14 พฤษภาคม 2561

Upcycling Plastic Waste Project by PTTGC เปลี่ยนพลาสติกให้เป็นมากกว่าพลาสติก

แชร์:

ทุกวันนี้พลาสติกคือผู้ร้ายในสายตาของใครหลายคน เพราะกับการรับรู้ของคนทั่วไป พลาสติกคือหนึ่งในจำเลยที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเสียหาย เราเริ่มเห็นกันบ้างแล้วว่า หลายๆ ประเทศของโลกมีการรณรงค์ให้ลด ละ หรือไม่ก็เลิกการใช้พลาสติก แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่า จริงๆ แล้ว พลาสติกสามารถไปได้ไกลกว่าพลาสติกที่เห็นกัน ซึ่ง PTTGC ในฐานะผู้ประกอบการในธุรกิจเคมีภัณฑ์ เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ได้นำเอาผลงานจากการเปลี่ยนพลาสติกให้เป็นมากกว่าพลาสติกมาโชว์ภายในงาน STYLE APRILE 2018 เมื่อวันที่ 19-23 เมษายน 61 ที่ผ่านมา

ณ โซน Creative Lab ของงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ยิ่งใหญ่และครบครันที่สุดในภูมิภาค หรือ STYLE APRILE 2018 ซึ่งจัดขึ้นโดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC ในฐานะที่เป็นหนึ่งในผู้ผลิตและผู้นำด้านนวัตกรรม ได้ร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์ที่มาจากพลาสติก ภายใต้โครงการ Upcycling Plastic Waste Project by PTTGC มาให้ผู้สนใจได้เข้ามาชมกัน โดยนอกจากความน่าตื่นตาตื่นใจของผลิตภัณฑ์จากพลาสติกอันน่าเหลือเชื่อแล้ว ภายในงานฯ ทาง PTTGC ยังมีบริการคอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์จากพลาสติกผ่านหน่วยงานที่มีชื่อว่า Customer Solution Center (CSC) ด้วย

สำหรับพื้นที่จัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์จากพลาสติก ภายใต้โครงการ Upcycling Plastic Waste Project by PTTGC นั้น ทาง PTTGC ได้มีการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากพลาสติก ผ่านการนำเอาเทคโนโลยีกับการออกแบบมาผสมผสานเข้าด้วยกัน จนนำมาซึ่งนวัตกรรมจากพลาสติกใหม่ๆ ที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่าจะสามารถเป็นไปได้ ขณะเดียวกัน ในแต่ละนวัตกรรมที่นำมาจัดแสดง ยังถูกครอบคลุมเอาไว้ภายใต้แนวคิดของการ Upcycling หรือการนำขยะจากพลาสติกมาสร้างสรรค์ใหม่ เพื่อเป็นการต่อยอดการใช้งานให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด อีกทั้งยังเป็นการเปิดมุมมองให้กว้างขึ้นในเรื่องการแก้ปัญหาขยะจากพลาสติก ซึ่งถูกมองเป็นผู้ร้ายมาตลอดเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ผลงานผลิตภัณฑ์จากพลาสติก ภายใต้โครงการ Upcycling Plastic Waste Project by PTTGC ที่นำมาจัดแสดงภายในงานฯ นั้น ถือว่ามีมากมายหลากหลายประเภท ได้แก่

  1. ผลงาน Illusionist

สินค้าแฟชั่นจำพวกกระเป๋าจากเส้นพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งเป็นการเปิดประสบการณ์ที่นำไปสู่การพัฒนาและทดลองวัสดุใหม่ โดยใช้เทคนิคการทอร่วมกับเส้นใยธรรมชาติและวัสดุอื่น จนได้ผืนผ้าลวดลายใหม่คล้ายภาพลวงตา ก่อนต่อยอดเอามาทำสินค้าแฟชั่นที่ทันสมัย เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ พร้อมๆ กับช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้วัสดุที่มาจากการรีไซเคิล



  1. ผลงาน Military Loft

อีกหนึ่งสินค้าแฟชั่นจำพวกกระเป๋า ที่นำเอาเส้นพลาสติกรีไซเคิลทอผสมกับเส้นไหม Speck และ Cotton จนได้ออกมาเป็นวัสดุใหม่ ที่ให้ความทนทานและเป็นธรรมชาติ ซึ่งเมื่อทอสลับจนเกิด Texture ก็จะสามารถนำมาทำเป็นเซทกระเป๋าที่ใช้งานได้หลากหลาย ทั้งสำหรับการท่องเที่ยว หรือการใช้ในชีวิตประจำวันด้วย>

  1. ผลงาน Benjarong Collection

บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลิตจากกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ (Bio-PBS) และหมึก Soy ink ซึ่งทำจากถั่วเหลือง สามารถย่อยได้ 100% ภายใน 180 วัน พร้อมเพิ่มความน่าสนใจด้วยลวดลายเบญจรงค์เพื่อเติมเต็มความแปลกใหม่ เหมาะสมกับการเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคมไทย

  1. ผลงาน Coaster

เครื่องและอุปกรณ์ภายในบ้านที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิลโพลีเอธีลีน (PE) และโพลิโพรพิลีน (PP) ซึ่งมีการออกแบบลวดลายและสีสันให้เกิดความน่าสนใจ เป็นการทดลองวัสดุใหม่ที่ช่วยสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ที่มาพร้อมกับแนวคิดการลดพลาสติก ซึ่งสามารถช่วยสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมได้

