21 ตุลาคม 2567

Biodiversity and Business Sustainability บทบาทของภาคธุรกิจกับความหลากหลายทางชีวภาพ

แชร์:

ธรรมชาติจัดสรรจนเกิดเป็น ‘ความหลากหลายทางชีวภาพ’ ได้อย่างไร?

ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) คือ คำจำกัดความของการมี สิ่งมีชีวิตนานาชนิดบนโลกไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมนุษย์ ต่างล้วนดำเนินชีวิตอยู่ในระบบนิเวศที่มีสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เช่น ระบบนิเวศบนบก (Terrestrial Ecosystems) ระบบนิเวศในน้ำ (Aquatic Ecosystems) หรือระบบนิเวศเมือง (Urban Ecosystems) ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพดังกล่าวเกิดขึ้นจากการสะสม ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และเกิดการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตเพื่อความอยู่รอดตลอดระยะเวลาหลายล้านปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกกลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญทางธรรมชาติ เกิดเป็นระบบนิเวศของโลก แต่ในปัจจุบันกำลังถูกทำลายลง

รู้หรือไม่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นความเสี่ยงระดับโลก?

กิจกรรมของมนุษย์ให้เกิดภาวะโลกร้อนจนเข้าสู่ยุคโลกเดือดในปัจจุบัน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การปล่อยมลพิษการล่าสัตว์ การทำประมงเกินขนาด ล้วนกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ สิ่งมีชีวิตหลายชนิดสูญพันธุ์ไป ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศเสื่อมโทรมลง ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสัดส่วน GDP โลก ประชากร เกิดเป็นความเสี่ยงระดับโลก

ซึ่งจากผลสำรวจ Global Risks Report 2024 โดย World Economic Forum พบว่าประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับ สภาพอากาศรุนแรงแบบสุดขั้ว (Extreme weather) เป็นหนึ่งในการคาดการณ์ความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดของโลกใน 5 อันดับแรก ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลา 2 ปีนี้ และหนึ่งในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเป็นความเสี่ยงที่รุนแรงที่สุดของโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า คือการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศล่มสลาย (Biodiversity loss and ecosystem collapse) การขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resource shortages) จากการคาดการณ์ดังกล่าวจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงระดับโลกที่อาจเกิดขึ้นส่วนใหญ่นั้นเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม

ทำไมภาคธุรกิจต้องใส่ใจธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ

ปัจจุบัน ภาคธุรกิจทั่วโลกกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและสังคมที่มีผลกระทบอย่างรุนแรง การใส่ใจธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน จากข้อมูลสัดส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดย BCG ระบุว่า อุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์ ส่งผลกระทบมากที่สุดถึง 50% รวมถึงการประกาศของเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อกลางปี 2023 ว่ายุคโลกร้อน (Global Warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และโลกกำลังเข้าสู่ยุคโลกเดือด (Global Boiling) ซึ่งสาเหตุเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น ล้วนส่งผลให้ผู้ประกอบการทั่วโลกต่างหันมาดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพมากขึ้น

ภาคธุรกิจจึงต้องหันมาเข้าใจ และใส่ใจ การดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความยั่งยืนสู่ธุรกิจในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็น

  1. เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

    การลงทุนในโมเดลธุรกิจใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (Reducing) การซ่อมแซม (Repairing) การผลิตซ้ำ (Remanufacturing) และการแบ่งปันทรัพยากรธรรมชาติ (Sharing)

  2. การควบคุมมลพิษ (Pollution Control)

    การลงทุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อให้เข้ามาช่วยลดมลพิษจากพลาสติก น้ำ และอากาศ

  3. การอนุรักษ์มหาสมุทร และสัตว์ทะเล (Conversation of ocean and marine life)

    การลงทุนที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 14 ด้านทรัพยากรทางทะเล (SDG14) การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน

  4. ความยั่งยืนทางอาหาร และการดูแลป่าไม้ (Conversation of food and forestry)

    การลงทุนด้านการทำไม้และการทำเกษตรอย่างยั่งยืน รวมถึงการลงทุนด้านเทคโนโลยีการผลิตอาหารด้วยโปรตีนทางเลือก (Plant based) ที่ช่วยตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้น

GC กับการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

GC ตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้ดำเนินการควบคุมและพัฒนามาตรการต่างๆ ผ่านการประเมินความเสี่ยงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพื้นที่ปฏิบัติงานตลอดห่วงโซ่คุณค่า เพื่อให้สามารถระบุระดับความเสี่ยงของแต่ละพื้นที่ นำไปสู่การบริหารจัดการการดำเนินธุรกิจอย่างเหมาะสม รวมทั้งประยุกต์ใช้หลักการบรรเทาผลกระทบตามลำดับขั้น ในการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา ฟื้นฟู และชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนั้น ยังดำเนินความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ เช่น ชุมชน หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชน อาทิ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชมรมคนรักษ์ป่าชากลูกหญ้า-ห้วยมะหาด ฯลฯ ในการอนุรักษ์และส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพผ่าน โครงการฟื้นป่า รักษ์น้ำ เขาห้วยมะหาด

ปลูกต้นไม้: ฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม เนื้อที่ 552 ไร่ (จากเป้าหมายจำนวน 693 ไร่) ส่วนที่เหลือพื้นที่ 141 ไร่ จะเป็นการฟื้นฟูตามธรรมชาติ

ทำฝาย: สร้างฝายชะลอน้ำด้วยกระสอบพลาสติกแบบมีปีกแบบชั่วคราวจำนวน 430 ฝาย ครอบคลุมพื้นที่ร่องน้ำของ เขาห้วยมะหาดทั้งหมด

ป้องกันไฟป่า: จัดทำแนวกันไฟ และจัดตั้งชุดลาดตระเวน-ดับไฟป่า

สร้างอาชีพให้ชุมชน:

1. เกิดอาชีพกลุ่มงานบริการ เพื่อรองรับการทำกิจกรรมบนเขาห้วยมะหาด เช่น งานบริการด้านยานพาหนะ งานบริการด้านอาหารและเครื่องดื่ม

2. จัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์หอมมะหาด โดยนำพืชสมุนไพรบนเขาห้วยมะหาด ได้แก่ เร่วหอม และว่านสาวหลง มาเพาะปลูกขยายพันธ์ในพื้นที่เกษตรกรในรูปแบบออแกนิค เพื่อจำหน่ายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ความหลากหลายทางชีวภาพ พืช สัตว์

  • ชนิดพันธุ์พืช พบ 169 ชนิด
  • ชนิดพันธุ์สัตว์ พบ 326 ชนิด

รายละเอียดเพิ่มเติม : https://sustainability.pttgcgroup.com/th/environment/biodiversity

Feature Stories

Feature Stories
12 เมษายน 2565
“ถนนวิภาวดีฯ ไม่มีขยะ” ถนนในฝัน ต้นแบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพของพวกเราทุกคน
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
16 มิถุนายน 2563
รับมือโลกหลัง COVID-19 กับ Reskill & Upskill ปรับวิธีการทำงาน
อ่านเพิ่มเติม
Feature Stories
21 กรกฎาคม 2560
“10 เมนูอร่อยนี้ที่ระยอง by เชฟชุมพล” PTTGC จับมือ ททท. จังหวัดระยอง และเชฟชุมพล ส่งมอบเมนูอร่อยห้ามพลาดประจำระยอง
อ่านเพิ่มเติม