06 กุมภาพันธ์ 2561

พาวิลเลียน: Waste Side Story by PTTGC พลาสติกกับงานออกแบบแห่งอนาคต

แชร์:

ปัจจุบันงานออกแบบถูกสร้างสรรค์ภายใต้แนวคิดที่คำนึงถึงอนาคตมากขึ้น ผลงานหลายๆ ชิ้นที่ถูกเชิดชู มีมากมายที่พัฒนามาเพื่อใช้ตอบโจทย์ความมั่นคงและความยั่งยืนทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งในงานเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2561 (Bangkok Design Week 2018) ที่จัดโดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC ก็เช่นเดียวกัน ภายใต้คอนเซ็ปต์ “THE NEW-iST VIBES” หรือ ออกแบบไปข้างหน้าหลายๆ ผลงานที่ถูกจัดแสดงต่างก็นำเสนอไอเดียที่ลุ่มลึกและสดใหม่ สะท้อนอนาคตของกรุงเทพฯ ใน 3 มิติใหญ่ นั่นคือ City & Living (อยู่ดี), Well Being & Gastronomy (กินดี) และ Creative Business (ธุรกิจสร้างสรรค์) ซึ่งหนึ่งในไฮไลท์ของงานที่ไม่ควรพลาด ก็คือซุ้มสีสันสะดุดตา ที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บริเวณหน้าอาคารไปรษณีย์กลางบางรัก  พาวิลเลียน Waste Side Story  by PTTGC

พาวิลเลียน “Waste Side Story” by PTTGC คืองานสถาปัตยกรรมที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างบริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC), กลุ่มนักวิจัย และนักออกแบบชั้นนำจาก Cloud-floor สตูดิโอ ที่มารวมพลังกันสร้างสรรค์งานออกแบบที่เปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นส่วนผสมของวัสดุก่อสร้าง แล้วนำมาก่อรูปก่อร่างเป็นพาวิลเลียนสวยงามที่สามารถรื้อถอนและเคลื่อนย้ายได้ง่าย

แนวคิดการออกแบบพาวิลเลียนนี้ เป็นการนำเมล็ดพลาสติกรีไซเคิลมาใช้เป็นส่วนผสมของผนัง จากกระบวนการออกแบบชิ้นส่วนพลาสติก (Mold) จำนวน 6 แบบที่นำมาต่อกัน เพื่อประกอบขึ้นเป็นพาวิลเลียนที่มีขนาด 180 ตารางเมตร สูง 4.5 เมตร ซึ่งเมื่อมีการรื้อถอน ชิ้นส่วนพลาสติกจำนวน 4,388 ชิ้น สามารถนำไปใช้ก่อสร้างใหม่ให้เป็นซุ้มที่ปรับขนาดตามต้องการ หรือเปลี่ยนเป็นเก้าอี้เพื่อใช้งานก็ย่อมได้ ส่วนมุ้งไนลอนก็สามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับตัดเย็บกระเป๋าได้เช่นเดียวกัน

นอกจากงานออกแบบพาวิลเลียนอันโดดเด่นแล้ว ด้านในของซุ้ม “Waste Side Story Pavilion” by PTTGC ก็ยังใช้เป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานและนิทรรศการที่นำเอาขยะพลาสติกมาสร้างสรรค์เป็นงานออกแบบผลิตภัณฑ์ Fashion, Lifestyle และ Decor item เพื่อช่วยลดปริมาณ สร้างมูลค่าเพิ่ม และเปิดมุมมองใหม่ให้กับการจัดการขยะพลาสติกด้วย ยกตัวอย่างเช่น

“SawBreaker Guitar” กีตาร์ไฟฟ้าที่เปลี่ยนจากการใช้ไม้มาเป็นพลาสติก ทำให้เกิดการใช้วัสดุในการผลิตน้อยลงและมีน้ำหนักเบาขึ้น ซึ่งเป็นผลสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง FiF Design Studio, ภูเบศ วิทยาสุข, Fab Cafe’ และ Jinatune Guitar