  1. ผลงาน Fantastic! Placemats

อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ภายในบ้าน ซึ่งเป็นการนำพลาสติกรีไซเคิลโพลิเอทิลีน (PE) มารีดให้เป็นแผ่น กรีดให้เป็นเส้น และถักให้เป็นผืน จนออกมาเป็นที่รองจาน ซึ่งมีการออกแบบอย่างสวยงามและคงทน

  1. ผลงาน Playground

สินค้าเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งเกิดจากความคิดสนุกๆ ที่อยากสร้างชุดงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ที่ท้าทายผู้ใช้ให้สามารถเล่นสนุกได้ แบบเดียวกับที่เห็นกันในสนามเด็กเล่น ทั้งนี้ ตัวเฟอร์นิเจอร์ใช้แผ่นไม้สังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติใช้งานภายนอกได้ 100% ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งเป็นการนำวัสดุพลาสติกมาใช้ใหม่

  1. ผลงาน G Bench

เก้าอี้ม้านั่งที่ใช้แผ่นไม้สังเคราะห์ ผลิตจากพลาสติกรีไซเคิล ซึ่งให้ความทนทาน ทนแดด ทนฝน และมีการดูแลรักษาที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก นอกจากนี้ การออกแบบตัวงานโดยใช้ลักษณะ Random ยังช่วยให้สามารถใช้วัสดุได้หลากหลายขนาด ทำให้เกิดการสูญเสียที่น้อย ซึ่งเป็นการใช้วัสดุอย่างมีคุณค่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วย

  1. ผลงาน Zero Waste (OW) DIY Furniture

ด้วยแนวคิด Zero Waste ที่ต้องการให้เกิดขยะเท่ากับศูนย์ โดยเฉพาะปัญหาวงจรขยะประเภทกล่องเครื่องดื่ม UHT ก็ได้นำไปสู่การแก้ปัญหาด้วยการรีไซเคิลให้เป็น ECO-Board ก่อนจะพัฒนาจนถึงขั้นเป็นงานออกแบบเฟอร์นิเจอร์ D.I.Y. โดยตัดแผ่น ECO-Board ขนาด 120-240 ซม. เป็นแผ่นจิ๊กซอว์แบบไม่มีเศษเหลือ ซึ่งสามารถต่อประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่ทนแดด ทนฝน ลดการสิ้นเปลืองพลังงานในการขนส่ง แถมยังนำกลับมารีไซเคิลใหม่ได้ไม่รู้จบอีกต่างหาก

  1. ผลงาน Transformation

บล็อคพลาสติกจากการสร้าง Waste Side Story Pavilion by PTTGC ในงานเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2018 เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา ได้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ตามแนวคิดการใช้ประโยชน์อย่างไม่รู้จบ เพื่อตระหนักถึงการใช้วัสดุอย่างคุ้มค่า ควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเก้าอี้นั่งถูกดีไซน์จากชิ้นงานเหลือใช้และวัสดุไม้สังเคราะห์ที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล เหมาะกับการใช้งานทั้งภายในและภายนอกอาคาร

  1. ผลงาน Upcycling Plastic Waste Thailand Collection

จากแนวคิด Upcycling Plastic Waste ที่แปรรูปขยะพลาสติกด้วยนวัตกรรมให้เป็นเส้นใยรีไซเคิล โพลิเอสเตอร์ ปัจจุบันสามารถต่อยอดไปสู่การออกแบบเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าแฟชั่น ด้วยการเติมเต็มความโดดเด่นโดยลวดลายที่ทันสมัย ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

หากจะบอกว่า การจัดแสดงผลงานผลิตภัณฑ์จากพลาสติก ภายใต้โครงการ Upcycling Plastic Waste Project by PTTGC ถือเป็นการเปิดภูมิทัศน์และมุมมองใหม่ที่เกี่ยวกับพลาสติกให้กับใครหลายคนก็คงไม่ผิดนัก ซึ่งบางทีก็อาจไปได้ว่า ในอนาคตข้างหน้า ผลงานพลาสติกที่เป็นมากกว่าพลาสติกเหล่านี้อาจได้รับการต่อยอดจนนำไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สร้างพื้นที่ของภาพจำเรื่องพลาสติกให้กว้างไกลไปกว่าเดิม จนใครหลายคนที่เคยมองพลาสติกเป็นผู้ร้ายนั้น อาจเปลี่ยนทัศนคติด้วยความเข้าใจที่เปิดรับมากขึ้นก็เป็นได้

Feature Stories

Feature Stories
13 ธันวาคม 2565
เลือกอนาคตให้โลก เลือก UPTOYOU ผลิตภัณฑ์น้องใหม่สายรักษ์โลก
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
14 กุมภาพันธ์ 2563
‘Waste This Way’ จาก GC ส่งผลบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 ไม่เหลือขยะไว้ข้างหลัง พร้อมร่วมมือพลังคนรุ่นใหม่ TACT สานต่อเพื่อสังคมที่ดีกว่า [The Standard]
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
03 กรกฎาคม 2562
“Because There is No Planet B” สู่ภารกิจปฏิวัติวงการแฟชั่นของ ECOALF
อ่านเพิ่มเติม