครั้ง ถึง 3 ครั้งต่อปี | เดือนละ 1 ครั้ง |
3 | ค่อนข้างบ่อย | สัมผัส 2 ครั้ง ถึง 3 ครั้งต่อเดือน | ประมาณ 1-2 ชั่วโมงต่อกะ |
4 | มีแนวโน้มบ่อย | สัมผัสต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง ถึง 4 ชั่วโมงต่อกะ | ประมาณ 4-6 ชั่วโมงต่อกะ |
5 | มีแนวโน้มบ่อย | สัมผัสต่อเนื่องตลอดทั้งกะ | ตลอด 12 ชั่วโมง |
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน และมาตรการควบคุมความเสี่ยงในแต่ละระดับ
คะแนน | ผลการประเมิน | ระดับความเสี่ยง | มาตรการควบคุมความเสี่ยง |
---|---|---|---|
1-3 | ยอมรับได้ | 0 | มีการเฝ้าระวัง |
4-9 | ต่ำ | 1 | อาจมีมาตรการควบคุมความเสี่ยง และ/หรือมีการเฝ้าระวัง ไม่ต้องจัดการเพิ่มเติม ให้ประเมินซ้ำอย่างต่อเนื่อง |
10-16 | ปานกลาง | 2 | มีมาตรการควบคุมโดยเร็วที่สุด |
17-20 | สูง | 3 | ดำเนินการควบคุมทันที เช่น การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล พร้อมทั้งจัดทำแผนเพื่อดำเนินการควบคุมแบบถาวรหรือโดยมาตรการทางวิศวกรรม |
21-25 | สูงมาก | 4 | ให้หยุดดำเนินการทันที |
การประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน
บริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งาน ให้กับพนักงานในตำแหน่งงาน ผู้จัดการส่วน (Division Manager) หัวหน้ากะการผลิต (Shift Manager/ Day Manager) พนักงานปฏิบัติการ (Field Operator) และผู้รับเหมา (Contractor) ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของบริษัทฯ (40 กลุ่มผลิตภัณฑ์) ผ่าน HRA Software เพื่อให้ข้อมูลมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผลจากการประเมินความเสี่ยงดังกล่าว พบว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดมีความเสี่ยงต่อสุขภาพในระดับต่ำ
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้จัดทำแนวทางควบคุมความเสี่ยงด้านสารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง ได้รับการดูแลและมีสุขภาพอย่างเหมาะสม ดังนี้
- การสวมใส่หน้ากากกันสารเคมี
- การสวมใส่แว่นตานิรภัย หรือ Goggle
- การสวมใส่ถุงมือกันสารเคมี
- การสวมใส่รองเท้านิรภัย
- เฝ้าระวังสุขภาพอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน และพื้นที่ปฏิบัติการที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพของทุกตำแหน่งงาน
นอกเหนือจากการประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้งานแล้ว บริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งสอดคล้องตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดของสหพันธ์สากลสมาคมผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมเคมี (International Council of Chemicals Association: ICCA)
การประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Risk Assessment of Hazardous Substances in Products)
ขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงสารอันตรายในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
อ้างอิง: The GPS Risk Assessment Process, ICCA Guidance on Chemical Risk Assessment
บริษัทฯ ได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (Safety Data Sheet: SDS) ที่เปิดเผยต่อผู้มีส่วนได้เสีย ข้อมูลด้านพิษวิทยาขององค์การจัดการสารเคมีแห่งสหภาพยุโรป (European Chemicals Agency: ECHA) และข้อมูลการจำแนกกลุ่มผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของสารเคมีตามระบบ UN GHS Category เพื่อจัดลำดับความเสี่ยงความเป็นอันตรายของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อมครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ร้อยละ 100 โดยใช้ฐานข้อมูลตามกฎระเบียบว่าด้วยสารเคมีของสหภาพยุโรป (Registration, Evaluation, Authorization, and Restriction of Chemical: REACH) ซึ่งพบว่า มีผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายตามระบบฐานข้อมูล REACH ทั้งสิ้นร้อยละ 67 และได้นำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปจัดลำดับตามหลักเกณฑ์ของ ICCA แบ่งเป็น 4 ระดับ พบว่าผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ร้อยละ 44 ถูกจัดอยู่ในลำดับความสำคัญระดับ 4: Very Low Hazard/Exposure Potential และผลิตภัณฑ์อีกร้อยละ 23 ถูกจัดอยู่ในลำดับความสำคัญระดับ 3: Low Hazard/Exposure Potential จึงทำการประเมินระดับความอันตราย (Hazard Characterization) และประเมินการสัมผัส (Exposure Assessment) โดยใช้เครื่องมือ ECETOC TRA และทำการประเมินลักษณะความเสี่ยง (Risk Characterization) ครอบคลุมมิติต่างๆ ทางสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศทางบก ทางน้ำ (น้ำจืดและน้ำทะเล) ทางชีวภาพ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้พัฒนามาตรการป้องกันและควบคุมความเสี่ยง รวมถึงมาตรการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานในทุกมิติมาโดยตลอด ทำให้มั่นใจได้ว่า ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมได้รับการควบคุมและการจัดการได้อย่างเหมาะสม
มาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Preventive and Controlling Measures for the Environmental Impacts)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญในการป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้มีการควบคุมและป้องกันตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบก่อนเริ่มดำเนินโครงการ รวมถึงดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมมิติต่าง ๆ ของแต่ละโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) อย่างละเอียด รวมถึงการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและลดผลกระทบอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรายงานผลการติดตามและการปฏิบัติตามมาตรการฯ ต่อหน่วยงานราชการที่กำกับดูแลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมทั้งนำระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14001 มาใช้เป็นมาตรฐานขั้นต้นการปฏิบัติงานและได้นำมาตรฐานหรือแนวการปฏิบัติที่ดีในระดับสากลมาประยุกต์ใช้ร่วมด้วย เช่น Environmental, Health and Safety Guidelines ตาม International Finance Corporation (IFC) ของกลุ่มธนาคารโลก (World Bank Group) หลักการ Internet of Things (IoT) เป็นต้น ตัวอย่างมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่บริษัทฯ ดำเนินการ มีดังนี้
มิติสิ่งแวดล้อม | ตัวอย่างมาตรการป้องกันและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม |
---|---|
คุณภาพอากาศ |
|
คุณภาพน้ำ |
|
คุณภาพดินและน้ำใต้ดิน |
|