การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ด้วยความยั่งยืน
การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment)
บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการศึกษาการจัดการวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Management: LCM) อันประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่
- การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Design) เป็นแนวทางที่ใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยใช้กระบวนการที่รวมแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเข้าไปในขั้นตอนการออกแบบ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและตอบสนองความต้องการของลูกค้า
- การประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมหลากหลายด้าน โดยพิจารณาตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เช่น ภาวะโลกร้อน การลดลงของทรัพยากร เป็นต้น
- การประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์ (Product Eco-Efficiency) เป็นการประเมินความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Cost: LCC) และผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เพื่อนำไปสู่การจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่า
การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ
บริษัทฯ จัดทำแนวทางการออกแบบและหลักเกณฑ์การประเมินการออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจโดยอ้างอิงมาตรฐาน ISO 14062 เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ และการประเมินคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ดังนี้
ช่วงวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ | หลักเกณฑ์การประเมินการออกแบบเชิงนิเวศ |
---|---|
วัตถุดิบสำหรับการผลิต (Raw Materials) |
|
การขนส่ง (Transportation) |
|
กระบวนการผลิต (Production) |
|
การใช้งาน (Use Phase) |
|
การจัดการผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งาน (End of Life Management) |
|
ซึ่งบริษัทฯ มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการตอบสนองความต้องการของลูกค้า พร้อมทั้งสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ ผ่านการลดการใช้วัตถุดิบ การลดการใช้พลังงาน การใช้วัสดุที่ย่อยสลายได้ การใช้พลังงานหมุนเวียน และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้นำเกณฑ์การออกแบบเชิงนิเวศเศรษฐกิจ (Eco-Design Criteria) มาใช้ในการประเมินผลิตภัณฑ์ ซึ่งในปี 2565 มีผลิตภัณฑ์ที่เข้าข่ายผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมทั้งสิ้น 10 ผลิตภัณฑ์/กระบวนการ อาทิ ผลิตภัณฑ์ Bioplastics Toothgrush และ Post-Consumer Recycled (PCR) เป็นต้น ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแผนต่อยอดในการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจให้ครบทุกกลุ่มธุรกิจในอนาคต
นอกจากนี้ บริษัทฯ ประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน ISO 14040 และ ISO 14044 ครบทุกผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2559 ซึ่งขอบเขตของการประเมินวัฏจักรชีวิตครอบคลุมตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การขนส่ง การใช้งานผลิตภัณฑ์ และการจัดการซากผลิตภัณฑ์ หรือ Cradle-to-Gate คิดเป็นร้อยละ 92 ของจำนวนเกรดผลิตภัณฑ์ อีกทั้ง บริษัทฯ ยังทำการศึกษาการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ครอบคลุมขอบเขตดังกล่าว
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการประเมินวัฏจักรชีวิตแบบ Cradle-to Grave ในปี 2560

แกลอนสำหรับบรรจุน้ำหล่อลื่น

ถุงซิปล็อคสำหรับบรรจุอาหาร
ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ขยายผลการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA) โดยจัดทำโครงการนำร่องศึกษาประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) เกรด HD6200B ในกลุ่มธุรกิจโพลิเมอร์ เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการประเมินวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (LCA) และการประเมินต้นทุนของผลิตภัณฑ์ (LCC) ซึ่งผลการประเมิน พบว่า ผลิตภัณฑ์ HDPE เกรด HD6200B มีประสิทธิภาพเชิงเศรษฐกิจอยู่ที่ 3,875 บาท ต่อ 1 หน่วยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
HDPE grade HD6200B
Life Cycle Cost (LCC) and Life Cycle Assessment (LCA)
Product Eco-Efficiency
Product Eco-Efficiency is
Baht per 1 point of environment impact
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ได้รับการรับรองเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เศรษฐกิจหมุนเวียน (Carbon Footprint of Circular Economy Product: CE-CFP) จำนวน 3 เกรดผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ (Carbon Footprint of Products :CFP) จำนวน 156 เกรดผลิตภัณฑ์ และเครื่องหมายลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือฉลากลดโลกร้อน (Carbon Footprint Reduction :CFR) จำนวน 86 เกรดผลิตภัณฑ์ จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. อีกทั้งบริษัทฯ ยังได้รับการรับรองเครื่องหมาย Water Footprint of Product 151 เกรดผลิตภัณฑ์ จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นการประเมินการใช้น้ำตลอดวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐาน ISO 14046
Carbon Footprint of Circular Economy Product (CE-CFP)
(เกรดผลิตภัณฑ์)
ผลการดำเนินงาน
Carbon Footprint of Products (CFP)
(เกรดผลิตภัณฑ์)
ผลการดำเนินงาน
Carbon Footprint Reduction (CFR)
(เกรดผลิตภัณฑ์)
ผลการดำเนินงาน
จำนวนผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรรับรองเครื่องหมาย PTT GREEN FOR LIFE
(เกรดผลิตภัณฑ์)
ผลการดำเนินงาน
Water Footprint of Product (WFP)
(เกรดผลิตภัณฑ์)
ผลการดำเนินงาน
GC ในฐานะขององค์กรคาร์บอนต่ำ ที่มีการดำเนินธุรกิจตามหลักแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ Sustainable Living พร้อมยึดมั่นในแนวทางการจัดการและการประเมินวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เพื่อการมุ่งสู่การเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม ที่จะสามารถนำร่องไปสู่การช่วยลดโลกร้อนและลดก๊าซเรือนกระจกบนพื้นฐานของความยั่งยืน (Sustainability) เพื่อชีวิตที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น