Biodegradable Benjarong Cup หรือแก้ว “เบญจรงค์ย่อยสลายได้” ทางเลือกใหม่ของบรรจุภัณฑ์เคลือบฟิล์มพลาสติกชีวภาพที่สามารถย่อยสลายได้ 100% ภายใน 180 วัน ผลงานการร่วมมือกันของ PTTGC กับ Prompt Design

และ Double Recycle โคมไฟระย้าจากเศษเหล็กและพลาสติกรีไซเคิลขนาด 1.2 x 1.2 x 1.8 เมตร ที่สามารถถอดประกอบได้ทุกชิ้น สะดวกต่อการขนส่งและติดตั้ง อันเป็นผลงานจากการทำงานร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมวัสดุโพลิเมอร์ อย่าง Sonite Innovative Surfaces กับ PIN Metal Art  นักออกแบบที่ทำงานเกี่ยวกับโคมไฟระย้า เป็นต้น

นอกจากนี้ ภายใน พาวิลเลียน “Waste Side Story” by PTTGC ยังมีการจัดแสดงคอลเลคชั่นผ้าผืนแรกจากขยะพลาสติกใต้ทะเล ซึ่งได้แก่ ชุดแฟชั่นลำลอง ที่ผลิตจากการนำขวดพลาสติก PET มาผ่านกระบวนการแปรรูปและออกแบบจนได้เป็นเสื้อผ้าแฟชั่นที่มีมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ภายใต้โครงการ Upcycling The Oceans, Thailand ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, บริษัท พีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด (มหาชน) (PTTGC) และมูลนิธิอีโคอัลฟ์ (Ecoalf) ด้วย

ทั้งหมดที่ว่ามาดังกล่าว นี่คือส่วนหนึ่งของภาพสะท้อนงานออกแบบและผลงานนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยและธุรกิจสร้างสรรค์ ซึ่งได้ช่วยส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ ในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและประโยชน์สูงสุด

#Upcycling #UpcyclingtheOceansThailand #CircularEconomy #Recycle #Innovation #CustomerSolutionCenter     

แบรนด์ : Cloud-Floor สตูดิโอ

ดีไซเนอร์ : ดลพร ชนะชัย และนัฐพงษ์ พัฒนโกศัย

แบรนด์: Ecoalf – First Thailand Collection จากผ้าผืนแรกจากขยะพลาสติกโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand

ดีไซเนอร์: Javier Goyeneche

แบรนด์ : Prompt Design

ดีไซเนอร์: สมชนะ กังวารจิตต์

แบรนด์: TandT

ดีไซเนอร์: ธนาวุฒิ ธนสารวิมล

แบรนด์: III by FLY NOW III

ดีไซเนอร์: ราวิน รุ่งสว่าง และลลิตา นริสรานนท์

แบรนด์: HOOK’s by Prapakas และ Ausara Surface

ดีไซเนอร์: ประภากาศ อังศุสิงห์ และจารุพัชร อาชวะสมิต

แบรนด์: Apawan Studio

ดีไซเนอร์: อาภาวรรณ กุลตวนิช

แบรนด์: PiN Metal Art และ Sonite Innovative Surfaces

ดีไซเนอร์: ศรุตา เกียรติภาคภูมิ และนิติพันธ์ ดารกานนท์

แบรนด์: FiF Design Studio

ดีไซเนอร์: พงศธร ละเอียดอ่อน และภูเบศ วิทยาสุข

แบรนด์: KMUTT TiTEC

Lecturer: ผศ.ดร. ทัศวัลย์ คัมภีระพันธุ์ และดร. วรวิทย์ โกสลาทิพย์

แบรนด์: Thinkk Studio

ดีไซเนอร์: พลอยพรรณ ธีรชัย และเดชา อรรจนานันท์

Feature Stories

Feature Stories
31 ตุลาคม 2565
DJSI คืออะไร ทำไมธุรกิจทั่วโลกต้องให้ความสนใจและเชื่อถือ
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
10 พฤศจิกายน 2564
WhiteOlet Café คาเฟ่แสนสุข สร้างรายได้ให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
11 พฤศจิกายน 2563
Look to the Future: เมื่อ Circular Economy ไม่ใช่ทางเลือก แต่เป็นหนทางที่ธุรกิจต้องใส่ใจ
อ่านเพิ่มเติม