10 เมษายน 2563

GC มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติกเพื่อวงการแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง

แชร์:

GC ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมและเคมีภัณฑ์ ภายใต้แนวคิด ‘Chemistry for Better Living’ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติกที่หลากหลายในด้านการแพทย์มาอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในประเทศให้ดียิ่งขึ้น โดยได้นำองค์ความรู้ และเคมีภัณฑ์รวมถึงเม็ดพลาสติกจาก GC Group มาสร้างสรรค์เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการด้านสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างทั่วถึง

ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 เช่นนี้นับเป็นบทพิสูจน์ที่แสดงให้เห็นว่า นวัตกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติกเพื่อวงการแพทย์มีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษาผู้ป่วยและจำเป็นอย่างยิ่งในการเป็นเกราะป้องกันแก่บุคลากรทางการแพทย์ในการต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด-19 และมีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้ออันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อป้องกันการติดเชื้อ การเพิ่มความปลอดภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง

ตัวอย่างนวัตกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติกเพื่อวงการแพทย์

1. ถุงทวารเทียม (Colostomy Bag) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อรองรับการขับถ่าย ผลิตจาก LLDPE โดยร่วมมือกับโรงพยาบาลสงขลานครินทร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. ถุงรักษ์ร่างและถุงรักษ์รูป สำหรับเก็บร่างและสมองในสภาวะสุญญากาศ เพื่อใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาแพทย์ ผลิตจาก LLDPE/LDPE (Film) โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ บมจ. ทานตะวัน อุตสาหกรรม

3. ถุงตวงเลือด (Blood Collector) สำหรับวัดปริมาณเลือดที่สูญเสียระว่างคลอดธรรมชาติ ผลิตจาก LLDPE/LDPE (Film) โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

4. ถุงรองรับของเหลวในห้องผ่าตัด (Fluid Collector) สำหรับเป็นทางรวมสารละลาย ใช้ในห้องผ่าตัด ผลิตจาก LLDPE/LDPE (Film) โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

5. ถ้วย Bio สำหรับคนไข้โรคติดเชื้อ ใช้เป็นภาชนะบรรจุอาหารสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อใช้ครั้งเดียวทิ้ง ผลิตจาก Bio PBS โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

6. โครงการ 3D Anatomical Models for Surgical Planning Clinical Training เพื่อสร้างโมเดลจำลองด้วยเทคโนโลยี 3D Printing สำหรับการเรียนการสอนทางการแพทย์ โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ประกอบด้วย

  • Spine Model เพื่อวางแผนการผ่าตัดโรคภาวะสมองเคลื่อน ผลิตจาก Nylon 11
  • Skull Model เพื่อศึกษากะโหลกมนุษย์ ผลิตจาก Nylon 11
  • Ear Bone Model เพื่อศึกษาระบบกระดูกหู ผลิตจาก ABS/Carbon fiber filled PLA
  • Cover Brace อุปกรณ์ครอบขาเทียม ผลิตจาก Acrylate derivatives (photo-monomer)

7. โครงการวิจัยและพัฒนากายอุปกรณ์เพื่อสัตว์ทะเลพิการ – โครงการพัฒนาขาเทียมสำหรับเต่าทะเล (Extreme Plus Sea Turtle Prostheses) เพื่อพัฒนาขาเทียมสำหรับเต่าทะเลที่ได้รับบาดเจ็บจากการติดเครื่องมือประมงและใบพัด ทำให้ถูกตัดครีบเนื่องจากเนื้อตายและติดเชื้อ ผลิตจาก Carbon fiber filled Nylon และ Acrylate derivatives (photo-monomer) โดยร่วมมือกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบมจ. ปตท.

8. เครื่องควบคุมสารละลายล้างไตผ่านทางช่องท้อง (APD Machine) สำหรับคนไข้โรคไต ผลิตจาก Polystyrene (PS) โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

9. อุปกรณ์ประกอบ APD Machine (APD Connector) สำหรับรวมสารละลายสำหรับคนไข้ล้างไตผ่านทางช่องท้องด้วยเครื่อง ผลิตจาก Polypropylene (PP) โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

10. ถุงน้ำยาล้างไตผ่านทางช่องท้อง (CAPD Bag) สำหรับใส่น้ำยาล้างไต ผลิตจาก Polypropylene (PP) โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

11. งานกายอุปกรณ์ (Orthosis Sheet) สำหรับคนไข้ด้านกายอุปกรณ์ ผลิตจาก Polypropylene (PP) โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

12. ผ้า Upcycling จากขวด PET รีไซเคิลสำหรับใช้งานของโรงพยาบาล ได้แก่ ผ้าม่าน ชุดแพทย์ ชุดพยาบาล เครื่องแบบพนักงาน ผ้าปู ปลอกหมอน โดยร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี

13. โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนานวัตกรรมการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีเซลล์และภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ภายในประเทศ เพื่อนำเทคโนโลยีกลับมาตอบแทนและพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน โดยใช้ Emerging Technology ภายใต้ความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะช่วยให้สามารถทดแทนการนำเข้ายาและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สามารถลดต้นทุนการนำเข้ามากกว่า 50%

14. โครงการพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้านการรักษาโรคหัวใจวาย เพื่อเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์เพื่อช่วยชีวิตผู้ประสบภาวะหัวใจวาย ใช้ Emerging Technology โดยร่วมมือกับศิริราชมูลนิธิ องค์กรภาครัฐและเอกชนชั้นนำภายในประเทศ และ NirvaMed Inc.

ล่าสุด ตัวอย่างของการร่วมสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการรับมือโควิด-19 ในประเทศไทย GC ได้ร่วมสนับสนุนเคมีภัณฑ์และพลาสติกสำหรับชุดอุปกรณ์ป้องกัน (Personal Protective Equipment: PPE) เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาลและสถานพยาบาลทั่วประเทศ ได้แก่ เสื้อกาวน์เพื่อป้องกันการติดเชื้อสำหรับบุคลากรทางการแพทย์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Disposable Gown) ผลิตจากเม็ดพลาสติก InnoPlus ของ GC รวมทั้ง ยังได้ร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช โดยการสนับสนุนเคมีภัณฑ์และพลาสติก รวมทั้งจัดหาวัสดุ ในการผลิตชุดอุปกรณ์ป้องกันบุคลากรทางการแพทย์ (Protective Suit) และหมวกอัดอากาศป้องกันการติดเชื้อ (PAPR) ที่มีมาตรฐานสูงสำหรับใช้เฉพาะในห้องผ่าตัดและ ICU สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการรุนแรง นอกจากนี้ GC ยังร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอร์เรจ จำกัด (มหาชน) พัฒนาเจลแอลกอฮอล์ โดยใช้กลีเซอรีนของ GC เป็นส่วนผสม เป็นต้น

GC จะไม่หยุดยั้งในการร่วมคิดค้นและสนับสนุนงานวิจัยใหม่ๆ และพัฒนานวัตกรรมเคมีภัณฑ์และพลาสติก พร้อมต่อยอดให้เป็นอุปกรณ์ต่างๆ ที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์ต่อวงการแพทย์ ยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีแก่สังคมและประเทศชาติให้ผ่านพ้นทุกสถานการณ์วิกฤต

Feature Stories

Feature Stories
05 กันยายน 2562
ทำไมต้องรีไซเคิลพลาสติก
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
17 พฤศจิกายน 2561
จากขยะสู่เสื้อ Upcycling the Oceans, Thailand
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
04 กันยายน 2560
กว่าจะเป็นพลาสติกที่ใช่ของ “โครงการหลวง”
อ่านเพิ่มเติม