กลยุทธ์และการกำกับดูแลด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมาย
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขต 1 และ 2) ลงร้อยละ 20 ภายในปี 2573 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในขอบเขต 1 และ 2 ภายในปี 2593
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขต 3 ให้ได้ร้อยละ 50 ภายในปี 2593
ความท้าทายและโอกาสทางธุรกิจ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นประเด็นสำคัญอันดับต้นๆ ของโลก และของบริษัทฯ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการหยุดชะงักของธุรกิจ เนื่องจากผลกระทบทางกายภาพ อาทิ น้ำท่วม ภัยแล้ง การขาดแคลนวัตถุดิบ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค และอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ นอกจากนี้ กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับที่ภาครัฐได้กำหนดให้แต่ละภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามข้อตกลงจากการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 (COP26) ได้สร้างความตระหนักอย่างมากในการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่ 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและปิดกั้นโอกาสที่เป็นไปได้สำหรับการเติบโตของธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงผลกระทบและความเสี่ยงด้านภาษีคาร์บอน ที่อาจส่งผลต่อผลประกอบการจากการดำเนินธุรกิจบริษัทฯ ได้ในระยะยาว การขับเคลื่อนกลยุทธ์และทิศทางดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero ยังเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจในการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ เพื่อสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค พร้อมกับสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจตลอดจนส่งเสริมความน่าเชื่อถือและชื่อเสียงของบริษัทฯ
แนวทางการบริหารจัดการ (Management Approach) GRI 3-3 (2021)
กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัทฯ กำหนดกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางของ และแนวทางของ International Financial Reporting Standards S2 (IFRS S2) (Climate-related Disclosures) โดยมีแผนการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มุ่งเน้นการลงทุนในเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์พลังงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดจนพิจารณาความเป็นไปได้ของการนำพลังงานทดแทนมาใช้ เพื่อช่วยยกระดับการดำเนินงานด้านการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งมีแผนในการขยายขอบเขตการดำเนินงานครอบคลุมการลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นโดยอ้อม (GHG Scope 3 Other Indirect Emissions) ตลอดห่วงโซ่คุณค่า
บริษัทฯ ประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อจัดการพลังงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการดำเนินการใน 3 ด้าน คือ
- Efficiency-driven: การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิต โดยการใช้เทคโนโลยีในการช่วยลดการใช้พลังงาน
- Portfolio-driven: การปรับ Portfolio มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ High Value Business (HVB) การปรับ Portfolio มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ High Value Business (HVB) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาใน 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษและสมรรถนะสูงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กลุ่มผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพ และกลุ่มผลิตภัณฑ์รีไซเคิล
- Compensation-driven: การชดเชยคาร์บอนเพื่อบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกส่วนที่เหลือจากกระบวนการผลิตและการดำเนินธุรกิจ
สามารถติดตามรายละเอียดแนวทางลดการปล่อยคาร์บอนสู่เป้าหมาย Net Zero เพิ่มเติมได้ที่ Net Zero
บริษัทฯ มีแนวทางการบริหารจัดการและเป้าหมายระยะกลางที่ชัดเจน ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ภายในปี 2573 ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการเพื่อบรรลุเป้าหมาย Net Zero ในปี 2593 โดยการดำเนินการนั้นสอดคล้องกับความตกลงปารีส บริษัทฯ ส่งเสริมและผลักดันให้ลูกค้าและคู่ค้ามีส่วนร่วมในการมุ่งไปสู่เป้าหมาย Net Zero ยิ่งไปกว่านั้น บริษัทฯ ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจผ่านความร่วมมือและการมีส่วนร่วมกับองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุด บริษัทฯ ได้ผนวกรวมการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เข้าในกรอบการดำเนินงานการมุ่งสู่การเป็นองค์กรคาร์บอนต่ำ โดยการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น สอดคล้องกับการเป้าหมายความตกลงปารีส และสามารถสร้างแรงผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมายการเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำอีกด้วย
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (KPI) ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และสนับสนุนความตั้งใจในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของนานาชาติทั่วโลก ซึ่งเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของบริษัทฯ มีความสอดคล้องกับเป้าหมายในระดับประเทศและระดับโลก อาทิ เป้าหมายการมีส่วนร่วมการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย (NDCs) เป้าหมายความตกลงปารีส (Paris Agreement) จากการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) และเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป้าหมายที่ 7 และเป้าหมายที่ 13 ขององค์การสหประชาชาติ (UN SDGs) ตลอดจนโครงการเปิดเผยข้อมูลคาร์บอน หรือ CDP
เป้าหมายที่ 7 คือ พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (UN SDG 7: Affordable and Clean Energy)
เป้าหมายที่ 13 คือ การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN SDG 13: Climate Action)
บริษัทฯ ดำเนินการวิเคราะห์และป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับการดำเนินธุรกิจในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทฯ ทั้งนี้บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ (Emerging Risk) ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบวงกว้างต่อบริษัทฯ และ/หรืออุตสาหกรรมในช่วงระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้า โดยนำระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารและกำหนดแนวทางการบริหารความเสี่ยงและภาวะวิกฤต เพื่อบรรเทาผลกระทบให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ภายใต้กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของบริษัทฯ
การดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
GRI 305-1 (2016,) GRI 305-2 (2016),GRI 305-3 (2016), GRI 305-4 (2016), GRI 305-5 (2016)
บัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
บริษัทฯ ได้จัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร โดยอ้างอิงวิธีคำนวณตามมาตรฐาน ISO 14064-1:2018, the Greenhouse Gas Protocol, American Petroleum Institute (API 2009), Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) 2006 และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของบริษัทฯ และรายงานผลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ตามแนวทางของ International Financial Reporting Standards S2 (IFRS S2) (Climate-related Disclosures) ซึ่งกำหนดให้เปิดเผยข้อมูลใน 4 ประเด็น คือ 1) การกำกับดูแล (Governance) 2) กลยุทธ์ (Strategy) 3) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management) และ 4) ตัวชี้วัดและเป้าหมาย (Metrics and Targets) และการตอบแบบประเมินด้านการบริหารจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ภายใต้กรอบการประเมินของสถาบันประเมินความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือระดับโลก CDP Climate Change
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคงดำเนินการเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ขอบเขต 3) ตามแนวทางการประเมิน Technical Guidance for Calculating Scope 3 Emissions ของ GHG Protocol เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทาน จำนวนทั้งสิ้น 9 กลุ่มหลัก เพื่อให้การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกตลอดห่วงโซ่อุปทานมีประสิทธิภาพ ได้แก่
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขต 3)
กิจกรรม | ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) |
---|---|
การซื้อสินค้าและบริการ เช่น การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การใช้น้ำ เป็นต้น | 7,372,455 |
สินค้าทุน เช่น โรงงาน เครื่องมือ เครื่องจักร เป็นต้น | 181,796 |
กิจกรรมเกี่ยวกับเชื้อเพลิงและพลังงานซึ่งไม่รวมอยู่ในขอบเขตที่ 1 และขอบเขตที่ 2 | 1,174,140 |
การขนส่งและการกระจายสินค้าของธุรกิจต้นน้ำ เช่น การขนส่งวัตถุดิบหลักทางท่อ และการซื้อไฟฟ้าผ่านระบบสายส่ง เป็นต้น | 635,699 |
การขนส่งและการกระจายสินค้าของธุรกิจปลายน้ำ เช่น การขนส่งเม็ดพลาสติก เป็นต้น | 36,873 |
กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ เช่น การขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จากเม็ดพลาสติก เป็นต้น | 2,532,062 |
การใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานและไบโอดีเซล (B100) เป็นต้น | 26,904,998 |
การจัดการซากของผลิตภัณฑ์ เช่น ผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก เป็นต้น | 1,022,415 |
การลงทุน | 1,625,081 |
การกำหนดราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Pricing)
บริษัทฯ ได้นำราคาคาร์บอนภายในองค์กร (Internal Carbon Price: ICP) มาพิจารณาผลกระทบด้านคาร์บอนต่อโครงการสำหรับประกอบการตัดสินใจการลงทุนของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าโครงการต่างๆ ที่บริษัทฯ ลงทุนจะสามารถสร้างผลตอบแทนได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในระยะยาว ทั้งนี้บริษัทฯ นำ ICP มาใช้เป็นปัจจัยหนึ่งร่วมกับ Marginal Abatement Costs Curve (MACC) สำหรับการตัดสินใจลงทุนในโครงการที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้บริษัทฯ ประยุกต์ใช้ราคาคาร์บอนภายในองค์กร เพื่อบรรลุจุดประสงค์ต่างๆ โดยมีโครงการที่สำคัญ อาทิ
การประเมินโครงการติดตั้งท่อขนส่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานผลิตเอทิลีนไกลคอล ไปยังลูกค้า
การผลักดันโครงการคาร์บอนต่ำ ซึ่งถูกประยุกต์เป็น Shadow ประกอบ ในเกณฑ์ตัดสินใจในการลงทุนโครงการ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม
การผลักดันโครงการคาร์บอนต่ำซึ่งถูกประยุกต์เป็น Shadow ประกอบในเกณฑ์ตัดสินใจในการลงทุนโครงการ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม การจัดตั้งทีมเฉพาะกิจในการดำเนินการร่วมกับคู่ค้าของกลุ่ม ปตท. เพื่อพัฒนาและสนับสนุนการใช้ราคาคาร์บอนภายในระหว่างองค์กร
จากการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อหน่วยการผลิต ได้ดังนี้
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขตที่ 1 และ 2)
ผลการประเมิน | ||||
---|---|---|---|---|
2563 | 2564 | 2565 | 2566 | |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) |
7.57 | 8.55 | 8.18 | 7.96 |
เป้าหมายปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปี 2566
≤
(ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อตันการผลิต (ขอบเขตที่ 1 และ 2)
ผลการดำเนินงาน | ||||
---|---|---|---|---|
2563 | 2564 | 2565 | 2566 | |
ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อตันการผลิต) |
355 | 410 | 410 | 370 |
เป้าหมายปริมาณการปล่อยก๊าซ เรือนกระจกต่อตันผลิตภัณฑ์ปี 2566
≤
(กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อตันการผลิต)
สามารถดูรายละเอียดโครงการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดดเด่นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติมได้ที่ GC Integrated Sustainability Report 2566 อาทิ
- โครงการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตให้สามารถใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่าสูงสุด (Efficiency-driven) ได้แก่ โครงการอนุรักษ์พลังงาน โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพหอกลั่น โครงการพัฒนาเทคโนโลยีเมมเบรนขั้นสูง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการแยกในกระบวนการผลิต โครงการพลังงานทดแทน
- โครงการปรับโครงสร้างธุรกิจในระยะยาวสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำโดยยังคงรักษาการเติบโตขององค์กร (Portfolio-driven) ได้แก่ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ENVICCO โรงงานรีไซเคิลพลาสติกมาตรฐานสากลของบริษัทฯ GC YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม
- โครงการประยุกต์วิธีดูดซับคาร์บอนจากธรรมชาติและ ค้นหาเทคโนโลยีดูดซับคาร์บอนนมาสนับสนุนการดำเนินงานให้ได้ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด (Compensation-driven) ได้แก่ โครงการศึกษาเทคโนโลยีใหม่ในการดักจับคาร์บอน โครงการ Nature-Based Solutions